บทสวดกรวดน้ำ (อิมินา)

บทสวดกรวดน้ำ (อิมินา)



(บทนำ) หันทะ มะยัง อุททิสะนาธิฏฐานะ คาถาโย ภะณามะ เส ฯ

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา
อาจะริยูปะการา จะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา
สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ
พ์รัห์มะมารา จะ อินทา จะตุ- โลกะปาลา จะ เทวะตา
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
สุขัญจะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะเฉทะนัง
เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
นัสสันตุ สัพพะทาเยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา
มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม
พุทธาทิปะวะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง
เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ

ความหมายบทกรวดน้ำ (อิมินา)

ในวรรคที่1 เป็นการสวดไปให้แก่บุพการีชน คนมีอุปการะทั้งหลาย เช่น อุปัชฌาย์ อาจารย์ พ่อแม่ เป็นต้น รวมถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระราชา พระพรหม พระอินทร์ ท้าวจตุโลกบาล เทวดาทั้งหลาย พระยม ญาติสนิท มิตรสหาย และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ให้ได้รับส่วนบุญกุศลโดยทั่วกัน ดังความที่ท่านได้ประพันธ์เอาไว้ว่า

ด้วยบุญนี้ อุทิศนี้ อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ
สูรย์จันทร์ แลราชา ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ
พรหม มาร และอินทราช ทั้งทวยเทพ และโลกบาล
ยมราช มนุษย์มิตร ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ
ขอให้ เป็นสุขศานติ์ ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน
บุญผอง ที่ข้าทำ จงช่วยอำ นวยศุภผล
ให้สุข สามอย่างล้น ให้ลุถึง นิพพานพลันฯ

ในวรรคที่ 2 เป็นการสวดไปให้แก่ตนเอง ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบกุศล ให้บรรลุทันทีซึ่งการตัดตัณหาอุปทาน ธรรมอันชั่วในสันดาน ขอจงพินาศไปหมดตราบเท่าถึงนิพพานสิ้นกาลทุกเมื่อ แม้หากยังไม่บรรลุคุณวิเศษใดๆ ก็ขอให้เป็นผู้มีจิตซื่อตรงดำรงสติปัญญาไว ชาญฉลาด ให้มีความเพียรแก่กล้า สามารถขัดเกลากิเลสให้สูญหายไปได้ ดังความที่ท่านประพันธ์ต่อจากวรรคที่ 1 ว่า

ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ แลอุทิศ ให้ปวงสัตว์
เราพลันได้ ซึ่งการตัด ตัวตัณหา อุปาทาน
สิ่งชั่ว ในดวงใจ กว่าเราจะ ถึงนิพพาน
มลายสิ้น จากสันดาน ทุกๆภพ ที่เราเกิด
มีจิตตรง และสติ ทั้งปัญญา อันประเสริฐ
พร้อมทั้ง ความเพียรเลิศ เป็นเครื่องขูด กิเลสหาย
โอกาส อย่าพึงมี แก่หมู่มาร สิ้นทั้งหลาย
เป็นช่อง ประทุษร้าย ทำลายล้าง ความเพียรจม
พระพุทธผู้ บวรนาถ พระธรรมที่ พึ่งอุดม
พระปัจเจกกะพุทธสม ทบพระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง
ด้วยอานุภาพนั้น ขอหมู่มาร อย่างได้ช่อง
ด้วยเดชบุญ ทั้งสิบป้อง อย่าเปิดโอกาสแก่มารเทอญฯ

ก่อนอื่นให้จุดธูป 1 ดอก แล้วอธิษฐานดังนี้ ข้าพเจ้า (ชื่อ...) ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ทำวันนี้ แก่ท่านทั้งหลายจงมารับเอาเถิด จากนั้นก็เอาธูปปักลงไปที่ดิน แล้วรินน้ำลงไปที่โคนธูป พร้อมท่องคาถากรวดน้ำตามไปด้วย ท่องไปจนกว่าจะจบในระหว่างที่ท่องคาถากรวดน้ำ ๆ หมดก่อนไม่เป็นไร ให้ท่องคาถากรวดน้ำไปจนกว่าจะจบบท (ท่องนะโม 3 จบ แล้วท่องคาถากรวดน้ำดังนี้)

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา



วันออกพรรษา   หรือ   วันปวารณาออกพรรษา 
เป็น วันสำคัญ ทาง พุทธศาสนา วันหนึ่งในประเทศไทย
เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุด ระยะเวลาจำพรรษา ๓ เดือน ของพระสงฆ์ เถรวาท 

คำปวารณาออกพรรษา

สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา 
วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ

ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา 
วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ

ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา 
วะทันตุ มัง อายัส๎มันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ ฯ

โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำ สังฆกรรม ปวารณา ออกพรรษาในวันนี้
วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา ๑ ) จะตรงกับ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ( ประมาณ เดือนตุลาคม)
หลังวันเข้าพรรษา ๓ เดือน ตาม ปฏิทินจันทรคติไทย

การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตาม พระวินัย
สำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า " ปวารณา"
  จัดเป็นญัตติกรรมวาจา สังฆกรรม ประเภทหนึ่ง
ที่ถูกกำหนดโดย พระวินัยบัญญัติ ให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษา
อยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือน

และชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค
ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์
ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถนำข้อบกพร่อง
ไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น


ภาพวาด พระพุทธเจ้า
เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์
ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้
และวันถัดจากวันออกพรรษา ๑ วัน (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ )

พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า   ตักบาตรเทโว 
หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า
ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน   พระพุทธเจ้า ได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดา
บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ ๗ เพื่อลงมายัง เมืองสังกัสสนคร พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณ
ปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย

นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๒ ถือเป็นเวลา กฐิน กาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทย
จะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องใน งานกฐินประจำปี ในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศล
ที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง

ความสำคัญ
วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือน (นับแต่ วันเข้าพรรษา)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้"
ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำ สังฆกรรม ใหญ่ เรียกว่า   มหาปวารณา

เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา
พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้
ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย

ประเพณีเนื่องด้วยการออกพรรษาในประเทศไทย
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
เทโวโรหนสถูป   เมืองสังกัสสะ แคว้นปัญจาละ   สถานที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงสถานที่พระพุทธเจ้า
เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปัจจุบันมีเทวาลัยของฮินดูตั้งอยู่ด้านบนสถูป

เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกหลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่ในดาวดึงส์พิภพถ้วนไตรมาส
และการตรัสอภิธรรมเทศนาโปรดพระมารดาในเทวโลกนั้นมาตลอดเวลา ๓ เดือน

พออออกพรรษาแล้วก็เสด็จมายังโลกมนุษย์โดยเสด็จมาทางบันไดสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสนคร
อันตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี วันที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า “ วันเทโวโรหณะ “
ตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน ๑๑ วันนั้นถือกันว่าเป็นวันบุญกุศล

ที่สำคัญวันหนึ่งของพุทธบริษัท โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ” วันพระเจ้าเปิดโลก ”
รุ่งขึ้นจากวันนั้นเป็นวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ จึงมีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ กันเป็นการใหญ่

เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้าโดยพุทธบริษัทได้พร้อมใจกัน
ใส่บาตรแด่พระสงฆ์ที่อยู่ทั้งหมดในที่นั้นกับทั้งพระพุทธองค์ด้วยโดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน
ภัตตาหารที่ถวายในวันนั้นส่วนใหญ่เป็นเสบียงกรัง ของตนตามมีตามได้ปรากฏได้มีการใส่บาตร
ในวันนั้นแออัดมาก ผู้คนเข้าไม่ถึงพระสงฆ์จึงเอาข้าวสาลีของตนห่อบ้าง ทำเป็นปั้นๆบ้าง
แล้วโยนเข้าถวายพระนี่เองจึงเป็นเหตุหนึ่งที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยนเป็นส่วนสำคัญ
ของการตักบาตรเทโวโรหณะเป็นประเพณีว่าถึงวันแรม๑ค่ำเดือน๑๑ทุกๆปีควร ทำบุญตักบาตร
ให้เหมือนครั้งดั้งเดิมเรียกว่า   ตักบาตรเทโวโรหณะ   จนทุกวันนี้

ประเพณีเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก
การเทศน์มหาชาตเทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ
ส่วนมากจัดให้มีในวัดเป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกตินิยมให้มีหลังฤดูทอดกฐิน
ผ่านไปแล้วจนตลอดฤดูเหมันต์ นิยมจัดเป็นงานสองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์วันหนึ่ง
และวันเทศน์จตุราริยสัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดกอีกวันหนึ่ง
วันแรกเริ่มงานด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระตามจำนวนที่เห็นสมควร
แล้วเริ่มเทศน์เวสสันดรชาดก ตามแบบเทศน์ต่อกันไปจนสุด ๑๓ กัณฑ์ ถึงเวลากลางคืน
บางแห่งจัดปีพาทย์ประโคมระหว่างกัณฑ์หนึ่ง ๆ ตลอดทั้ง ๑๓ กัณฑ์ด้วย

ประเพณีถวายผ้ากฐินทาน 
เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด
ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง คำว่า   กฐิน   แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง
สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน

แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ
เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน
ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น

พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ
แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร
อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน
โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์
(ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

การประกอบพิธีทางศาสนาในวันออกพรรษาในประเทศไทย
พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษา
และตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนยังนิยมร่วมกันทอด กฐิน 
ในระยะเวลา ๑ เดือนหลังออกพรรษา มีทั้ง   จุลกฐิน   และ   มหากฐิน   อย่างไรก็ดี ในแต่ละท้องถิ่นยังมีประเพณีอื่นๆ
ที่น่าสนใจ เช่น การแข่งเรือ การ เทศน์มหาชาติ   เป็นต้น

ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร
จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟัง พระธรรมเทศนา   ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ
ข้าวต้มมัดไต้ และ ข้าวต้มลูกโยน   และการร่วมกุศล " ตักบาตรเทโว" ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑

ในหมู่ชาวไทยและชาวลาวริมฝั่งแม่น้ำโขง เชื่อว่าในช่วงวันออกพรรษา
จะเกิดปรากฏการณ์ บั้งไฟพญานาค ขึ้นในเวลากลางคืน ที่ จังหวัดหนองคาย อีกด้วย

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
๑.ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
๒.ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
๓.ร่วมกิจกรรม "ตักบาตรเทโว" (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ )
๔.ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
และสถานที่ราชการและประดับธงชาติ และธงธรรมจักร ตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
๕.ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

เชิงอรรถ
หมายเหตุ ๑:   ออกปุริมพรรษา คือการออกพรรษาต้น
เป็นการเข้าและออกพรรษาตามปกติตามพระวินัยพุทธานุญาต
พระสงฆ์ที่ออกพรรษาต้นจะได้รับกรานกฐินและได้รับอานิสงส์กฐิน
แต่สำหรับพระสงฆ์ที่ออกพรรษาในกรณียกเว้นคือ ออกปัจฉิมพรรษา จ
ะไม่มีโอกาสได้รับกฐินและอานิสงส์กฐิน เพราะจำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙
จึงต้องจำครบ ๓ เดือน และต้องออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นเวลาหมดกฐินกาลพอดี
(วันรับกฐินได้จะนับวันวันถัดจากวันออกพรรษาแล้ว ๑ วัน)

ขอบคุณข้อมูลจาก :  dhammathai.org, วิกิพีเดีย , watpamahachai.net

บทสวดมนต์ บทพิจารณาสังขาร

บทพิจารณาสังขาร




(หันทะ มะยัง ธัมมะสังเวคะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)

สัพเพ สังขารา อะนิจจา - สังขารคือร่างกายจิตใจ , แลรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ,
มันไม่เที่ยง , เกิดขึ้นแล้วดับไปมีแล้วหายไป

สัพเพ สังขารา ทุกขา - สังขารคือร่างกายจิตใจ , แลรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ,
มันเป็นทุกข์ทนยาก , เพราะเกิดขึ้นแล้วแก่เจ็บตายไป

สัพเพ ธัมมา อะนัตตา - สิ่งทั้งหลายทั้งปวง , ทั้งที่เป็นสังขารแลมิใช่สังขารทั้งหมดทั้งสิ้น , ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน , ไม่ควรถือว่าเราว่าของเราว่าตัวว่าตนของเรา

อะธุวัง ชีวิตัง - ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืน

ธุวัง มะระณัง - ความตายเป็นของยั่งยืน

อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง - อันเราจะพึงตายเป็นแท้

มะระณะปะริโยสานัง เม ชีวิตัง - ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ

ชีวิตัง เม อะนิยะตัง - ชีวิตของเราเป็นของไม่เที่ยง

มะระณัง เม นิยะตัง - ความตายของเราเป็นของเที่ยง

วะตะ - ควรที่จะสังเวช

อะยัง กาโย อะจิรัง - ร่างกายนี้มิได้ตั้งอยู่นาน

อะเปตะวิญญาโณ - ครั้นปราศจากวิญญาณ

ฉุฑโฑ - อันเขาทิ้งเสียแล้ว

อะธิเสสสะติ - จักนอนทับ

ปะฐะวิง - ซึ่งแผ่นดิน

กะลิงคะรัง อิวะ - ประดุจดังว่าท่อนไม้และท่อนฟืน

นิรัตถัง - หาประโยชน์มิได้

อะนิจจา วะตะ สังขารา - สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ

อุปปาทะวะยะธัมมิโน - มีความเกิดขึ้นแล้วมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

อุปปัชชิต๎วา นิรุชฌันติ - ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป

เตสัง วูปะสะโม สุโข - ความเข้าไปสงบระงับสังขารทั้งหลาย , เป็นสุขอย่างยิ่ง

สัพเพ สัตตา มะรันติ จะ -สัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวงกำลังตายอยู่

มะริงสุ จะ มะริสสะเร -ที่ตายแล้ว และกำลังจะตาย

ตะเถวะหัง มะริสสามิ -เราก็จักตายอย่างนั้นเหมือนกัน

นัตถิ เม เอตถะ สังสะโย -ความสงสัยในความตายนี้, ย่อมไม่มีแก่เราเลย ฯ

ขอขอบคุณที่มา  :  http://www.watpamahachai.net

บทสวดมนต์ คำบูชาพระรัตนตรัย

บทสวดมนต์ คำบูชาพระรัตนตรัย




โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
- พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม 
- พระธรรมคือศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด,
ตรัสไว้ดีแล้ว

สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
- พระสงฆ์คือผู้ทรงธรรมวินัย, ซึ่งเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้นหมู่ใด, เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
- ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, พร้อมทั้งพระสัทธรรมและพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลาย,
ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้, ข้าพเจ้าได้ยกขึ้นประดิษฐานไว้ดีแล้วในที่อันสมควรอย่างยิ่งเช่นนี้

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
- พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, แม้ปรินิพพานนานแล้วก็ตาม,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, ซึ่งยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่แด่สาธุชนทั้งหลาย

ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา, อิเม สักกาเร
ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
- ขอจงทรงรับเครื่องสักการะบรรณาการ, ของคนยากทั้งหลาย
เหล่านี้ด้วย, เพื่ออนุเคราะห์แด่ประชุมชนผู้เกิดแล้วในภายหลังด้วย

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
- เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, สิ้นกาลนานเทอญฯ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
- พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์
สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
- ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม 
- พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง นะมัสสามิ .
- ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
- พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว

สังฆัง นะมามิ.
- ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

ปุพพภาคนมการ
( หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
- ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

อะระหะโต ,
- ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทธัสสะ.
- ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

( กล่าว ๓ ครั้ง)

ที่มา : www.watpamahachai.net

บทสวดมนต์ สมาธิสูตร

สมาธิสูตร




( นำ) หันทะ    มะยัง    สะมาธิสุตตะปาฐัง    ภะณามะ    เส ฯ

(รับ) สะมาธิง    ภิกขะเว   ภาเวถะ   อัปปะมาณัง    นิปะกา    ปะติสสะตา ,
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!, เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน,
มีสติเจริญสมาธิ, อันหาประมาณมิได้เถิด

สะมาธิง   ภิกขะเว   ภาวะยะตัง อัปปะมาณัง   นิปะกานัง, 
ปะติสสะตานัง ปัญจะ   ญาณานิ   ปัจจัตตัญเญวะ   อุปปัชชันติ
- เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน, มีสติเจริญสมาธิ,
อันหาประมาณมิได้อยู่, ญาณ ๕ อย่าง  ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน,

กะตะมานิ   ปัญจะ            - ญาณ ๕ อย่าง เป็นไฉน ?,

อะยัง    สะมาธิ    ปัจจุปปันนะสุโข    เจวะ    อายะติง จะ,
สุขะวิปาโกติ ปัจจัตตัญเญวะ   ญาณัง    อุปปัชชะติ
- คือญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า, สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน, และมีสุขเป็นวิบากต่อไป

อะยัง    สะมาธิ   อะริโย    นิรามิโสติ ปัจจัตตัญเญวะ ญาณัง    อุปปัชชะติ
- ย่อมรู้เฉพาะตนว่า, สมาธินี้เป็นอริยะไม่แอบอิงอามิส

อะยัง    สะมาธิ   อะกาปุริสะเสวิโตติ    ปัจจัตตัญเญวะ ญาณัง    อุปปัชชะติ
- ย่อมรู้เฉพาะตนว่า, สมาธินี้อันคนเลวๆ ย่อมเสพไม่ได้เลย

อะยัง   สะมาธิ   สันโต ปะณีโต   ปะฏิปัสสัทธิลัทโธ , เอโกทิภาวาธิคะโต   นะ 
จะ   สะสังขาระนิคคัย๎หะวาริตัปปัตโตติ , ปัจจัตตัญเญวะ     ญาณัง     อุปปัชชะติ
- ย่อมรู้เฉพาะตนว่า, สมาธินี้เป็นของละเอียดประณีต, ได้ด้วยความสงบระงับ,
บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น, และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก,
ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสะสังขาร

โส   โข   ปะนาหัง   อิมัง    สะมาธิง   สะโตวะ    สะมาปัชชามิ,
สะโต   วุฏฐะหามีติ ปัจจัตตัญเญวะ    ญาณัง    อุปปัชชะติ 
- ย่อมรู้เฉพาะตนว่า, เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้,  มีสติออกจากสมาธินี้ได้

สะมาธิง     ภิกขะเว    ภาเวถะ   อัปปะมาณัง    นิปะกา    ปะติสสะตา
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!, เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน, มีสติเจริญสมาธิ, อันหาประมาณมิได้เถิด

สะมาธิง    ภิกขะเว    ภาวะยะตัง   อัปปะมาณัง    นิปะกานัง ปะติสสะตานัง
- เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน,  มีสติเจริญสมาธิ, อันหาประมาณมิได้อยู่

อิมานิ    ปัญจะ   ญาณานิ   ปัจจัตตัญเญวะ   อุปัชชันตีติ ฯ
- ญาณคือความรู้แจ้งทั้ง ๕  ประการนี้แล,  ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ, ดังนี้ ฯ

(ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๒/๒๗)

ที่มา : watpamahachai.net

ป้ายกำกับ