แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บารมี แปลว่า กำลังใจ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บารมี แปลว่า กำลังใจ แสดงบทความทั้งหมด

บารมี แปลว่า กำลังใจ


บารมี แปลว่า กำลังใจ

คนที่มีบารมีมาก ก็คือคนที่มีกำลังของใจมาก
คนที่มีกำลังของใจมาก ทุกข์ก็ไม่อาจท่วมทับหัวใจ
คนที่มีเมตตาบารมีมากใจนุ่มนวลด้วยกระแสเมตตา ก็โกรธยาก เป็นมิตร เป็นที่รักของคนทั่วไป
คนที่มีทานบารมีมาก มีกำลังใจในการสละออกให้ผู้อื่น ด้วยจิตอนุเคราะห์ จิตใจก็กว้างขวางสวยงาม
คนที่มีขันติบารมีมาก ใจทนทานมากต่อกิเลสที่มากระทบ มีสติปัญญาในการพ้นความครอบงำของกิเลส ก็ย่อมเป็นที่ยกย่อง แก้ปัญหาต่างๆด้วยความฉลาด
คนที่มีวิริยะบารมีมาก มีความเพียรเหนือความขี้เกียจ เหนือข้ออ้างใดๆของกิเลส ย่อมก้าวหน้าเรื่อยไป ฯลฯ
สรุป บารมีจำเป็นทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ไม่ว่าจะปราถนาอะไรทั้งทางโลกทางธรรม
คนที่ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ทุกคนล้วนต้องมีบารมี
อาจจะไม่ครบทุกข้อ แต่ยังไงก็ต้องมี

บารมีมีทั้งหมด 10 อย่าง
เหมือนดั่ง โพธิสัตว์ ผู้ซึ่งปราถนาเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตต้องสะสมบารมี เช่นอดีตชาติของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน พระมหาชนก พระเวสสันดร เคยบำเพ็ญมา

บารมี 10 หรือ ทศบารมี (ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นมหาสาวก เป็นต้น — perfections)

1. ทาน (การให้ การเสียสละ — giving; charity; generosity; liberality)
2. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย — morality; good conduct)
3. เนกขัมมะ (ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม,การออกบวช — renunciation)
4. ปัญญา (ความรอบรู้, ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง — wisdom; insight; understanding)
5. วิริยะ (ความเพียร, ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่ — energy; effort; endeavour)
6. ขันติ (ความอดทน, ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประะพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบไม่ลุอำนาจกิเลส — forbearance; tolerance; endurance)
7. สัจจะ (ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ — truthfulness)
8. อธิษฐาน (ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่นแน่ — resolution; self-determination)
9. เมตตา (ความรักใคร่, ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ — loving-kindness; friendliness)
10. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง, ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายหรือชอบฟัง — equanimity; indifference to praise and blame in the performance of duty)

ทศบารมีนี้ เรียงตามที่ถือว่าได้บำเพ็ญในทศชาติ (จัดแบบไทย) ดังนี้
1. พระเตมีย์ — เนกขัมมะ (ข้อที่ 3)
2. พระมหาชนก — วิริยะ (5)
3. พระสุวรรณสาม — เมตตา (9)
4. พระเนมิราช — อธิษฐาน (8)
5. พระมโหสถ — ปัญญา (4)
6. พระภูริทัตต์ — ศีล (2)
7. พระจันทกุมาร — ขันติ (6)
8. พระนารท — อุเบกขา (10)
9. พระวิธุร — สัจจะ (7)
10. พระเวสสันดร — ทาน (1)

ทุกข์ย่อมเกิดกับผู้ที่ยังมีกำลังของใจไม่เพียงพอ
กิเลสจะหลอกให้มีทุกข์อะไรก็ตาม สติปัญญาเหยียบมันขึ้นไป ชีวิตมันก็สูงขึ้นทุกวัน


ป้ายกำกับ