พระประจำวันเกิด


พระประจำวันเกิด

เกิดวันอาทิตย์
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร

ลักษณะพระพุทธรูป



พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์

ประวัติย่อ

เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงประทับยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ร่มโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นจึงเสด็จออกไปจากภายใต้ร่มโพธิ์ไปประทับยืนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ทอดพระเนตรพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อรำลึกถึงคุณประโยชน์ของต้นมหาโพธิ์ที่แผ่กิ่งก้านประทานร่มเงา ให้ความชุ่มเย็น เป็นการอำนวยช่วยพระองค์จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์ (บทโมรปริตร)

อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม, เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พึทธานัง นะมัตถุ โพธิยา, นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมังโส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ

สวดวันละ ๖ จบ จะมีความรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พึงใช้สีที่เป็นมงคลสำหรับเครื่องนุ่งห่ม ประจำบ้านเรือน หรือเครื่องประดับตัวเป็นของที่มีสีแดง จะเป็นสิริมงคลลาภผล ดียิ่งนัก ส่วนสีรองๆ ลงไป มีสีม่วง สีเขียว สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก พึงเว้น สีน้ำเงิน



เกิดวันจันทร์
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ

ลักษณะพระพุทธรูป



พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร นิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง

ประวัติย่อ

ครั้งหนึ่ง ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองไพศาลี มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ลิจฉวี เจ้าผู้ครองเมืองจึงได้กราบบังคมทูลอาราธนาพระพุทธองค์ ให้เสด็จมาโปรดชาวเมือง พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์ เจริญรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบพระนคร จนต่อมาภายหลังโรคร้ายก็หายสิ้นจากพระนครด้วยพุทธานุภาพ

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันจันทร์ (บทอภัยปริตร)

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

สวดวันละ ๑๕ จบ จะมีความสุข ความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง ผู้ที่เกิดวันจันทร์ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือน เป็นสีขาว เหลืออ่อนๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรองๆ ลงมา คือสีเขียว สีดำ สรกรมท่า สีน้ำเงิน พึงเว้นสีแดง



เกิดวันอังคาร
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์

ลักษณะพระพุทธรูป



พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)

ประวัติย่อ

สมัยหนึ่ง เมือ่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดเชตวัน ในพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นอสุรินทราหูจอมอสูร ซึ่งสำคัญว่ามีร่างโตใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิจองอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่าจอมอสูร จอมอสูรจึงละทิฐิยอมอ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอังคาร (บทกรณียเมตตสูตร)

ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิก เขปิ ปาณิโน ปะติฏฐะมะธิ คัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิ สัมภะวา คะณะนานะ จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

สวดวันละ ๘ จบ จะมีความรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล ผู้ที่เกิดวันอังคาร ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีชมพู หรือ สีแดงหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมาคือ สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ สีเหลือง สีแดง พึงเว้นสีขาวนวล



เกิดวันพุธ กลางวัน
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร

ลักษณะพระพุทธรูป



พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว

ประวัติย่อ

ครั้งหนึ่ง หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเวสสันดรชาดก โปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระญาติทั้งหลาย บรรดาพระประยูรญาติต่างมีความแช่มชื่นโสมนัส จนลืมกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้มารับภัตตาหารเช้าในพระพราชวัง ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเสด็จออกรับบิณฑบาตจากประชาชนทั่วไปในกรุงกบิลพัสดุ์

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางวัน) (บทขัดขันธปริตร-ย่อ)

สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเห ฯ

สวดวันละ ๑๗ จบ จะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป ผู้ที่เกิดวันพุธ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีเขียว หรือสีเขียวใบไม้ ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเหลือง สีเทา สีดอกรัก สีเมฆหมอก สีขาวนวล พึงเว้น สีม่วง


เกิดวันพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางตรัสรู้ หรือปางสมาธิ

ลักษณะพระพุทธรูป



พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย

ประวัติย่อ
ภายหลังจากที่พระมหาบุรุษได้กำราบพรยามารลงได้แล้ว พระองค์จึงได้ตั้งพระทัยเจริญสมาธิจนได้ญาณขั้นต่างๆ และในที่สุดก็ได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาเช้าตรู่ของวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา)

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพฤหัสบดี (บทวัฏฏกปริตร)

อัตถิโลเก สีละคุโณ สัจจังโสเจยยะ นุททะยา เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง อาวัชชิตวา ธัมมัพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน สัจจะพะละมะสายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติ ปาทา อะวัญจะนา มาตาปิตา จะนิกขันตา ชาตะเวทะ ปฏิิกกะมะ สะหะ สัจเจกะเต มัยหัง มะหาปัชชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะ กะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติ

สวดวันละ ๑๙ จบ จะมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีเหลืองหรือสีไพล ส่วนสีรองลงมาคือ สีน้ำเงิน สีแดง สีเขียว พึงเว้น สีดำ สรกรมท่า และสีน้ำเงินแก่



เกิดวันศุกร์
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางรำพึง

ลักษณะพระพุทธรูป




พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถืขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

ประวัติย่อ

ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อชปาลนโครธ) ก็ได้ทรงรำพึงถึงธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้นว่าเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ่งยากแก่การเข้าใจ จึงทรงรู้สึกอ่อนพระทัยในการที่จะนำออกแสดงโปรดสัตว์ แต่เพราะพระมหากรุณาคุณของพระองค์ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าสรรพสัตว์มีภูมิต่างกัน จึงทรงพระดำริที่จะแสดงธรรม ตามภูมิชั้นแห่งปัญญาสรรพสัตว์นั้นๆ

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันศุกร์ (บทอาฎานาฎยาปริตร)

อัปปะสันเนติ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต อะมะนุสเสหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะจะคุตติยา ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

สวดวันละ ๒๑ จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน ผู้ที่เกิดวันศุกร์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงินแก่ ส่วนสีรองลงมาคือ สขาวนวล สีม่วง สีเหลือง พึงเว้นสีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก



เกิดวันเสาร์
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางนาคปรก

ลักษณะพระพุทธรูป



พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร

ประวัติย่อ

ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) บังเอิญในช่วงนั้นมีฝนตกพรำๆ ตลอด ๗ วัน พระยานาคมุจลินท์ได้เลื้อยมาทำขนดล้อม พระวรกายของพระพุทธองค์ ๗ ชั้นแล้วแผ่พังพานปกไว้ในเบื้องบนเหมือนกั้นฉัตร ด้วยประสงค์จะกำบังลมฝนมิให้ต้องพระวรกาย

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันเสาร์ (บทองคุลีมาลปริตร)

ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต, นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ

สวดวันละ ๑๐ จบ จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลตลอดกาลนาน ผู้ที่เกิดวันเสาร์์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีดำหลัว หรือสีม่วง ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก สีน้ำเงิน พึงเว้นสีเขียว



เกิดวันพุธ กลางคืน (ราหู)
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ 

ลักษณะพระพุทธรูป



พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงาย นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย

ประวัติย่อ

ครั้งหนึ่ง พระภิกษุในวัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพีทะเลาะกันด้วยเรื่องพระวินัย พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้สามัคคีกันเท่าไหร่ก็ไม่ยอมเชื่อ เพราะต่างฝ่าย ต่างยึดถือในความคิดของตนเป็นใหญ่ พระพุทธองค์ ทรงรอาพระทัยจึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ในป่ารักขิตวัน แถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ ณ ที่นั่นมีช้างชื่อปาลิเลยยะและลิงตัวหนึ่งคอยอุปัฏฐากอยู่
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางคืน) (บทขันธปริตร)

สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเส ฯ

หรือ บทสุริยะปริตตะปาโฐ(ย่อ)

กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต ติฏฐะสีติ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธาคาถาภิคิโตมหิ โนเจ มุญเจยะ จันทิมันติ

สวดวันละ ๑๒ จบ จะมีความเจริญสุขสวัสดี ผู้ที่เกิดวันราหู หรือวันพุธกลางคืน นี้ ควรใช้ของประดับ

ที่มา/อ้างอิง/ผู้เขียน : จักรกฤษณ์ แร่ทอง - มายโหรา.คอม  , www.myhora.com
หมายเหตุ : เนื้อหาข้างต้นเผยแพร่แก่สาธารณะเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา/วิทยาทานเท่านั้น

อานิสงส์ สวดมนต์

อานิสงส์ สวดมนต์



การสวดมนต์นั้นมีอานิสงส์ดังนี้ 

 
๑. สามารถไล่ความขี้เกียจ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้านจะหมดไป และเกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉงขึ้น
๒. เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน
๓. เป็นการกระทำที่ได้ปัญญา ถ้าการสวดมนต์โดยรู้คำแปล รู้ความหมาย ก็ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญาความรู้ แทนที่จะสวดเหมือนนกแก้วนกขุนทองโดยไม่รู้อะไรเลย
๔. มีจิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น
๕. เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง

และในวิมุตติสูตรได้กล่าวว่า การสาธยายมนต์คือเหตุหนึ่งในวิมุตติ ๕ ประการ (เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ การฟังธรรม การเทศน์ การสวดมนตร์สาธยาย และการคิดอย่างแยบคาย ) ดังมีว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี ใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ


เรื่องการสวดมนต์ มีบางแห่งกล่าวถึงเหตุผลของการสวดมนต์ไว้ว่า
๑. เป็นการรักษาธรรมเนียม ประเพณีที่ดีให้คงอยู่
๒. เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย
๓. เป็นการเชื่อมสามัคคีในหมู่คณะ ครบไตรทวาร
๔. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
๕. เพื่อฝึกกายใจให้เข็มแข็งอดทน

๖. เพื่อดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้
๗. เพื่ออบรมจิตใจให้สะอาด สงบ สว่าง
๘. เพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ไม่ฟุ่งซ่าน
๙. เพื่อเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์ และกล่าวถึงประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์ไว้ว่า...

๑. เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
๒. เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม
๓. เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร
๔. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ
๕. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
๖. เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้
๗. เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว
๘. เป็นเนตติของอนุชนต่อไป
๙. เป็นบุญกิริยา เป็นวาสนาบารมี เป็นสุขทางใจ

ที่มา :  www.dhammathai.org

 

บทพุทธชัยมงคลคาถา


บทไตรสรณคมน์
บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
บทพุทธชัยมงคลคาถา
บทชะยะปะริตตัง
บทพระคาถาชินบัญชร



อานิสงส์ สวดมนต์

อานิสงส์ สวดมนต์




การสวดมนต์นั้นมีอานิสงส์ดังนี้ 
๑. สามารถไล่ความขี้เกียจ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้านจะหมดไป และเกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉงขึ้น
๒. เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน
๓. เป็นการกระทำที่ได้ปัญญา ถ้าการสวดมนต์โดยรู้คำแปล รู้ความหมาย ก็ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญาความรู้ แทนที่จะสวดเหมือนนกแก้วนกขุนทองโดยไม่รู้อะไรเลย
๔. มีจิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น
๕. เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง

และในวิมุตติสูตรได้กล่าวว่า การสาธยายมนต์คือเหตุหนึ่งในวิมุตติ ๕ ประการ (เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ การฟังธรรม การเทศน์ การสวดมนตร์สาธยาย และการคิดอย่างแยบคาย ) ดังมีว่า

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี ใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ


เรื่องการสวดมนต์ มีบางแห่งกล่าวถึงเหตุผลของการสวดมนต์ไว้ว่า
๑. เป็นการรักษาธรรมเนียม ประเพณีที่ดีให้คงอยู่
๒. เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย
๓. เป็นการเชื่อมสามัคคีในหมู่คณะ ครบไตรทวาร
๔. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
๕. เพื่อฝึกกายใจให้เข็มแข็งอดทน
๖. เพื่อดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้
๗. เพื่ออบรมจิตใจให้สะอาด สงบ สว่าง
๘. เพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ไม่ฟุ่งซ่าน
๙. เพื่อเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์ และกล่าวถึงประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์ไว้ว่า...

๑. เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
๒. เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม
๓. เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร
๔. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ
๕. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
๖. เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้
๗. เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว
๘. เป็นเนตติของอนุชนต่อไป
๙. เป็นบุญกิริยา เป็นวาสนาบารมี เป็นสุขทางใจ

ที่มา :  www.dhammathai.org

หลวงปู่ชา สุภัทโท

หลวงปู่ชา สุภัทโท



วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

"โลกนี้มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยไป จะอยู่ที่โน่นก็เปลี่ยนแปลง อยู่ที่นี่หรือที่ไหนก็เปลี่ยนแปลงเพราะพวกเราทั้งหลายอยู่ได้ด้วย การเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง เราก็อยู่ไม่ได้ หายใจ ออกมาแล้วก็เปลี่ยนเป็นหายใจเข้า แล้วก็หายใจออก ไม่เช่นนั้น ก็อยู่ไม่ได้ ออกไปหมดก็อยู่ไม่ได้ ลมเข้ามาแล้วไม่ออกก็อยู่ไม่ได้ เราทั้งหลายอยู่ในโลกนี้ก็เป็นของโลก มันเป็นของๆ โลก ไม่ควร ทำความน้อยใจ ไม่ควรทำความเสียใจใดๆ เราต้องเป็นผู้มีจิตใจ เข้มแข็ง จะตกไปอยู่ที่ไหนก็สร้างแต่คุณงามความดี แม้หมดชีวิต ก็อย่าทิ้งคุณงามความดี "

นามเดิม ชา ช่วงโชติ กำเนิด 17 มิ.ย. 2461
สถานที่เกิด อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
อุปสมบท
อุปสมบท ณ วัดก่อใน อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2482 โดยมี พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ สมณศักดิ์ พระโพธิญาณเถร

มรณภาพ
16 ม.ค. 2535 อายุ 74 ปี 53 พรรษา

หลวงปู่เกิดในครอบครัวที่อบอุ่น มั่งคั่ง และมักเกื้อหนุนสงเคราะห์ผู้ยากไร้อยู่เสมอ ท่านเป็นเด็กวัดตั้งแต่ อายุยังน้อย และได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านก่อ เมื่ออายุได้ 13 ปี ลาสิกขาเมื่ออายุได้ 16 ปี แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุได้ 21 ปี หลวงปู่ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดก่อใน จนกระทั่งต้นปีพ.ศ. 2489 หลวงปู่จึงได้เริ่ม ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อหาครูบาอาจารย์เป็นที่พึ่ง และได้เข้ากราบนมัสการ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร พระอาจารย์มั่นได้ให้โอวาท และปรารภเรื่องนิกายว่า "ถ้าถือพระวินัย เป็นหลัก ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็น ต้องญัตติเข้าธรรมยุตินิกาย ด้วยทางมหานิกาย จำเป็นต้องมีพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเช่นเดียวกัน" ด้วยเหตุนี้เอง หลวงปู่จึงมิได้ขอญัตติเป็นธรรมยุติเช่นเดียวกับ ศิษย์ของพระอาจารย์มั่นทั้งหลาย หลังจากเข้ากราบนมัสการพระอาจารย์มั่นแล้ว ท่านเกิดศรัทธาเลื่อมใสยิ่งนักถึงกับ เปรียบเทียบว่า "คนตาดีเมื่อพบดวงไฟก็มองเห็นแสงสว่าง ส่วนคนตาบอดนั้น ถึงจะนั่งเฝ้าดวงไฟก็มองไม่เห็นอะไร" ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ของพระอาจารย์มั่น ได้ถูกนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติสำหรับพระ-เณร เมื่อหลวงปู่ได้กลับมาพัฒนาวัดหนองป่าพงในช่วงบั้นปลายชีวิต จนกระทั่งมีชื่อเสียงขจรไกลไปถึงต่างแดน มีชาวต่างประเทศเลื่อมใส ศรัทธาขอบวชกับหลวงปู่เป็นจำนวนมาก ท่านจึงได้สร้างวัดป่านานาชาติ เพื่อให้ภิกษุชาวต่างชาติ ได้มีโอกาสใช้เป็นที่พำนักฝึกปฏิบัติธรรม นอกจากนั้นยังได้สร้างวัดสาขาของวัดหนองป่าพง เพื่อเผยแพร่พระศาสนาไปยังทั่วทุกภาค ของประเทศ จึงนับได้ว่าหลวงปู่เป็นผู้มีพระคุณอย่างใหญ่หลวงต่อศาสนิกชนทั้งหลาย ควรแก่การเทิดทูนบูชายิ่ง

ที่มา : http://www.dhammathai.org

พุทธพจน์ เจลสูตร | วัดป่ามหาชัย

เจลสูตร  
พระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า
พระพุทธพจน์ หมายถึงถ้อยคำ สำนวนที่ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ ธรรม หรือ วินัย

ซึ่งเรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ บ้าง ปาพจน์ บ้าง ล้วนเป็น พระพุทธพจน์ทั้งสิ้น







(ให้รีบเพียรเพื่อตรัสรู้ เหมือนรีบดับไฟบนศีรษะ)

[ ๑๗๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว
จะควรกระทำอย่างไร?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว ควรจะกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย

สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.

พ. “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! บุคคลพึงวางเฉย ไม่ใส่ใจ
ถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้ แล้วพึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ
ความไม่ท้อถอย

สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า
เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง

อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เพราะฉะนั้นแหละ
เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบ สูตร

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๔๓๙ หัวข้อที่ ๑๗๑๗

พุทธพจน์ วัตถสูตร | วัดมหาชัย

วัตถสูตร
พระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า
พระพุทธพจน์ หมายถึงถ้อยคำ สำนวนที่ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ ธรรม หรือ วินัย

ซึ่งเรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ บ้าง ปาพจน์ บ้าง ล้วนเป็น พระพุทธพจน์ทั้งสิ้น





“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ผ้าที่ทอด้วยด้ายชนิดใดชนิดหนึ่ง
ผ้าของชาวกาสี บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าผ้าที่ทอด้วยด้ายเหล่านั้น แม้ฉันใด

กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล
รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น เหมือนกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาท
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาท
ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้ไม่ประมาท
ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล”

จบ สูตร

สาวัตถีนิทาน.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๖๗/ ๔๖๙ หัวข้อที่ ๒๖๒ - ๒๖๓

พุทธพจน์ พาลิสิกสูตร | วัดมหาชัย

พาลิสิกสูตร
พระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า
พระพุทธพจน์ หมายถึงถ้อยคำ สำนวนที่ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ ธรรม หรือ วินัย

ซึ่งเรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ บ้าง ปาพจน์ บ้าง ล้วนเป็น พระพุทธพจน์ทั้งสิ้น






[ ๒๘๙ ] "ดูกรภิกษุทั้งหลาย! พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลงในห้วงน้ำลึก
ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวใดตัวหนึ่ง กลืนกินเบ็ดนั้น
ปลานั้น ชื่อว่ากลืนกินเบ็ดของนายพรานเบ็ด ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ
พรานเบ็ดพึงกระทำได้ตามชอบใจฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีเบ็ดอยู่ ๖ ชนิดเหล่านี้
เพื่อจะนำสัตว์ทั้งหลายไป เพื่อจะฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย ก็ฉันนั้น เหมือนกัน

เบ็ด ๖ ชนิด คืออะไรบ้าง คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่

ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญหมกมุ่นในรูปนั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร
ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ

เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่

ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญหมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร
ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ ฯ

[ ๒๙๐ ] "ดูกรภิกษุทั้งหลาย! รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่

ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด

ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ
เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่

ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร
ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ดไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ
มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ ฯ "

จบสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๑๘๐ หัวข้อที่ ๒๘๙ - ๒๙๐

การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง

การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง



[ ๑๔๕ ]  “ดูกรราหุล! เธอจงเจริญ เมตตาภาวนาเถิด 
เพราะเมื่อ เธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาทได้.

เธอจงเจริญ กรุณาภาวนาเถิด 
เพราะเมื่อ เธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละวิหิงสาได้. 

เธอจงเจริญ มุทิตาภาวนาเถิด 
เพราะเมื่อ เธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติได้.

เธอจงเจริญ อุเบกขาภาวนาเถิด 
เพราะเมื่อ เธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฏิฆะได้.

เธอจงเจริญ อสุภภาวนาเถิด 
เพราะเมื่อ เธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะได้.

เธอจงเจริญ อนิจจสัญญาภาวนาเถิด 
เพราะเมื่อ เธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละอัสมิมานะได้.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๑๕  หัวข้อที่ ๑๔๕

พระคาถากำลังวันเกิด





ผู้เกิดวันอาทิตย์ (สวดวันละ ๖ จบ)      
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
      อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ
ผู้เกิดวันจันทร์ (สวดวันละ ๑๕ จบ)      
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
      ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ
สัทโธ ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
      ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

ผู้เกิดวันอังคาร (สวดวันละ ๘ จบ) 
ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน
ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา
สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา
คะณะนา นะ จะ มุตตานัง ปะริตันตัมภะณามะ เห ฯ

ผู้เกิดวันพุธ (สวดวันละ ๑๗ จบ) 
สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ
ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง
สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

ผู้เกิดวันพุธกลางคืน (สวดวันละ ๑๒ จบ) 
กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ ฯ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตม๎หิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติฯ

ผู้เกิดวันพฤหัสบดี (สวดวันละ ๑๙ จบ) 
ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง
ยัสสะ เตเชนะ ทาวัคคิ มะหาสัตตัง วิวัชชะยิ
เถรัสสะ สารีปุตตัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง
กัปปัฏฐายิ มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณานะ เห ฯ

ผู้เกิดวันศุกร์ (สวดวันละ ๒๑ จบ) 
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

ผู้เกิดวันเสาร์ (สวดวันละ ๑๐ จบ) 
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ
สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ

ภาวนาสูตร




ภาวนาสูตร

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา
แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า

โอหนอ! ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง
แต่จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะ
เพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้น เพราะเหตุไร?

จะพึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร?
เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
เปรียบเหมือนแม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง
ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี
แม่ไก่นั้น แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า

โอหนอ! ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือ จะงอยปากเจาะกะเปาะไข่
ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้น ไม่สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้า
หรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะแม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา
แม้จะไม่พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า

โอหนอ! ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจาก อาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง
แต่จิตของภิกษุนั้น ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
พึงกล่าวได้ว่า เพราะเจริญ เพราะเจริญอะไร?
เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
เปรียบเหมือน แม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง
ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี
แม้แม่ไก่นั้นจะไม่พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า

โอหนอ! ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่
ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้น ก็สามารถใช้เท้า
หรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี ฉะนั้น ฯ
เปรียบเหมือน รอยนิ้วมือ รอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด
ย่อมปรากฏแก่นายช่างไม้หรือลูกมือ นายช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า
วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้ เมื่อวานสึกไปเท่านี้
หรือเมื่อวานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไปเขาก็รู้ว่าสึกไปนั่นเทียว ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานสิ้นไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้
แต่ที่จริง เมื่ออาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้นก็รู้ว่าสิ้นไปนั่นเทียว ฯ 
เปรียบเหมือน เรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะแล้วแล่นไปในน้ำ
ตลอด๖ เดือน ถึงฤดูหนาว เข็นขึ้นบก เครื่องผูกประจำเรือตากลมและแดดไว้
เครื่องผูกเหล่านั้น ถูกฝนชะ ย่อมชำรุดเสียหาย เป็นของเปื่อยไปโดยไม่ยาก ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์ย่อมสงบระงับไปโดยไม่ยาก ก็ฉันนั้น
เหมือนกันแล ฯ
จบสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก- อัฏฐก- นวกนิบาต
หน้าที่ ๙๘ หัวข้อที่ ๖๘
ที่มา : http://www.watpamahachai.net

พระธาตุประจำวันเกิด ทั้ง ๗ วัน

   
               พระธาตุประจำวันเกิด ทั้ง ๗ วัน

พระธาตุพนม สำหรับคนเกิดวันอาทิตย์

พระธาตุพนม
"พระธาตุพนม" ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม
ห่างจากตัวจังหวัด 53 กิโลเมตร เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมือง ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุ
หรือกระดูกส่วนหน้าอก ของพระพุทธเจ้า ตามประวัติอุรังคธาตุ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ 8
ลักษณะของสถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาเดียวกับปราสาทขอม
พระธาตุแห่งนี้ผ่านการบูรณะมาหลายครั้ง เคยทรุดลงมาทั้งองค์เมื่อพ.ศ.2518
และได้รับการบูรณะใหม่ตามแบบเดิม เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม สูง 53.60 เมตร ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลียม
กว้างด้านละ 12.33 เมตร บนยอดพระธาตุเป็นฉัตรทองคำมีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม
ตามคติความเชื่อ พระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีวอก
อีกทั้งยังเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ด้วย เชื่อกันว่าผู้ที่ไปนมัสการ
จะได้รับอานิสงส์มีบุญบารมี และมีคนให้ความเคารพนับถือ
คำไหว้พระธาตุพนม 
ปุริมายะ ทักขิณายะ ปัจฉิมายะ อุตตะรายะ เหฏฐิมายะ
อุปะริมายะ ทิสายะ กะปะณะ คิริสมิง ปัพพะเต มหากัสสะเปนะ
ฐาปิตัง พุทธะอุรังคธาตุง สิระสา นะมามิ
คำไหว้ยอดพระธาตุพนม   ( ยอดฉัตรทอง)
เสตะฉัตตัง สุวัณณะระชะตัง ระตะนัง ปะณีตัง พุทธะอุรังคะเจติยัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา
พระธาตุเรณู สำหรับคนเกิดวันจันทร์ 

พระธาตุเรณู
ส่วนผู้ที่เกิดวันจันทร์ควรไปกราบไหว้ "พระธาตุเรณู"
ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุเรณู อ.เรณูนคร สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2463
เป็นพระธาตุคู่เมืองของชาวเรณูนคร องค์พระธาตุมีลักษณะสวยงาม
จำลองมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า ภายในบรรจุพระไตรปิฎก
พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน และเครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยาและเจ้าเมืองสมัยก่อน

เชื่อกันว่าคนที่เกิดวันจันทร์มักเป็นคนมีเสน่ห์ใครได้กราบไหว้จะมีรูปงามผ่องใส
ตรงกับลักษณะของเทพประจำวันจันทร์คำไหว้พระธาตุเรณู (ตั้งนะโม 3 จบ)
ปุริมายะ ทิสายะ เรณูนะคะรัสมิง สะปะริสายะ อินทะเถเรนะ จะ สังฆะเถเรนะ จะ ฐาปิตัง
เจติยัง สิระสานะมานิ
ทักขิณายะ ทิสายะ เรณูนะคะรัสมิง สะปะริสายะ อินทะเถเรนะ จะ สังฆะเถเรนะ จะ ฐาปิตัง
เจติยัง สิระสานะมานิ
ปัจฉิมมายะ ทิสายะ เรณูนะคะรัสมิง สะปะริสายะ อินทะเถเรนะ จะ สังฆะเถเรนะ จะ ฐาปิตัง
เจติยัง สิระสานะมานิ
อุตตะรายะ หิสายะ เรณูนะคะรัสมิง สะปะริสายะ อินทะเถเรนะ จะ สังฆะเถเรนะ จะ ฐาปิตัง
เจติยัง สิระสานะมานิ

พระธาตุศรีคุณ สำหรับคนเกิดวันอังคาร 

พระธาตุศรีคุณ
ต่อด้วยพระธาตุคู่บุญของคนเกิดวันอังคาร คือ "พระธาตุศรีคุณ"
ประดิษฐานอยู่ที่วัดธาตุศรีคุณ อ.นาแก พระธาตุองค์นี้ถูกค้นพบเมื่อประมาณปีพ.ศ.2340
และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปีพ.ศ.2486-2490 มีลักษณะคล้ายพระธาตุพนม
ต่างกันที่ชั้น 1 มี 2 ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ 2 สั้นกว่าพระธาตุพนม
ภายในบรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุของพระโมคคัลลานะเถระ พระสารีบุตรเถระ พระอัครสาวกซ้ายขวา
ของพระพุทธเจ้า และพระมหากัจจายนะเถระ

ตามตำนานของพระธาตุองค์นี้ มีกษัตริย์นักรบเป็นผู้ก่อสร้าง คนที่เกิดวันอังคาร
จะเป็นนักต่อสู้ มีน้ำอดน้ำทนเป็นเยี่ยม เชื่อว่าหากใครได้ไปสักการะจะได้อานิสงส์
มีศักดิ์ศรีทวีคูณ และจะเสริมพลังนักสู้ให้มีจิตใจเข้มแข็งขึ้น
คำไหว้พระธาตุศรีคุณ (ตั้งนะโม 3 จบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

จะตุทิสสายะ อิมัสมิง อาวาเส โปราณะ ฐาปิตัง ธาตุสีละคุณัง สิระสา นะมามิ
ทุติยัมปิ จะตุทิสสายะ อิมัสมิง อาวาเส โปราณะ ฐาปิตัง ธาตุสีละคุณัง สิระสา นะมามิ
ตะติยัมปิ จะตุทิสสายะ อิมัสมิง อาวาเส โปราณะ ฐาปิตัง ธาตุสีละคุณัง สิระสา นะมามิ
นะพุธ โมพุท พุทพุท ธาพุท ยะพุท นะมะพะธะ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม

พระธาตุมหาชัย สำหรับคนเกิดวันพุธ 

พระธาตุมหาชัย
"พระธาตุมหาชัย" พระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธ
ห่างจากตัว จ.นครพนม ไป 39 กิโลเมตร ที่วัดพระธาตุมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก
เป็นสถานที่ประดิษฐาน
ก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ.2495 องค์พระธาตุเป็นรูปแปดเหลี่ยมสูง ๓๗ เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
และพระอรหันตสารีริกธาตุของพระอัญญาโกณฑัญญะ พระภิกษุสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา
พระสารีบุตร และพระอนุรุทธ อีกทั้งบริเวณใกล้เคียงกันยังมีพระพุทธรูปสลักจากไม้ต้นสะเดา
และภาพเขียนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ มีลวดลายศิลปะที่งดงามหาดูได้ยากยิ่ง
เชื่อกันว่าผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุมหาชัย จะประสบแต่ชัยชนะในชีวิต จะเป็นนักประสานสิบทิศ
โอภาปราศรัยดี ค้าขายคล่อง พูดจามีคนเชื่อถือ
คำไหว้พระธาตุมหาชัย นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
“ อิมัสมิง เจติเย สะราชินิยา ภูมิพะละมะหาราเชนะ ฐะปิตัง
พุทธะสารีริกะธาตุญจะ อัญญาโกณฑัญญะ สารีปุตตะ โมคคัลลานะ อานันทะ อะนุรุทธะ
ระโสสัตเถรานัง โฆสะปัญญัตเถเรนะ ฐะปิตานิ อัฏฐีนิ จะ สิระสา นะมามิ"
 ประวัติการสร้างพระธาตุมหาชัย

พระธาตุประสิทธิ์ สำหรับคนเกิดวันพฤหัสบดี 

พระธาตุประสิทธิ์

หรือถ้าหากอยากจะประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติงานให้ หาโอกาสไปนมัสการ " พระธาตุประสิทธิ์"
พระธาตุประจำวันเกิดของคนวันพฤหัสบดี ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ อ.นาหว้า
แต่เดิมเป็นเจดีย์โบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด
กระทั่งเมื่อปีพ.ศ.2436 บูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ โดยจำลองรูปทรงมาจากพระธาตุพนม
ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตสารีริกธาตุรวม 7 องค์ พระพุทธรูปเก่าแก่
ดินจากสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย 4 แห่ง และพระพุทธบาทจำลองที่อัญเชิญมาจากกรุงเทพฯ
เมื่อปีพ.ศ.2500
มีตำนานบอกไว้ว่าพระธาตุแห่งนี้มีพระเป็นผู้สร้าง ที่สำคัญพระประธานของวัดอยู่ประจำทิศตะวันตก
ตรงกับพระพฤหัสบดี ที่อยู่ทิศตะวันตกเช่นกัน เชื่อว่าผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุประสิทธิ์
จะได้รับอานิสงส์ส่งผลให้สัมฤทธิผลในการปฏิบัติงาน
คำไหว้พระธาตุประสิทธิ์
(ตั้งนะโม 3 จบ)
"ชัมพุเขตตะคาเม ฐิเต อิมัสสะมิง อารามเขตเต เทวะระตะนะโมลีติ
ราชชะทินนะนามะเกนะ กันโตภาสะมหาเถเรนะ สัทธิง เถรานุเถเรหิ
อิมัสสะมิง พุทธะปะระสิทธิเจติเย อานีตัง ฐาปิตัง จตุตทะสะ พุทธะธาตุญจะ
อะระหันตะธาตุญจะ จะตุสังเวชะนียะมัตติกัญจะ สิระสา เมนะมามิ สัพเพปิ
อันตะรายาเม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา"
พระธาตุท่าอุเทน สำหรับคนเกิดวันศุกร์ 

พระธาตุท่าอุเทน

ส่วนผู้ที่เกิดวันศุกร์มี "พระธาตุท่าอุเทน" ประจำวันเกิด
ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุอุเทน อ.ท่าอุเทน สร้างเมื่อปีพ.ศ.2455
เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยม จำลองมาจากพระธาตุพนม แต่มีขนาดเล็กและสูงกว่าพระธาตุพนม
ภายในบรรจุพระพุทธสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า
รวมทั้งพระพุทธรูปและของมีค่าต่างๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบรรจุถวายเอาไว้

เชื่อกันว่าผู้ที่เกิดวันนี้เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รักอิสระ รักสวยรักงาม
พระธาตุองค์นี้มีสิ่งที่ตรงกับเทพประจำวันศุกร์ คือพระธาตุหันไปทางทิศเหนือของพระธาตุพนม
ตรงกับทิศประจำของพระศุกร์ ผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุแห่งนี้จะได้รับอานิสงส์ให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์
เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ขึ้นยามรุ่งอรุณ

คำไหว้พระธาตุท่าอุเทน 
( ตั้งนะโม 3 จบ)

ปุริมายะ ทิสายะ นะทีติเร อุเทนะ รัฏฐั สะ มิง อายัสะมันเต สีทัตเถนะ ฐาปิตัง
พุทธะสารีริกธาตุง สิระสา นะมามิ

ทักขิณายะ ทิสายะ นะทีติเร อุเทนะรัฏฐั สะ มิง อายัสะมันเต สีทัตเถนะ ฐาปิตัง
พุทธะสารีริกธาตุง สิระสา นะมามิ

ปัจฉิมายะ ทิสายะ นะทีติเร อุเทนะรัฏฐั สะ มิง อายัสะมันเต สีทัตเถนะ ฐาปิตัง
พุทธะสารีริกธาตุง สิระสา นะมามิ

อุตตะรายะ ทิสายะ นะทีติเร อุเทนะรัฏฐั ส ะมิง อายัสะมันเต สีทัตเถนะ ฐาปิตัง
พุทธะสารีริกธาตุง สิระสา นะมามิ

เหฏฐิมายะ ทิสายะ นะทีติเร อุเทนะรัฏฐั ส ะมิง อายัสะมันเต สีทัตเถนะ ฐาปิตัง
พุทธะสารีริกธาตุง สิระสา นะมามิ

อุปริมายะ ทิสายะ นะทีติเร อุเทนะรัฏฐั ส ะมิง อายัสะมันเต สีทัตเถนะ ฐาปิตัง
พุทธะสารีริกธาตุง สิระสา นะมามิ
พระธาตุนคร สำหรับคนเกิดวันเสาร์ 

พระธาตุนคร

พระธาตุสุดท้ายสำหรับผู้เกิดวันเสาร์ ควรไปกราบสักการะ "พระธาตุนคร"
ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ ถนนสุนทรวิจิตร อ.เมืองนครพนม พระธาตุมีลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ก่อสร้างเสร็จในวันเดือนเพ็ญของปีพ.ศ.2465 มีรูปแบบตามพระธาตุพนมองค์เดิม 

ภายในบรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุ พร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำ
และของมีค่าต่างๆ จากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาถวายบรรจุเอาไว้ในองค์พระธาตุ
เชื่อกันว่าผู้มาสักการะจะได้อานิสงส์ส่งผลให้มีบุญวาสนา เป็นเจ้าคนนายคน
พระธาตุแห่งนี้มีเทวดานพเคราะห์ประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้ปกปักษ์รักษา
คำไหว้พระธาตุนคร( ตั้งนะโม 3 จบ)
“อุกาสะ อุกาสะ อิมัสมิงอาวาเส พะนะมะคะราจาริเยนะ ฐาปิตัง
อะระหันตะสารีริกะธาตุญเจวะ พุทธะสารีริกะธาตุญจะ
อะหัง วันทามิ สัพพะทา”

ที่มา :  www.watpamahachai.net

บทสวดกรวดน้ำ (อิมินา)

บทสวดกรวดน้ำ (อิมินา)



(บทนำ) หันทะ มะยัง อุททิสะนาธิฏฐานะ คาถาโย ภะณามะ เส ฯ

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา
อาจะริยูปะการา จะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา
สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ
พ์รัห์มะมารา จะ อินทา จะตุ- โลกะปาลา จะ เทวะตา
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
สุขัญจะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะเฉทะนัง
เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
นัสสันตุ สัพพะทาเยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา
มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม
พุทธาทิปะวะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง
เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ

ความหมายบทกรวดน้ำ (อิมินา)

ในวรรคที่1 เป็นการสวดไปให้แก่บุพการีชน คนมีอุปการะทั้งหลาย เช่น อุปัชฌาย์ อาจารย์ พ่อแม่ เป็นต้น รวมถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระราชา พระพรหม พระอินทร์ ท้าวจตุโลกบาล เทวดาทั้งหลาย พระยม ญาติสนิท มิตรสหาย และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ให้ได้รับส่วนบุญกุศลโดยทั่วกัน ดังความที่ท่านได้ประพันธ์เอาไว้ว่า

ด้วยบุญนี้ อุทิศนี้ อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ
สูรย์จันทร์ แลราชา ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ
พรหม มาร และอินทราช ทั้งทวยเทพ และโลกบาล
ยมราช มนุษย์มิตร ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ
ขอให้ เป็นสุขศานติ์ ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน
บุญผอง ที่ข้าทำ จงช่วยอำ นวยศุภผล
ให้สุข สามอย่างล้น ให้ลุถึง นิพพานพลันฯ

ในวรรคที่ 2 เป็นการสวดไปให้แก่ตนเอง ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบกุศล ให้บรรลุทันทีซึ่งการตัดตัณหาอุปทาน ธรรมอันชั่วในสันดาน ขอจงพินาศไปหมดตราบเท่าถึงนิพพานสิ้นกาลทุกเมื่อ แม้หากยังไม่บรรลุคุณวิเศษใดๆ ก็ขอให้เป็นผู้มีจิตซื่อตรงดำรงสติปัญญาไว ชาญฉลาด ให้มีความเพียรแก่กล้า สามารถขัดเกลากิเลสให้สูญหายไปได้ ดังความที่ท่านประพันธ์ต่อจากวรรคที่ 1 ว่า

ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ แลอุทิศ ให้ปวงสัตว์
เราพลันได้ ซึ่งการตัด ตัวตัณหา อุปาทาน
สิ่งชั่ว ในดวงใจ กว่าเราจะ ถึงนิพพาน
มลายสิ้น จากสันดาน ทุกๆภพ ที่เราเกิด
มีจิตตรง และสติ ทั้งปัญญา อันประเสริฐ
พร้อมทั้ง ความเพียรเลิศ เป็นเครื่องขูด กิเลสหาย
โอกาส อย่าพึงมี แก่หมู่มาร สิ้นทั้งหลาย
เป็นช่อง ประทุษร้าย ทำลายล้าง ความเพียรจม
พระพุทธผู้ บวรนาถ พระธรรมที่ พึ่งอุดม
พระปัจเจกกะพุทธสม ทบพระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง
ด้วยอานุภาพนั้น ขอหมู่มาร อย่างได้ช่อง
ด้วยเดชบุญ ทั้งสิบป้อง อย่าเปิดโอกาสแก่มารเทอญฯ

ก่อนอื่นให้จุดธูป 1 ดอก แล้วอธิษฐานดังนี้ ข้าพเจ้า (ชื่อ...) ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ทำวันนี้ แก่ท่านทั้งหลายจงมารับเอาเถิด จากนั้นก็เอาธูปปักลงไปที่ดิน แล้วรินน้ำลงไปที่โคนธูป พร้อมท่องคาถากรวดน้ำตามไปด้วย ท่องไปจนกว่าจะจบในระหว่างที่ท่องคาถากรวดน้ำ ๆ หมดก่อนไม่เป็นไร ให้ท่องคาถากรวดน้ำไปจนกว่าจะจบบท (ท่องนะโม 3 จบ แล้วท่องคาถากรวดน้ำดังนี้)

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา



วันออกพรรษา   หรือ   วันปวารณาออกพรรษา 
เป็น วันสำคัญ ทาง พุทธศาสนา วันหนึ่งในประเทศไทย
เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุด ระยะเวลาจำพรรษา ๓ เดือน ของพระสงฆ์ เถรวาท 

คำปวารณาออกพรรษา

สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา 
วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ

ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา 
วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ

ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา 
วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ

โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำ สังฆกรรม ปวารณา ออกพรรษาในวันนี้
วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา ๑ ) จะตรงกับ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ( ประมาณ เดือนตุลาคม)
หลังวันเข้าพรรษา ๓ เดือน ตาม ปฏิทินจันทรคติไทย

การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตาม พระวินัย
สำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า " ปวารณา"
  จัดเป็นญัตติกรรมวาจา สังฆกรรม ประเภทหนึ่ง
ที่ถูกกำหนดโดย พระวินัยบัญญัติ ให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษา
อยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือน

และชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค
ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์
ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถนำข้อบกพร่อง
ไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น


ภาพวาด พระพุทธเจ้า
เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์
ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้
และวันถัดจากวันออกพรรษา ๑ วัน (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ )

พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า   ตักบาตรเทโว 
หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า
ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน   พระพุทธเจ้า ได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดา
บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ ๗ เพื่อลงมายัง เมืองสังกัสสนคร พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณ
ปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย

นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๒ ถือเป็นเวลา กฐิน กาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทย
จะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องใน งานกฐินประจำปี ในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศล
ที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง

ความสำคัญ
วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือน (นับแต่ วันเข้าพรรษา)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้"
ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำ สังฆกรรม ใหญ่ เรียกว่า   มหาปวารณา

เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา
พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้
ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย

ประเพณีเนื่องด้วยการออกพรรษาในประเทศไทย
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
เทโวโรหนสถูป   เมืองสังกัสสะ แคว้นปัญจาละ   สถานที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงสถานที่พระพุทธเจ้า
เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปัจจุบันมีเทวาลัยของฮินดูตั้งอยู่ด้านบนสถูป

เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกหลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่ในดาวดึงส์พิภพถ้วนไตรมาส
และการตรัสอภิธรรมเทศนาโปรดพระมารดาในเทวโลกนั้นมาตลอดเวลา ๓ เดือน

พออออกพรรษาแล้วก็เสด็จมายังโลกมนุษย์โดยเสด็จมาทางบันไดสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสนคร
อันตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี วันที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า “ วันเทโวโรหณะ “
ตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน ๑๑ วันนั้นถือกันว่าเป็นวันบุญกุศล

ที่สำคัญวันหนึ่งของพุทธบริษัท โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ” วันพระเจ้าเปิดโลก ”
รุ่งขึ้นจากวันนั้นเป็นวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ จึงมีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ กันเป็นการใหญ่

เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้าโดยพุทธบริษัทได้พร้อมใจกัน
ใส่บาตรแด่พระสงฆ์ที่อยู่ทั้งหมดในที่นั้นกับทั้งพระพุทธองค์ด้วยโดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน
ภัตตาหารที่ถวายในวันนั้นส่วนใหญ่เป็นเสบียงกรัง ของตนตามมีตามได้ปรากฏได้มีการใส่บาตร
ในวันนั้นแออัดมาก ผู้คนเข้าไม่ถึงพระสงฆ์จึงเอาข้าวสาลีของตนห่อบ้าง ทำเป็นปั้นๆบ้าง
แล้วโยนเข้าถวายพระนี่เองจึงเป็นเหตุหนึ่งที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยนเป็นส่วนสำคัญ
ของการตักบาตรเทโวโรหณะเป็นประเพณีว่าถึงวันแรม๑ค่ำเดือน๑๑ทุกๆปีควร ทำบุญตักบาตร
ให้เหมือนครั้งดั้งเดิมเรียกว่า   ตักบาตรเทโวโรหณะ   จนทุกวันนี้

ประเพณีเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก
การเทศน์มหาชาตเทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ
ส่วนมากจัดให้มีในวัดเป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกตินิยมให้มีหลังฤดูทอดกฐิน
ผ่านไปแล้วจนตลอดฤดูเหมันต์ นิยมจัดเป็นงานสองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์วันหนึ่ง
และวันเทศน์จตุราริยสัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดกอีกวันหนึ่ง
วันแรกเริ่มงานด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระตามจำนวนที่เห็นสมควร
แล้วเริ่มเทศน์เวสสันดรชาดก ตามแบบเทศน์ต่อกันไปจนสุด ๑๓ กัณฑ์ ถึงเวลากลางคืน
บางแห่งจัดปีพาทย์ประโคมระหว่างกัณฑ์หนึ่ง ๆ ตลอดทั้ง ๑๓ กัณฑ์ด้วย

ประเพณีถวายผ้ากฐินทาน 
เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด
ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง คำว่า   กฐิน   แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง
สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน

แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ
เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน
ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น

พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ
แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร
อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน
โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์
(ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

การประกอบพิธีทางศาสนาในวันออกพรรษาในประเทศไทย
พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษา
และตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนยังนิยมร่วมกันทอด กฐิน 
ในระยะเวลา ๑ เดือนหลังออกพรรษา มีทั้ง   จุลกฐิน   และ   มหากฐิน   อย่างไรก็ดี ในแต่ละท้องถิ่นยังมีประเพณีอื่นๆ
ที่น่าสนใจ เช่น การแข่งเรือ การ เทศน์มหาชาติ   เป็นต้น

ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร
จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟัง พระธรรมเทศนา   ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ
ข้าวต้มมัดไต้ และ ข้าวต้มลูกโยน   และการร่วมกุศล " ตักบาตรเทโว" ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑

ในหมู่ชาวไทยและชาวลาวริมฝั่งแม่น้ำโขง เชื่อว่าในช่วงวันออกพรรษา
จะเกิดปรากฏการณ์ บั้งไฟพญานาค ขึ้นในเวลากลางคืน ที่ จังหวัดหนองคาย อีกด้วย

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
๑.ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
๒.ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
๓.ร่วมกิจกรรม "ตักบาตรเทโว" (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ )
๔.ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
และสถานที่ราชการและประดับธงชาติ และธงธรรมจักร ตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
๕.ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

เชิงอรรถ
หมายเหตุ ๑:   ออกปุริมพรรษา คือการออกพรรษาต้น
เป็นการเข้าและออกพรรษาตามปกติตามพระวินัยพุทธานุญาต
พระสงฆ์ที่ออกพรรษาต้นจะได้รับกรานกฐินและได้รับอานิสงส์กฐิน
แต่สำหรับพระสงฆ์ที่ออกพรรษาในกรณียกเว้นคือ ออกปัจฉิมพรรษา จ
ะไม่มีโอกาสได้รับกฐินและอานิสงส์กฐิน เพราะจำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙
จึงต้องจำครบ ๓ เดือน และต้องออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นเวลาหมดกฐินกาลพอดี
(วันรับกฐินได้จะนับวันวันถัดจากวันออกพรรษาแล้ว ๑ วัน)

ขอบคุณข้อมูลจาก :  dhammathai.org, วิกิพีเดีย , watpamahachai.net

บทสวดมนต์ บทพิจารณาสังขาร

บทพิจารณาสังขาร




(หันทะ มะยัง ธัมมะสังเวคะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)

สัพเพ สังขารา อะนิจจา - สังขารคือร่างกายจิตใจ , แลรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ,
มันไม่เที่ยง , เกิดขึ้นแล้วดับไปมีแล้วหายไป

สัพเพ สังขารา ทุกขา - สังขารคือร่างกายจิตใจ , แลรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ,
มันเป็นทุกข์ทนยาก , เพราะเกิดขึ้นแล้วแก่เจ็บตายไป

สัพเพ ธัมมา อะนัตตา - สิ่งทั้งหลายทั้งปวง , ทั้งที่เป็นสังขารแลมิใช่สังขารทั้งหมดทั้งสิ้น , ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน , ไม่ควรถือว่าเราว่าของเราว่าตัวว่าตนของเรา

อะธุวัง ชีวิตัง - ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืน

ธุวัง มะระณัง - ความตายเป็นของยั่งยืน

อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง - อันเราจะพึงตายเป็นแท้

มะระณะปะริโยสานัง เม ชีวิตัง - ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ

ชีวิตัง เม อะนิยะตัง - ชีวิตของเราเป็นของไม่เที่ยง

มะระณัง เม นิยะตัง - ความตายของเราเป็นของเที่ยง

วะตะ - ควรที่จะสังเวช

อะยัง กาโย อะจิรัง - ร่างกายนี้มิได้ตั้งอยู่นาน

อะเปตะวิญญาโณ - ครั้นปราศจากวิญญาณ

ฉุฑโฑ - อันเขาทิ้งเสียแล้ว

อะธิเสสสะติ - จักนอนทับ

ปะฐะวิง - ซึ่งแผ่นดิน

กะลิงคะรัง อิวะ - ประดุจดังว่าท่อนไม้และท่อนฟืน

นิรัตถัง - หาประโยชน์มิได้

อะนิจจา วะตะ สังขารา - สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ

อุปปาทะวะยะธัมมิโน - มีความเกิดขึ้นแล้วมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

อุปปัชชิต๎วา นิรุชฌันติ - ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป

เตสัง วูปะสะโม สุโข - ความเข้าไปสงบระงับสังขารทั้งหลาย , เป็นสุขอย่างยิ่ง

สัพเพ สัตตา มะรันติ จะ -สัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวงกำลังตายอยู่

มะริงสุ จะ มะริสสะเร -ที่ตายแล้ว และกำลังจะตาย

ตะเถวะหัง มะริสสามิ -เราก็จักตายอย่างนั้นเหมือนกัน

นัตถิ เม เอตถะ สังสะโย -ความสงสัยในความตายนี้, ย่อมไม่มีแก่เราเลย ฯ

ขอขอบคุณที่มา  :  http://www.watpamahachai.net

บทสวดมนต์ คำบูชาพระรัตนตรัย

บทสวดมนต์ คำบูชาพระรัตนตรัย




โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
- พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม 
- พระธรรมคือศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด,
ตรัสไว้ดีแล้ว

สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
- พระสงฆ์คือผู้ทรงธรรมวินัย, ซึ่งเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้นหมู่ใด, เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
- ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, พร้อมทั้งพระสัทธรรมและพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลาย,
ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้, ข้าพเจ้าได้ยกขึ้นประดิษฐานไว้ดีแล้วในที่อันสมควรอย่างยิ่งเช่นนี้

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
- พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, แม้ปรินิพพานนานแล้วก็ตาม,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, ซึ่งยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่แด่สาธุชนทั้งหลาย

ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา, อิเม สักกาเร
ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
- ขอจงทรงรับเครื่องสักการะบรรณาการ, ของคนยากทั้งหลาย
เหล่านี้ด้วย, เพื่ออนุเคราะห์แด่ประชุมชนผู้เกิดแล้วในภายหลังด้วย

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
- เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, สิ้นกาลนานเทอญฯ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
- พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์
สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
- ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม 
- พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง นะมัสสามิ .
- ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
- พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว

สังฆัง นะมามิ.
- ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

ปุพพภาคนมการ
( หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
- ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

อะระหะโต ,
- ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทธัสสะ.
- ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

( กล่าว ๓ ครั้ง)

ที่มา : www.watpamahachai.net

บทสวดมนต์ สมาธิสูตร

สมาธิสูตร




( นำ) หันทะ    มะยัง    สะมาธิสุตตะปาฐัง    ภะณามะ    เส ฯ

(รับ) สะมาธิง    ภิกขะเว   ภาเวถะ   อัปปะมาณัง    นิปะกา    ปะติสสะตา ,
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!, เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน,
มีสติเจริญสมาธิ, อันหาประมาณมิได้เถิด

สะมาธิง   ภิกขะเว   ภาวะยะตัง อัปปะมาณัง   นิปะกานัง, 
ปะติสสะตานัง ปัญจะ   ญาณานิ   ปัจจัตตัญเญวะ   อุปปัชชันติ
- เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน, มีสติเจริญสมาธิ,
อันหาประมาณมิได้อยู่, ญาณ ๕ อย่าง  ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน,

กะตะมานิ   ปัญจะ            - ญาณ ๕ อย่าง เป็นไฉน ?,

อะยัง    สะมาธิ    ปัจจุปปันนะสุโข    เจวะ    อายะติง จะ,
สุขะวิปาโกติ ปัจจัตตัญเญวะ   ญาณัง    อุปปัชชะติ
- คือญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า, สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน, และมีสุขเป็นวิบากต่อไป

อะยัง    สะมาธิ   อะริโย    นิรามิโสติ ปัจจัตตัญเญวะ ญาณัง    อุปปัชชะติ
- ย่อมรู้เฉพาะตนว่า, สมาธินี้เป็นอริยะไม่แอบอิงอามิส

อะยัง    สะมาธิ   อะกาปุริสะเสวิโตติ    ปัจจัตตัญเญวะ ญาณัง    อุปปัชชะติ
- ย่อมรู้เฉพาะตนว่า, สมาธินี้อันคนเลวๆ ย่อมเสพไม่ได้เลย

อะยัง   สะมาธิ   สันโต ปะณีโต   ปะฏิปัสสัทธิลัทโธ , เอโกทิภาวาธิคะโต   นะ 
จะ   สะสังขาระนิคคัย๎หะวาริตัปปัตโตติ , ปัจจัตตัญเญวะ     ญาณัง     อุปปัชชะติ
- ย่อมรู้เฉพาะตนว่า, สมาธินี้เป็นของละเอียดประณีต, ได้ด้วยความสงบระงับ,
บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น, และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก,
ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสะสังขาร

โส   โข   ปะนาหัง   อิมัง    สะมาธิง   สะโตวะ    สะมาปัชชามิ,
สะโต   วุฏฐะหามีติ ปัจจัตตัญเญวะ    ญาณัง    อุปปัชชะติ 
- ย่อมรู้เฉพาะตนว่า, เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้,  มีสติออกจากสมาธินี้ได้

สะมาธิง     ภิกขะเว    ภาเวถะ   อัปปะมาณัง    นิปะกา    ปะติสสะตา
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!, เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน, มีสติเจริญสมาธิ, อันหาประมาณมิได้เถิด

สะมาธิง    ภิกขะเว    ภาวะยะตัง   อัปปะมาณัง    นิปะกานัง ปะติสสะตานัง
- เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน,  มีสติเจริญสมาธิ, อันหาประมาณมิได้อยู่

อิมานิ    ปัญจะ   ญาณานิ   ปัจจัตตัญเญวะ   อุปัชชันตีติ ฯ
- ญาณคือความรู้แจ้งทั้ง ๕  ประการนี้แล,  ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ, ดังนี้ ฯ

(ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๒/๒๗)

ที่มา : watpamahachai.net

อานิสงส์กฐินทานในพระไตรปิฏก​

อานิสงส์กฐินทานในพระไตรปิฏก​

......ในครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มาอุบัติในโลก มีบุรุษเข็ญใจไร้ญาติพี่น้องทั้งทรัพย์

สินเงินทองก็ขาดแคลนอาศัยเลี้ยงชีพอยู่ในเมืองพาราณสี ไปหาสิริธรรมมหาเศรษฐีมีทรัพย์

๘๐ โกฏิ แล้ววิงวอนขออยู่เป็นลูกจ้าง ท่านเศรษฐีมีความสงสารจึงถามว่ามีความรู้อะไรบ้าง บุรุษเข็ญ​

ใจบอกว่า ข้าพเจ้าไม่มีความรู้อะไรเลย มีแต่กำลังกายเท่านั้นท่านเศรษฐีกล่าวว่าถ้าเช่นนั้นเจ้าจง​

ไปรักษาหญ้าเราจะให้ข้าววันละหม้อ ​




ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา บุรุษก็รักษาหญ้าจนมีชื่อว่า ติณณปาละ อยู่มาวันหนึ่ง ติณณปาละมาคิดว่าตัวเรานี้ ในชาติปางก่อนคงจะไม่ได้ทำบุญกุศลอันใดไว้เลย มาถึงชาติ นี้เราจึงได้ลำบากยากแค้น แม้แต่อาหารจะรับประทานไปวันหนึ่งๆ ก็ทั้งยาก แต่นี้ต่อไปเราจะต้องขวนขวายให้ทานทุก ๆ วัน เมื่อมีความตั้งใจอย่างนี้แล้ว ก็แบ่งอาหารออกเป็น ๒ ส่วน ๆ หนึ่ง ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ อีกส่วนหนึ่งไว้บริโภคเองทำอย่างนี้มาตลอดทุก ๆ วันมิได้ขาดด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ติณณปาละทำนั้น ก็ทราบไปถึงสิริธรรมเศรษฐีผู้เป็นนายจ้างจึงสั่งให้เพิ่มอาหารขึ้นอีกเป็น ๓ ส่วน ​



ติณณปาละก็แบ่งออกไปอีกเป็น ๓ ส่วน ​
ส่วนหนึ่งถวายภิกษุสามเณร​
อีกส่วนหนึ่งให้แก่ยาจก
อีกส่วนตนเก็บไว้บริโภค ทำอยู่อย่างนี้เป็นลำดับมา​


จนถึงฤดูออกพรรษาประชาชนและท่านสิริธรรมเศรษฐีได้พากันทำกฐินทานเพื่อจะถวายแก่ภิกษุสงส์ ผู้อยู่จำพรรษาด้านไตรมาส สามเดือน ติณณปาละได้ทราบ ข่าวดังนี้แล้วก็เข้าไปหาสิริธรรมเศรษฐีถามถึง ​
อานิสงส์ผลของกฐินทานว่าการถวายทานอย่างนี้ คงจะมี ผลเป็นอันมาก เพราะประชาชนไม่นิ่งนอนใจ ช่วยกันหลายคนเศรษฐีบอกถึงคุณานุภาพ ของกฐินทานโดยละเอียดจนติณณปาละเกิดศรัทธาแก่กล้า ก็ถามว่าอีกเมื่อไรจะถึงกำหนดถวาย เศรษฐีบอกว่าอีก ๗ วัน


ติณณปาละก็กลับไปสู่ที่อยู่ของตนก็คิดว่าจะนำของไปเห็นวัตถุทานก็ไม่มี เห็นอยู่แต่ผ้านุ่งผืน​


เดียวเท่านั้นที่จะนำเข้าเป็นส่วนกฐินทานได้ เมื่อจะเปลื้องผ้าออกทาน ตัวกิเลสคือความตระหนี่เหนียว​

แน่นก็มากั้นไว้ถ้าสละผ้าผืนนั้นแล้วเราจะไหนนุ่ง มีอยู่ผืนเดียวเท่านี้ ผลที่สุดก็ตัดสินใจเด็ดขาดว่าเรา

จะต้องถวายแน่ ก็เปลื้องผ้ามาทำการซักฟอกและย้อมด้วยน้ำฝาดตนเองก็เอาใบไม้มานุ่ง ป้องกันความ​

อายเท่านั้น แล้วรีบนำผ้าไปหาเศรษฐี มอบอนุโมทนาผ้านั้นเข้าเป็นส่วนบริวารของกฐินนั้น เศรษฐีก็รับ​

อนุโมทนานำผืนของติณณปาละเข้าเป็นส่วนผ้าบริวาร ซึ่งยังขาดอยู่ผืนหนึ่งแล้วนำไปถวายแก่พระภิกษุ​สงฆ์ ​


เสียงโกลาหลก็บังเกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยเสียงสาธุการของเทวดาทั่วทั้งอากาศและปฐพี พระมหากษัตริย์ได้ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว ก็ตกพระทัยกลัวว่าจะมีมรณภัยมาถึงพระองค์รับสั่งให้หาปุโรหิตแล้วตรัสถามถึงเหตุโกลาหลอื้ออึงนั้น​


ในครั้งนั้นมีเทวดาองค์หนึ่งที่รักษาอยู่เศวตฉัตรจึงกล่าวว่า " ดูกรมหาบพิตรเสียงโกลาหลอื้ออึ้งนั้น มิใช่ว่าจะมีภัยมาถึงพระองค์นั้นเป็นเสียงของเทวดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุได้สาธุการส่วนบุญของติณณปาละเป็นคนเข็ญใจ รักษาไร่หญ้าของเศรษฐี ได้เปลื้องผ้านุ่งของตนออกมาเข้าส่วนกฐินทาน พระองค์อย่าตกพระทัยไปเลย "

พระราชาทรงทราบเช่นนั้นก็ทรงปีติยินดีรับ สั่งให้หาติณณปาละพร้อมทั้งส่งผ้าสาฏกคูหนึ่ง ราคาผืนละหนึ่งแสนกหาปณะไปพระราชทาน นายติณณปาละก็นุ่งสาฎกเข้าเฝ้าพระราชา


ครั้นพระราชาทรงขอซื้อส่วนกุศลด้วยทรัพย์มีประมาณพันหนึ่ง จนทวีขึ้นเป็นลำดับจนถึงแสนกหาปณะ ติณณปาละ ก็ไม่ขายให้ตามพระประสงค์ได้จึงกราบทูล จะทรงซื้อด้วยทรัพย์นั้นไม่ได้ พระเจ้าข้าถ้าหากพระองค์จะอนุโมทนาส่วนบุญนี้ได้อยู่ พระเจ้าข้า


พระราชามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งให้คนดีฆ้องร้องประกาศตลอดทั้งพระนครแล้วพระราช

ทาน ช้าง ม้า โค กระบือ ข้าทาส ชายหญิงอย่างละหนึ่งร้อย บูชาแก่ติณณปาละเป็นอันมาก แล้วตั้งไว้ ในตำแหน่งเศรษฐีส่วนพ่อค้าคฤหบดีเศรษฐี ก็พากันสละทรัพย์เป็นจำนวนมากออกบูชาคุณติณณปาละเป็นสมบัติมากมาย ที่ติณณปาละได้แล้วก็ด้วยบุญกุศลเจตนาอันแรงกล้า จึงเป็นผลสำเร็จให้ผลทันตาเห็นในปัจจุบันชาติ ครั้นติณณปาละทำกิริยาตายแล้ว ก็ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์



ครั้นถึงพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัส ติณณปาละเทวบุตร ก็จะจุติลงมาอุบัติเป็นราชโอรส แห่งนครมัณฑาลวดี

ครั้นต่อมาเสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดา อยู่ ๔ หมื่นปีแล้วออกบวชเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา สำเร็จพระอรหันต์องค์หนึ่งของพระศรีอริยเมตไตรย์ มีนามว่าติณณปาละเถระ ดังนี้เป็นต้น ​


ตสฺมา สาธโว เมื่อสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายที่ทราบรู้เหตุรู้ผลของการถวายผ้ากฐินทานว่ามีอานิสงส์อย่างไรแล้วก็ขออย่าให้ท่านทั้งหลายจงอย่าเป็นผู้ประมาท ในเมื่อถึงคราวกาลสมัยที่จะถวายก็ควรจะถวายก็ควรทำจะเป็น ของมากน้อยอย่างไรไม่สำคัญ สำคัญอยู่ว่าให้ทำและทำด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง แล้วตั้งความปรารถนาของตนไว้ด้วยดี มิใช่ว่าทำเห็นแต่หน้าหา ความศรัทธามิได้ ทรัพย์ที่เราสละไปก็จะไม่ได้ผลเต็มที่ ถ้าเราทำด้วยความเต็มใจแล้วถึงแม้จะน้อยก็ ย่อมมีอานิสงส์มากดังเรื่องติณณปาละ ​

ที่มา : https://palungjit.org



พระคาถา จุลชัยยะมงคลคาถา ชัยน้อย นะโมเม







นะโม เม พุทธะ เตชัสสา ระตะนะตะยะ ธัมมิกา
เตชะ ประสิทธิ ปะสีเทวา นารา ยะปะระเมสุรา
สิทธิ พรัหมา จะ อินทา จะ จะตุโลกา คัมภี รักขะกา
สะมุทา ภูตุง คังกา จะ สะพรัหมา ชัยยะ ประสิทธิ ภะวันตุเต

ชัยยะ ชัยยะ ธ รณี ธ รณี อุทะธิ อุทะธิ นะ ทิ นะ ที
ชัยยะ ชัยยะ คะคน ละตน ละนิสัย นิรัย สัยเสน นะ เมรุราช ชะพล น ระชี
ชัยยะ ชัยยะ คัมภี ระ โสมภี นาเคน ทะนาคี ปิ ศาจ จะ ภู ตะกาลี
ชัยยะ ชัยยะ ทุน นิมิต ตะ โรคี ชัยยะ ชัยยะ สิงคีสุทา ทา นะมุขะชา

ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ศาตรา ชัยยะ ชัยยะ จัม ปาทินา คะ กุละคัณโถ

ชัยยะ ชัยยะ คัชชะคน นะตุรง สุกะระภุ ชง สีหะ เพียคฑะ ทีปา
ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ยาตรา ชิตะ ชิตะ เสน นารี ปุนะสุทธิ น ระดี

ชัยยะ ชัยยะ สุขา สุขา ชีวี ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี ตะเล สะทา สุชัยยา
ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี สาน ติน สะทา

ชัยยะ ชัยยะ มังกะ ราชรัญญา ภะวัคเค ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะยักเข

ชัยยะ ชัยยะ รักขะเส สุระภุ ชะเตชา ชัยยะ ชัยยะ พรัหมเมณ ทะคะณา

ชัยยะ ชัยยะ ราชา ธิราช สาชชัย ชัยยะ ชัยยะ ปะฐะวิง สัพ พัง

ชัยยะ ชัยยะ อะระหันตา ปัจเจ กะพุทธะสา วัง ชัยยะ ชัยยะ มะเห สุโร หะโร หะริน เทวา

ชัยยะ ชัยยะ พรัหมา สุรักโข ชัยยะ ชัยยะ นาโค วิรุฬ หะโก วิรู ปักโข จัน ทิมา ระวิ

อินโท จะ เวนะ เตยโย จะกุเว โร วะรุโณ ปิ จะ
อัคคิ วาโย จะ ปา ชุณโห กุมาโร ธะตะรัฏฏะโก
อัฏฐา ระสะ มะหา เทวา สิทธิตา ปะสะอา ทะโย
อิสิ โน สา วะกา สัพ พา ชัย ยะ ราโม ภะวัน ตุเต
ชัยยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะ ทะสะปาโล จะ ชัยยะ กัง
เอเต นะ ชัยยะ เต เชนะ ชัยยะ โสตถี ภะวันตุ เต
เอเตนะ พุทธะ เต เชนะ โหตุ เต ชัยยะมัง คะลัง

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยะตะทา พรัหมะคะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัย ยะตะทา อินทะ คะณา มะเห สิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา เทวะ คะณา มะเห สิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มันเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา สุปัณณะ คะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มา รัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา นาคะ คะณา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตาชัยยะตะทา สะพรัหมะคะณา มะเหสิโน

ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก กะยานัง นันทิ วัฑฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมัง คะเล
อะปะรา ชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปก ขะเร
อะภิเสเก สัพ พะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโม ทะติ
สุนักขัตตัง สุมัง คะลัง สุปะภาตัง สุหุฏ ฐิตัง

สุกขะโน สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณีธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภัณตัตเถ ปะทักขิเณ

เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสา สะเน
อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิญาติภิ
สุณันตุ โภนโต เยเทวา อัสมิง ฐาเน อะธิคะตา
ฑีฆายุกา สะทา โหนตุ สุขิตา โหนตุ สัพพะทา
รักขันตุ สัพพะสัต ตานัง รักขันตุ ชินะสาสะนัง

ยา กาจิ ปัตถะนา เตสัง สัพเพ ปูเรนตุ มะโนระถา
ยุตตะกาเล ปะวัสสันตุ วัสสัง วัสสา วะราหะกา
โรคา จุปัททะวา เตสัง นิวาเรนตุ จะ สัพ พะทา
กายาสุขัง จิตติสุขัง อะระหันตุ ยะถาระหัง

อิติ จุลละชัยยะสิทธิมังคะลัง สะมันตัง

คำแปล

บทสวดพรรณนาชัยชนะของพระพุทธเจ้า เหนือหมู่มารทั้งปวง
ทั้งล่วงพ้นอำนาจท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ และเป็นชัยชนะเหนือเทวดาทุกๆ ชั้น
ทั้งเป็นชัยชนะอมนุษย์ ยักษ์ ภูติผีปีศาจ อาวุธทั้งหลายก็ทำอันตรายไม่ได้
ทั้งชัยชนะพญานาคราช ทั้งพระจันทร์ พระอาทิตย์ พระอินทร์ พระพรหม
ทั้งลม และไฟ ก็ทำอันตรายไม่ได้
ขอเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ๑๘ พระองค์ จงมารักษา
ทั้งพระฤาษี พระสาวก พระธรรม พระสงฆ์ จงมาอวยชัย
ขอความสวัสดีมีชัยจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระรัตนตรัย
ในครั้งนั้น มารผู้ชั่วช้าได้พ่ายแพ้ต่อพระรัศมีของพระพุทธเจ้า
ครั้นแล้วพระองค์ก็ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ
พระพรหม พระอินทร์ เทวดาทั้งหลาย ผู้มีเดชานุภาพมาก
ทั้งหมู่พญานาค หมู่พญาครุฑผู้มีศักดายิ่งใหญ่
ต่างชื่นชมชอบใจในชัยชนะของพระพุทธเจ้า ต่อหมู่มาร ณ โพธิบัลลังก์
เป็นชัยชนะที่เป็นอุดมมงคล ทั้งเป็นฤกษ์ดียามดี
และขณะดีที่ได้ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ขององค์สม เด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขอความสวัสดีมีชัย จงมีแก่ท่านด้วยเดชแห่งคุณพระรัตนตรัย
ขอให้ท่านจงได้รับประโยชน์และความสุข
ทั้งเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา ขอให้มีอายุยืนยาว
ปรารถนาสิ่งหนึ่งประการใด ขอให้ได้ดังใจประสงค์
และปราศจากโรคภัยทั้งหลายทั้งปวง ทั้งห่างไกลความทุกข์
ขอให้ประสบสุขทั้งกายและใจ

(ขอขอบพระคุณผู้ที่จัดทำ แปล พระคาถานี้ทุกท่าน ความเป็นสิริมงคล จงเกิดกับทุกท่านนานับประการ )

พระคาถากำลังวันเกิด

พระคาถากำลังวันเกิด



ผู้เกิดวันอาทิตย์ (สวดวันละ ๖ จบ)
      อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
      อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ

ผู้เกิดวันจันทร์ (สวดวันละ ๑๕ จบ) 
      ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
      ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ
สัทโธ ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
      ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

ผู้เกิดวันอังคาร  (สวดวันละ ๘ จบ) 
ผู้เกิดวันอังคาร (สวดวันละ ๘ จบ)
ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน
ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา
สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา
คะณะนา นะ จะ มุตตานัง ปะริตันตัมภะณามะ เห ฯ

ผู้เกิดวันพุธ (สวดวันละ ๑๗ จบ) 
สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ
ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง
สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

ผู้เกิดวันพุธกลางคืน (สวดวันละ ๑๒ จบ) 
กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ ฯ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตม๎หิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติฯ

ผู้เกิดวันพฤหัสบดี (สวดวันละ ๑๙ จบ) 
ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง
ยัสสะ เตเชนะ ทาวัคคิ มะหาสัตตัง วิวัชชะยิ
เถรัสสะ สารีปุตตัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง
กัปปัฏฐายิ มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณานะ เห ฯ

ผู้เกิดวันศุกร์ (สวดวันละ ๒๑ จบ) 
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

ผู้เกิดวันเสาร์ (สวดวันละ ๑๐ จบ) 
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ
สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ

http://www.watpamahachai.net/watpamahachai-52.htm

พระคาถามหาศักดิ์สิทธิ์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

พระคาถามหาศักดิ์สิทธิ์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต





ตั้งนะโมฯ 3จบแล้วว่า

อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ปัญจมาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ เอเตนะ สัจจะวัตเชนะ โหตุเม ชะยะมังคะลัง นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา ภูริทัตโต มะหาเถโร อะหังวันทามิ สัพพะทา

คำแปล(เพื่อความเข้าใจ)

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชนะมารทั้งห้า ทรงตรัสรู้พระอริยะสัจสี่อันประเสริฐ ได้ด้วยพระองค์เอง ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เพื่อช่วยเหลือสัตว์โลกทั้งหลายให้พ้นทุกข์ ด้วยอำนาจสัจจะวาจาอันประเสริฐนี้ ขอชัยมงคลคือความชนะต่อสิ่งไม่ดีทั้งปวงและความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้าน จงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรม อันเป็นเครื่องให้ตรัสรู้ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตมหาเถระด้วยความเคารพ
ท่านพระอาจารย์เล่าว่า ครานั้นท่านพักอยู่ดอยอะไรจำไม่ได้ แต่เป็นชาวลีซอ ท่านมิได้สนใจเรื่องภายนอก มีแต่พิจารณาธรรมภายใน เช้าวันหนึ่งไปบิณฑบาต สังเกตเห็นชาวบ้านจับกลุ่มสนทนากัน มีท่าทางตื่นเต้น ฟังไม่ค่อยรู้ภาษา จำได้แต่ว่า ยาปาน ยาปาน พอกลับถึงวัด ท่านเลยถามเป็นภาษาคำเมืองว่า "เขาพูดอะไรกัน"
ได้ความว่า ทหารยาปาน (ญี่ปุ่น) บุกขึ้นประเทศไทย ที่เมืองสงขลา การรบได้เป็นไปอย่างหนักหน่วง มีแม่ค้าขายของเป็นประจำในตอนเช้าเข้าร่วมรบด้วย มีหัวหน้าชื่อนางสาวกอบกุล พร้อมนักรบแม่ลูกอ่อน มีทั้งแม่ลูกหนึ่งลูกสอง

ท่านได้ฟังแล้วก็ยิ้มกับชาวบ้าน ถามว่า "นักรบแม่ลูกอ่อนก็มีด้วยหรือ"
ต่อมาได้มีคำสั่งจากรัฐบาลถึงกองทัพ ให้ทหารไทยหยุดยิง โดยอ้างว่าญี่ปุ่นไม่ต้องการรบกับไทย ขอผ่านเฉยๆ แต่ทหารไทยประจำแนวหน้า พร้อมนักรบแม่ลูกอ่อนก็ไม่หยุดยิง ไม่ถอย ทหารญี่ปุ่นขึ้นบกไม่ได้ ตายเขียวไปทั้งทะเล ว่าอย่างนั้น จนรัฐบาลต้องส่งกองทหารอื่นเข้าไป สั่งให้ทหารญี่ปุ่นหยุดยิง ขอสับเปลี่ยนกองทหาร ทัพแนวหน้าและนักรบแม่ลูกอ่อน จึงได้หยุดยิงถอยเข้ากรมกอง ฝ่ายกองทัพญี่ปุ่นจึงขึ้นบกได้

ท่านก็ไม่ได้ถือเอาเป็นอารมณ์ คิดว่าเป็นกรรมของสัตว์ เจริญสมณธรรมตามปกติ วันรุ่งขึ้นพอจวนจะสว่าง ท่านวิตกขึ้นว่า
"ชะตากรรมประเทศไทยจะเป็นอย่างไรกันหนอ"
ปรากฏนิมิตว่า
"ประเทศไทยคล้ายภูเขาสูง บนยอดมีธงไทย 3 สี ปลิวสะบัดอยู่ และมีพระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่เหนือธงไทย มองดูตีนเขาลูกนั้น มีธงชาติต่างๆ ปักล้อมรอบเป็นแถวๆ "
ท่านพิจารณาได้ความว่า
"ประเทศไทยไม่เป็นอะไรมาก นอกจากผู้มีกรรมเท่านั้น และต่อไปนานาประเทศจะยอมรับนับถือ เพราะประเทศไทย พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เบียดเบียน รังแกข่มเหงเพื่อนมนุษย์และสัตว์ และประเทศไทยก็ไม่เคยข่มเหงประเทศใด นอกจากป้องกันตัวเท่านั้น ชาติต่างๆ จึงยอมรับนับถือเป็นกัลยาณมิตร"

อีกคราวหนึ่ง ท่านพักที่ดอยมูเซอ วันหนึ่งพระสยามเทวาธิราชพร้อมเทพบริวารได้พากันมากราบนมัสการ ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่ พอรายงานตัวเสร็จ ท่านถามวัตถุประสงค์
พระสยามเทวาธิราชตอบว่า "เวลานี้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้มาทิ้งระเบิดที่กรุงเทพฯ อย่างหนักหน่วง พวกข้าพเจ้าป้องกันเต็มที่"
หลวงปู่มั่น ถามว่า "มีคนบาดเจ็บล้มตายไหม"
พระสยามเทวาธิราช ตอบว่า "มี"
หลวงปู่มั่น ถามว่า"ทำไมไม่ช่วย"
ตอบว่า "ช่วยไม่ได้ เพราะเขามีกรรมเวรกับฝ่ายข้าศึก จะช่วยได้แต่ผู้ไม่มีกรรม สถานที่สำคัญ และพระพุทธศาสนาเท่านั้น"
หลวงปู่มั่น ถามว่า "มานี้ประสงค์อะไร"
ตอบว่า "ขอให้ท่านบอกคาถาปัดเป่าลูกระเบิดไม่ให้ตกถูกที่สำคัญด้วย"
หลวงปู่มั่นจึงกำหนดพิจารณาหน่อยหนึ่งได้ความว่า

"นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา"
ที่มา : https://palungjit.org

.

ป้ายกำกับ