ผ้ากาสาวพัสตร์ ธงชัยแห่งพระอริยสงฆ์

"ผ้ากาสาวพัสตร์ ธงชัยแห่งพระอริยสงฆ์"

จีวร ถือว่าเป็นธงชัย หรือเครื่องหมายของพระอรหันต์
มีหลักฐานปรากฏในพระคัมภีร์อุบาลีเถราปทานว่า

""บุคคลเห็นผ้ากาสาวพัสตร์ที่ (แม้) เปื้อนอุจจาระที่ถูกทิ้งไว้ตามถนนหนทาง ก็ควรประนมมือไหว้ผ้านั้น อันเป็นธงชัยของพระอริยเจ้า ด้วยเศียรเกล้า""
ในฉัททันตชาดก ติงสนิบาต กล่าวว่า ""พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาช้างฉัททันต์
กำลังจะเดินตรงเข้าไปทำร้ายนายพรานป่าใจบาป ผู้คิดจะฆ่าตน แต่พอมองเห็นจีวรที่นายพรานชูให้เห็นกลับคิดได้ว่า
ผู้มีธงชัยหรือเครื่องหมายแห่งพระอรหันต์ ไม่ควรถูกฆ่า จึงไม่ได้ทำร้าย และให้อภัยแก่นายพรานปล่อยให้รอดไป...""
... ธงชัยพระอรหันต์ หมายถึง ผ้ากาสาวพัสตร์ ซึ่งมีสีน้ำฝาด เป็นคำเรียกผ้านุ่งห่มของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลายซึ่งผ้านี้ได้มาจากผ้าบังสุกุล เป็นเครื่องหมายแห่งนักบวช เป็นเครื่องนุ่งห่มของผู้หมดกิเลสแล้ว ผู้คนให้ความเคารพนับถือ ถือเป็นของสูง ไม่กล้ำกราย ดูถูกเหยียดหยาม เห็นแล้วก็นบไหว้ด้วยถือว่าเป็นบุญ แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ให้ความยำเกรง มิกล้าทำร้ายโจรผู้หุ้มห่อผ้านี้อยู่
พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์สาวกใช้สอยตามพระองค์ได้ ทำให้พระสงฆ์สาวกมีศักดิ์ศรีและมีความสำคัญขึ้น เพราะเป็นบุญวาสนาได้นุ่งห่มผ้าที่เป็นธงชัยพระอรหันต์ "






ธรรมคีตะ ศิลปะแห่งการดับทุกข์


ธรรมคีตะ ศิลปะแห่งการดับทุกข์ 





อริยมรรคมีองค์ ๘


คำว่า มรรค แปลว่า ทาง ในที่นี้หมายถึง ทางเดินของใจ เป็นการเดินออกจากความทุกข์ ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์และเวไนยสัตว์ทั้งหลายหลงยึดถือ และประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชา คือ ความไม่รู้ ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ หนทางดำเนินไปที่ประกอบพร้อมเพรียงกันเกี่ยวพันกันทุกข้อ ซึ่งย่อลงมาก็คือ สติปัฏฐาน ๔ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย
  • ๑.  สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ
  • ๒.  สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
  • ๓.  สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ
  • ๔.  สัมมากัมมันตะ คือ ทำการงานชอบ
  • ๕.  สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ
  • ๖.  สัมมาวายามะ คือ มีความเพียรชอบ
  • ๗.  สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ
  • ๘.  สัมมาสมาธิ คือ ตั้งใจชอบ


อิทธิบาท ๔ เครื่องแห่งความสำเร็จ

อิทธิบาท ๔  คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณเครื่องสำเร็จประสงค์, ทางแห่งความสำเร็จ, หรือบาทฐานแห่งอิทธิหรือความสำเร็จด้วยดี  อันมี ๔ ประกอบด้วย

 ๑. ฉันทะ ความพอใจ ความรักใคร่ ความยินดีในสิ่งนั้น  เป็นความหมายในทางกุศล ที่หมายถึง ความรักงาน ความรักในกิจที่ทำ         
๒. วิริยะ ความพากเพียร ความพยายามในสิ่งนั้น         
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ ความฝักใฝ่ ความสนใจในสิ่งนั้น         
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องการพิจารณาหาเหตุหาผลในสิ่งนั้น

         ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องสัมพันธ์กัน  และแต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน  เป็นเหตุเป็นผลเกื้อหนุนกัน  กล่าวคือ เมื่อมี ฉันทะ ความยินดีความรักในกิจหรืองานที่กระทำา ย่อมทำให้เกิด วิริยะ ความเพียรความพยายามในกิจหรืองานนั้น   เมื่อมีความเพียรเกิดขึ้น จึงย่อมต้องเกิด จิตตะ ความฝักใฝ่ ความสนใจหรือเอาใจใส่ต่อสิ่งนั้น  เมื่อฝีกใฝ่ใส่ใจย่อม วิมังสา สอดส่องหรือพิจารณาในสิ่งนั้นอย่างหาเหตุหาผลหรือกอปด้วยปัญญานั่นเอง  อิทธิบาทจึงเป็นคุณอันวิเศษที่เกื้อหนุนให้ประสบความสำเร็จในกิจหรืองานต่างๆ  พระองค์ท่านจึงตรัสว่า เป็นบาทฐานเครื่องแห่งความสำเร็จ

ขอขอบคุณ : www.nkgen.com/766.htm

สังคหวัตถุ 4


สังคหวัตถุ 4

หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล


1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เห็นแก่ตัวของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย



                  พระธรรมกิตติวงศ์






พัฒนาจิตให้งอกงาม


พัฒนาจิตให้งอกงาม

ภาวนา แปลว่า ทำให้เกิดให้มีขึ้น ทำให้เป็นขึ้น สิ่งที่ทำให้เป็นก็ทำให้เป็น สิ่งที่ยังไม่มีก็ทำให้มีขึ้น
เรียกว่า ภาวนา เพราะฉะนั้นจึงเป็นการปฎิบัติฝึกหัด หรือลงมือทำ
ภาวนาจึงแปลอีกความหมายหนึ่งว่า การฝึกอบรม

ฝึกนั้น เมื่อยังไม่เป็นก็ทำให้มันเป็น อบรมนั้น เมื่อยังไม่มีก็ทำให้มีขึ้นยิ่งกว่านั้น เมื่อทำให้เกิดให้มี
ให้เป็นขึ้นมาแล้ว ก็ต้องทำให้เจริญงอกงามเพิ่มพูนพรั่งพร้อมขึ้นไปด้วยจนเต็มที่

ภาวนจึงมีความหมายตรงคำว่า " พัฒนา " ด้วย และจึงแปลง่ายๆ ว่า " เจริญ " 

ในภาษาไทยแต่โบราณมาก็นิยมแปลภาวนาว่าเจริญ เช่น เจริญสมาธิเรียกว่า " สมาธิภาวนา " 
เจริญเมตตาเรียกว่า " เมตตาภาวนา " เจริญวิปัสสนาเรียกว่า " วิปัสสนาภาวนา "

ตกลงว่า ภาวนาแปลว่าการฝึกอบรม หรือการเจริญ หรือการทำให้เป็นให้มีขึ้นมา และพัฒนางอกงามบริบูรณ์

จากหนังสือ แผนที่ชีวิต โดย พระพรหมคุณาภรณ์


ใส่บาตร ถือศีล กินเจ
ช่วยผู้อื่น ทำความสะอาดห้องพระ 
ถวายน้ำเปล่า ๑ แก้วที่หิ้งพระ ถวายเทียน
ถวายสังฆทาน ฝังลูกนิมิต สวดมนต์ กราบพ่อแม่
ปล่อยสัตว์ลงน้ำ ทำบุญวันเกิด ดูแลคนแก่ เด็ก ฯลฯ 

ทั้งหมดนี้ เป็นมหากุศลทั้งสิ้น 



www.facebook.com/สงสัยมั้ยธรรมะ

ป้ายกำกับ