ดูดวง 99 บาท โหราศาสตร์ ไพ่ยิปซี ความรัก การงาน การเงิน

ค่าครู 99 บาท 

การพยากรณ์ เป็นการทำนายดวงชะตาชีวิต 
เพื่อให้รู้เท่าทัน และเป็นแนวทาง
ในการนำพาชีวิตก้าวไป อย่างมีเหตุผล




ความรัก ,การงาน, การเงิน, ความรัก ,ราศี 12 นักษัตริย์ 
ดูดวง, ทำนายดวง,

ก่อนสวดมนต์ สวดอาราธนาศีล 5 สมาทานศีล 5 ก่อน

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ (สวดคนเดียวลงด้วย "มิ" แต่สวดหลายคนเปลี่ยนเป็น "มะ")
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ
คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ...ต้องกราบให้ประณีตศรีษะติดพื้นนะครับไม่ใช่รีบก้มรีบเงย)
สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)
คำอาราธนาศีล 5
อะหัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ (ถ้าสวดหลายคนเปลี่ยนจาก อะหัง เป็น มะยัง)
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ อะหังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ อะหังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
คำนมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
ไตรสรณคมณ์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(หากใครจะสวดเพิ่มศีลข้ออื่นย่อมดีไม่มีปัญหาครับ)
คำขอขมาพระรัตนตรัย
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ
หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ทุกๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่านได้โปรดงดเว้นโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ

คาถา พระพุทธเจ้าชนะมาร (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)


คาถา พระพุทธเจ้าชนะมาร (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
ตั้งนะโม ๓ จบ   (ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)
ปัจจะมาเรชิโนนาโถ ปัตโตสัมโพธิมุตตะมัง
จะตุสัจจัง ปะกาเสติ ธัมมะจักกังปะวัตตะยิ
เอเตนะสัจจะวัชเชนะ โหตุเมชะยะมังคะลัง.
 ควรสวดเป็นประจำทุกๆวัน หรือ หากอยู่ในภาวะที่ประสบกับอันตราย ประสบกับอุปสรรค ก็สามารถสวดได้ แต่ต้องตั้งจิตให้เป็นสมาธิและให้มีความเชื่อมั่นศรัทธา ว่าอานุภาพที่ศักดิ์สิทธิ์ของคาถาดังกล่าวจะทำให้ผู้สวดรอดพ้นจากอันตราย ชนะอุปสรรคทั้งหลายได้

ดูดวง #ความรัก #การงาน #การเงิน ❤ #ราศีมังกร (Capricorn)ครึ่งปี 2563



#ดูดวงความรัก ราศีธาตุดิน 
#พฤษภ #กันย์ #มังกร 
เดือนธันวาคม 2562



ดูดวง #ความรัก #การงาน #การเงิน 

❤ #ราศีกุมภ์(Aquarius)ครึ่งปี 2563




ดูดวง #ความรัก #การงาน #การเงิน  

❤ #ราศีมังกร (Capricorn)ครึ่งปี 2563



ดูดวง ประจำราศี 

เดือนพฤศจิกายน 2562







คาถาวาจาสิทธิ์พระร่วง

คาถาวาจาสิทธิ์พระร่วง





สำหรับคาถาวาจาสิทธิ์ ผู้ใช้ต้องประพฤติชอบทางวาจาอย่างสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผลได้ง่าย
ด้านล่างเป็นคาถาถอนเมื่อแช่งหรือด่าว่าครับ 🤝
อิมัง สัจจะวาจัง ปัจจุทะรามิ
ทุติ อิมังสัจจะวาจัง ปัจจุทะรามิ
ตะติ อิมังสัจจะวาจัง ปัจจุทะรามิ

ขอขอบคุณ ซินแส.com

บทสวด คาถาบูชา เสด็จพ่อ รัชกาลที่ 5



คาถาบูชา เสด็จพ่อ รัชกาลที่ 5 




เครื่องสักการะให้ถวาย


1. น้ำมะพร้าวอ่อน

2. กล้วยน้ำว้า

3. ทองหยิบ

4. ทองหยอด

5. บรั่นดี

6. ซิการ์

7. ข้าวคลุกกะปิ

8. ดอกกุหลาบสีชมพู


วิธีการบูชา


           สำหรับผู้บูชาครั้งแรกให้จุดธูป 16 ดอก ส่วนครั้งต่อไปจุด 9 ดอก ว่าคาถาดังนี้


พระคาถาบูชาดวงวิญญาณเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5


           "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" (3 จบ) 

           "พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ" (กล่าว 3 ครั้ง)



พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง แบบย่อ

           "พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ" หรือแบบเต็ม "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)



           อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง"

พระคาถาอธิษฐานขอพร แต่ห้ามบนบาน


           "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานัง จงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์ ปินันทิยัง นะมามินัง ความรัก ความยินดี ความเมตตา จงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม

           "ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (5 จบ) ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ...นามสกุล... ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง... อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ) พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่ง ๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่ง ๆ ขึ้น"

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : hilight.kapook.compalungjit.com 

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา  ( บาลี: วสฺส ,  สันสกฤต: วรฺษ ,
อังกฤษ: Vassa,  เขมร: វស្សា ,  พม่า: )
เป็น วันสำคัญในพุทธศาสนา วันหนึ่ง ที่ พระสงฆ์ เถรวาท
จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง
ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา ๓ เดือน
ตามที่ พระธรรมวินัย บัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น
หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า   จำพรรษา
(" พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน , " จำ" แปลว่า พักอยู่)




พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง 
ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การเข้าพรรษาตามปกติ
เริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี
(หรือเดือน ๘ หลัง ถ้ามีเดือน ๘ สองหน)
และสิ้นสุดลงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือ วันออกพรรษา

วันเข้าพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ) หรือเทศกาลเข้าพรรษา 
(วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ )
ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทาง พระพุทธศาสนา ที่สำคัญเทศกาลหนึ่ง
ใน ประเทศไทย  โดยมีระยะเวลาประมาณ ๓ เดือนในช่วง ฤดูฝน

วันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ที่ต่อเนื่อง มาจาก วันอาสาฬหบูชา ( วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาว ไทย
ทั้ง พระมหากษัตริย์ และคนทั่วไป ได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้ว
ตั้งแต่ สมัยสุโขทัย สาเหตุที่ พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง

ตลอด ๓ เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนา
ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหาย
จากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด ๓ เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่
จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระ ธรรม วินัย จากพระสงฆ์
ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง ๓ เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดี
ที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญ ใส่บาตร  ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ
คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย
เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชน

เมื่ออายุครบบวช (๒๐ ปี) จะนิยมถือ บรรพชา อุปสมบท เป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาล ทั้ง ๓ เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาล
ว่า "บวชเอาพรรษา" นอกจากนี้ ในปี   พ.ศ. ๒๕๕๑  รัฐบาล ไทย ได้ประกาศให้วันเข้าพรรษา
เป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ"   โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษา เป็นวันห้ามขายเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ ทั่วราชอาณาจักร   ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุรา
ในวันเข้าพรรษาและในช่วง ๓ เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย
สำหรับในปี   พ.ศ. ๒๕๕๖  นี้ วันเข้าพรรษาตรงกับ   วันอังคาร ที่   ๒๓ กรกฎาคม  ตามปฏิทินสุริยคติ

ขอขอบคุณที่มา : http://www.watpamahachai.net

วันอาสาฬหบูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา   ( บาลี:   อาสาฬหปูชา ;   อักษรโรมัน: Asalha Puja)
เป็น วันสำคัญทางศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท และวันหยุดราชการใน ประเทศไทย 
คำว่า   อาสาฬหบูชา   ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า
"การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตาม ปฏิทิน
ของ ประเทศอินเดีย   ตรงกับ วันเพ็ญ   เดือน ๘ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย
ซึ่งมักจะตรงกับ เดือนมิถุนายน หรือ เดือนกรกฎาคม   แต่ถ้าใน ปีใดมีเดือน ๘ สองหน 
ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน ๘ หลังแทน



วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ ปี ก่อน พุทธศักราช 
ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ
ณ   ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมือง พาราณสี   แคว้นมคธ   อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ   ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร   แก่ปัญจวัคคีย์

การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ ๑ ใน ๕   ปัญจวัคคีย์ 
เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรม
หรือบรรลุเป็น พระอริยบุคคล ระดับ โสดาบัน   ท่านจึงขอ อุปสมบท
ในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา   พระอัญญาโกณฑัญญะ
จึงกลายเป็น พระสงฆ์ องค์แรกในโลก และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรม
เป็นพระอริยบุคคล ( อนุพุทธะ)เป็นคนแรก๖

จึงทำให้ในวันนั้นมี พระรัตนตรัย ครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก
คือ มีทั้ง พระพุทธ   พระธรรม และ พระสงฆ์   ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม"
หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก
และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย

เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน ๘ หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธ เถรวาท มาก่อน
จนมาในปี   พ.ศ. ๒๕๐๑ การบูชาในเดือน ๘ หรือวันอาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย
ตามที่ คณะสังฆมนตรี   ได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
เมื่อ   พ.ศ. ๒๕๐๑   โดยคณะสังฆมนตรีได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทาง พุทธศาสนา
ในประเทศไทย ตามคำแนะนำของ   พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)   โดยคณะสังฆมนตรี
ได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายก เมื่อวันที่   ๑๔ กรกฎาคม   พ.ศ. ๒๕๐๑

กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชา
ขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับ วันวิสาขบูชา
อันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล

อย่างไรก็ตาม วันอาสาฬหบูชาถือเป็นวันสำคัญที่กำหนดให้กับวันหยุดของรัฐ
เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่น ๆ
ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชาเทียบเท่ากับ วันวิสาขบูชา

ความสำคัญ
วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก
จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศ พระพุทธศาสนา แก่ชาวโลก
และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง
แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์

ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์
คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ"
คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้
ซึ่งแตกต่างจาก " พระปัจเจกพุทธเจ้า" ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ
แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้
ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระธรรม"

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่าน โกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรม
สำเร็จพระ โสดาบัน เป็น พระอริยบุคคล คนแรก และ
ได้รับประทานเอหิภิกขุ อุปสมบทเป็น พระสงฆ์ องค์แรกในพระศาสนา
และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรก
ในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก

ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระสงฆ์"
ดังนั้น วันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวัน
ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาดังกล่าว ซึ่งควรพิจารณา
เหตุผลโดยสรุปจากประกาศสำนักสังฆนายกเรื่องกำหนดพิธีอาสาฬหบูชา
ที่ได้สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาไว้โดยย่อ ดังนี้

เหตุการณ์สำคัญ
ที่เกิดในวันอาสาฬหบูชาในพระพุทธประวัติ
หลังจากได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖   ณ   ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แล้ว
พระองค์ได้ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่บริเวณ สัตตมหาสถาน โดยรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลาถึง ๗ สัปดาห์

และในขณะทรงนั่งประทับเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๕ หลังการตรัสรู้ ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ได้ทรงมานั่งคำนึงว่าสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นของลึกซึ้ง คนจะรู้และเข้าใจตามได้ยาก
ตามความในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ว่า

... บัดนี้ ไม่สมควรที่เราจะประกาศธรรมที่เราตรัสรู้ เพราะธรรมที่เราตรัสรู้นั้น
เป็นสิ่งที่คนทั่วไป ที่ถูกราคะ โทสะครอบงำอยู่จะไม่สามารถมองเห็นได้โดยง่าย ,
คนที่ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองมืด (คืออวิชชา) หุ้มไว้มิดทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถ
ที่จะเข้าใจธรรมะของเรา ที่เป็นสิ่งทวนกระแส (อวิชชา) ที่มีสภาพลึกซึ้ง ละเอียดเช่นนี้ได้เลย...

(มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม)

ขอขอบคุณที่มา : http://www.watpamahachai.net ,  dhammathai.org, วิกิพีเดีย

วันวิสาขบูชา หรือ วันเพ็ญเดือน 6

วันวิสาขบูชา หรือ วันเพ็ญเดือน 6 นับเป็นวันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระพุทธเจ้า"
วันวิสาขบูชา (บาลี: วิสาขปุณฺณมีปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดยในประเทศไทย ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] ส่วนในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท[3]
วันวิสาขบูชา นั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จธรรมไชยโย" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน ประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากล" (International Day) ตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 54/112 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือ ความจริงของโลก แก่ชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 นี้ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน.
ความสำคัญในวันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชาเป็นวันที่ระลึกถึงวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนวิสาขมาส (เดือน 6) ตรงกันทั้ง 3 คราว คือ
เช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวันระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ
เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
หลังจากตรัสรู้ ทรงออกประกาศพระธรรมวินัยและโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปี เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็ เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย)
เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญทั้ง 3 เหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นตรงกันในวันเพ็ญ เดือน 6 ชาวพุทธจึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วันวิสาขบูชา" ซึ่งแปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนหก (บางแห่งเรียกว่า วันพระพุทธเจ้า หรือ พุทธชยันตี)
กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ ในวันวิสาขบูชา
ในวันวิสาขบูชานี้ ถือเป็นวันสำคัญยิ่งที่ชาวพุทธทั่วโลกจะมารวมกันจัดพิธีทำบุญใหญ่หรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบำเพ็ญกุศลระลึกถึงพระพุทธเจ้า[4] ซึ่งในฐานะที่วันวิสาขบูชาได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก เมื่อถึงวันวิสาขบูชา องค์การสหประชาชาติจะมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วย เช่น สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีการอัญเชิญพระเจดีย์วิสาขบูชานุสรณ์ สกลโลกประกาศบูชาวันวิสาขะ (ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ) ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติเป็นการถาวร มาประดิษฐานให้ประชาชนสักการบูชา เป็นต้น[45]
สำหรับในประเทศไทย นอกจากพุทธศาสนิกชนจะเข้าวัดบำเพ็ญบุญกุศลถือศีลฟังธรรมแล้ว ยังนิยมปล่อยนกปล่อยปลา และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถในตอนค่ำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาด้วย
วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และตลอดวันจะมีการบำเพ็ญบุญกุศลความดีอื่น ๆ เช่น ตั้งใจรักษาศีล 5 ศีล 8 งดเว้นการทำบาปทั้งปวง ทำบุญถวายสังฆทาน ให้อิสระทาน (ปล่อยนกปล่อยปลา) ฟังพระธรรมเทศนา และไปเวียนเทียนรอบโบสถ์ในเวลาเย็น[46]
โดยก่อนทำการเวียนเทียนพุทธศาสนิกชนควรร่วมกันกล่าวคำสวดมนต์และคำบูชาในวันวิสาขบูชา โดยปกติตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทำวัตรสวดมนต์ก่อนทำการเวียนเทียน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมทำการเวียนเทียนอย่างเป็นทางการ (โดยมีพระภิกษุสงฆ์นำเวียนเทียน) ในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา โดยบทสวดมนต์ที่พระสงฆ์นิยมสวดในวันวิสาขบูชาก่อนทำการเวียนเทียนนิยมสวด (ทั้งบาลีและคำแปล) ตามลำดับดังนี้
บทบูชาพระรัตนตรัย (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อรหัง สัมมา ฯลฯ)
บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า (นะโม ฯลฯ 3 จบ)
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อิติปิโส ฯลฯ)
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ)
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สวากขาโต ฯลฯ)
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:ธรรมมะคือ คุณากร ฯลฯ)
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สุปฏิปันโน ฯลฯ)
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:สงฆ์ใดสาวกศาสดา ฯลฯ)
บทสวดบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชา (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:ยะมัมหะ โข ฯลฯ)[47]

จากนั้นจุดธูปเทียนและถือดอกไม้เป็นเครื่องสักการบูชาในมือ แล้วเดินเวียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ โดยขณะที่เดินนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ ด้วยการสวดบทอิติปิโส (รอบที่หนึ่ง) ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต (รอบที่สอง) และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน (รอบที่สาม) จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอบ จากนั้นนำธูปเทียนดอกไม้ไปบูชาตามปูชนียสถานจึงเป็นอันเสร็จพิธี

ที่มา เพจ Facebook  พระพุทธเจ้า 

ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบ้านไร่

ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา กับเส้นทางชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ก่อนเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์



  หลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่ เป็นชื่อที่ติดหู และได้รับความสนใจของคนไทยมานานหลายสิบปี ด้วยความที่หลวงพ่อท่านเป็นพระที่มากด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นท่านั่งยอง หรือการพูดจากภาษาพ่อขุนรามคำแหง แต่สิ่งที่นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้คนมักนึกถึงหลวงพ่อคูณ คงหนีไม่พ้นเครื่องรางของขลัง และหลักคำสอนแบบตรงไปตรงมาที่แฝงไว้ด้วยหลักธรรมอันลึกซึ้งให้ผู้คนนำไปยึดเป็นแนวทางดำเนินชีวิต และชีวประวัติอันเต็มไปเรื่องราวอันน่าสนใจมากมาย

ประวัติของพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ) แห่งวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคอีสาน เกิดในครอบครัวชาวนา ที่บ้านไร่ หมู่ที่ 6 ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ซึ่งในขณะนั้นนับว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลความเจริญ หลวงพ่อคูณ ท่านเกิดเมื่อ 14 ตุลาคม 2466 (แต่บางตำราว่าวันที่ 4 ตุลาคม) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน โดยเป็นบุตรชายคนโตหัวปีของนายบุญ ฉัตรพลกรัง (บิดา) และนางทองขาว ฉัตรพลกรัง (มารดา) โดยมีพี่น้อง 2 คน ได้แก่ นายคำมั่น แจ้งแสงใส และนางทองหล่อ เพ็ญจันทร์

หลวงพ่อคูณ ได้เข้าเรียนหนังสือกับ พระอาจารย์เชื่อม วิรโธ พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ซึ่งได้เรียนทั้งภาษาไทยและภาษาขอม ที่วัดบ้านไร่ ซึ่งเป็นสถานการศึกษาแห่งเดียวในหมู่บ้าน ตั้งแต่อายุประมาณ 6-7 ขวบ โดยได้ศึกษาภาษาไทยและขอม นอกจากนี้พระอาจารย์ทั้ง 3 ยังเมตตาสอนวิชาคาถาอาคมป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย ด้วยเหตุนี้หลวงพ่อคูณจึงมีความเชี่ยวชาญวิชาอาคมต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก

เมื่ออายุครบ 21 ปีก็ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2487 ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก (หนังสือบางแห่งระบุว่าเป็นปี 2486) โดยมีพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ ก็คือพระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ โดยหลังจากที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้วได้รับฉายาว่า "ปริสุทโธ" และฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ต.สำนักตะคร้อ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาอย่างเคร่งครัด และทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์พระคณาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก

จากนั้นหลวงพ่อคูณก็ได้ตั้งใจร่ำเรียนพระธรรมวินัย และอยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร ก่อนที่หลวงพ่อแดงจะพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ "หลวงพ่อคง พุทธสโร" เนื่องจากทั้งสองรูปเป็นเพื่อนที่มักมีการพบปะแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมต่าง ๆ แก่กันเสมอ จากนั้นหลวงพ่อคง ผู้ทรงคุณทั้งทางธรรม และทางไสยเวทย์ ก็ได้สอนวิชาต่าง ๆ ให้กับหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ด้วยความรักใคร่มิได้ปิดบังอำพรางแต่อย่างใด โดยใช้วิธีการสอนโดยการศึกษาพระธรรมควบคู่กับการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน เน้นการมี "สติ" ระลึกรู้ พิจารณาอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบและให้เกิดความรู้เท่าทันในอารมณ์นั้น

พร้อมกับสอนพระกัมมัฏฐานโดยให้ใช้หมวดอนุสติ ด้วยการกำหนด “ความตาย” เป็นอารมณ์ เรียกว่า “มรณัสสติ” เพื่อให้ เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงในอารมณ์ รูป รส กลิ่น เสียง ไม่ประมาทในความโลภ ความโกรธ และความหลง กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า หลวงพ่อคูณมีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป

          โดยในช่วงแรกหลวงพ่อคูณก็ได้เดินธุดงค์ จาริกอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงได้มีการธุดงค์ไกลขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงป่าลึกประเทศลาว และประเทศกัมพูชา  เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง เมื่อพิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณธุดงค์จากเขมร กลับมายังประเทศไทย เดินข้ามเขตด้านจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่

           พร้อมกับเริ่มก่อสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ โดยเริ่มสร้างอุโบสถในปี พ.ศ. 2496 จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านที่ได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ จนสามารถสร้างพระอุโบสถจนสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันอุโบสถหลังดังกล่าวได้ถูกรื้อลงและก่อสร้างหลังใหม่แทนแล้ว นอกจากนี้หลวงพ่อยังได้สร้างโรงเรียน กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ รวมทั้งขุดสระน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ขึ้น เพื่อพัฒนาความเจริญของพื้นที่บ้านไร่ และตามมาด้วยการก่อสร้างโรงพยาบาลถึง 3 หลัง และโรงเรียนอื่น ๆ อีกจำนวนมาก พร้อมทั้งยังได้บริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณสุขต่าง ๆ อยู่เสมอ

  ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้หลวงพ่อคูณเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมากนั้น คงหนีไม่พ้นเรื่องการสร้างวัตถุมงคล โดยตามประวัติพบว่าท่านเคยสร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกตั้งแต่สมัยบวชได้ประมาณ 7 พรรษา โดยเริ่มจากตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ราว พ.ศ. 2493 โดยท่านบอกกับผู้มาขอเสมอว่า "ใครขอ กูก็ให้ ไม่เลือกยากดีมีจน" ปัจจุบันพระเครื่องหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นั้นเป็นที่นิยมและต้องการของลูกศิษย์และนักสะสมพระเครื่องอย่างมาก หลาย ๆ รุ่นมีราคาแพงมากโดยเฉพาะเหรียญหลวงพ่อคูณรุ่นแรก ส่วนเรื่อง "เครื่องรางของขลัง" ของหลวงพ่อคูณคงต้องยกให้ ตะกรุดทองคำหลวงพ่อคูณ ซึ่งจะเป็นตะกรุดทองคำฝังแขน ซึ่งท่านจะมีข้อห้าม 2 ข้อ คือ 1. ห้ามด่าแม่ 2. ห้ามผิดลูกเมียผู้อื่น นับว่าเป็น เครื่องรางของขลังหลวงพ่อคูณ ที่น่าสนใจมาก

           อย่างไรก็ดี จากประวัติอันน่าสนใจทั้งเรื่องของความแก่กล้าในวิชาอาคม และความแตกฉานในความรู้ด้านพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ ทำให้ท่านได้รับฉายาว่า "ปราชญ์แห่งที่ราบสูง" แม้จะมีท่าทีการแสดงออกที่ตรงไปตรงมาพูดจามึงกู แต่ผู้ใกล้ชิดทุกคนกลับทราบดีว่าหลวงพ่อคูณนั้นมีจิตเมตตาเป็นอย่างยิ่ง ไม่เคยมีใครพบเห็นหลวงพ่อคูณกราดเกรี้ยว หรือทุกขเวทนากับเหตุการณ์ต่าง ๆ สิ่งที่หลวงพ่อคูณแสดงออกมาทุกครั้งในการให้สัมภาษณ์หรือสนทนาธรรม ได้แสดงให้เห็นว่า ท่านนั้นมีจิตที่แจ่มใส หมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลส เป็นที่พึ่งทางธรรมให้แก่ญาติโยมทุกคนอย่างแท้จริง

ที่มา : https://hilight.kapook.com

ตำ น า น พ ร ะ ป ริ ต ร ตำนานพระปริตร : เ จ็ ด ตำ น า น

ตำ น า น พ ร ะ ป ริ ต ร   
ตำนานพระปริตร : เ จ็ ด ตำ น า น   



โดยทั่วไปพุทธศาสนิกชนมักทำบุญ   
โดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดสาธยายบทพระพุทธมนต์ในพิธีมงคล 
หรือพิธีที่จัดขึ้นเพื่อความสุขความเจริญ   เป็นสิริมงคลแก่การดำเนินชีวิตในวาระต่างๆ 
ซึ่งมักจะเรียกรวมกันว่าว่า   พิธีเจริญพระพุทธมนต์   

คำว่า “ พระพุทธมนต์ ” หมายถึง   
พระพุทธพจน์อันเป็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า 
ที่มีปรากฏในพระไตรปิฏกบ้าง   เป็นคำที่แต่งขึ้นมาภายหลังบ้าง 

โดยถือกันว่าพระพุทธมนต์เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ 
สามารถปัดป้องอันตรายต่างๆ ได้   จึงเรียกอีกอย่างว่า “ พระปริตร ” 

คำว่า “ ปริตร ” มีความหมายว่า คุ้มครองรักษา   
หรือเครื่องคุ้มครองป้องกัน   ซึ่งบทพระพุทธมนต์ที่นิยมว่าศักดิ์สิทธิ์ 
เท่าที่ปรากฏรวบรวมไว้มี ๗ บท   จึงเรียกว่า   เจ็ดตำนาน 

( ตามปกติ คำว่าตำนาน จะหมายถึงเรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบๆ มา 
แต่ในที่นี้เป็นการเรียกพระปริตรบทๆ หนึ่งว่า ตำนาน   ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะแผลงมาจาก 
คำว่า ตาณ ในภาษาบาลีที่แปลว่า ต้านทาน   หรือป้องกันเช่นเดียวกับคำว่า ปริตร 
หรืออาจจะหมายถึงตำนานอันเป็นที่มาของแต่ละพระสูตรก็เป็นได้) 

การสวดพระปริตรหรือเจ็ดตำนานนี้ 
เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศลังกา ราว พ.ศ. ๕๐๐ 

ด้วยว่าชาวลังกาที่นับถือพุทธศาสนาในขณะนั้น   ประสงค์ให้พระสงฆ์ช่วยเหลือตนให้เกิดสิริมงคล 
และป้องกันภยันตรายต่างๆ ด้วยการสวดมนต์   และคาถาตามแบบอย่างพราหมณ์ 
ซึ่งมีความเชื่อว่าผู้ทรงเวทจะทำให้เกิดสิริมงคล   และป้องกันภยันตรายแก่มหาชนได้ 

ด้วยเหตุนี้ พระสงฆ์ลังกาจึงได้คิดวิธีสวดพระปริตรขึ้น   โดยเลือกเอาพระสูตรหรือคาถา
ที่สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย   อันเกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุการณ์ต่างๆ มาสวดเป็นมนต์ 

โดยการสวดครั้งแรกๆก็ขึ้นกับเหตุการณ์ที่ไปสวด   เช่น ไปสวดพิธีมงคลก็ใช้มงคลสูตรสวด 
สวดให้คนเจ็บป่วยก็ใช้โพชฌงคสูตร   ครั้นคนนิยมมากขึ้นก็คิดค้นพระสูตรต่างๆ 
มาสวดเป็นพระปริตรมากขึ้นเป็นลำดับ 

ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินประเทศลังกา   ก็ได้รับสั่งให้คณะสงฆ์ปรับปรุงพระสูตร 
และคาถาที่ใช้สวดพระปริตรขึ้นใหม่ให้เหมาะกับเหตุการณ์   เพื่อใช้ในพระราชพิธีหลวง
โดยได้เพิ่มพระสูตรและคาถาให้มากขึ้น   และเรียกว่า “ ราชปริตร ”
แปลว่า   มนต์คุ้มครองพระเจ้าแผ่นดิน 

ต่อมาประชาชนต่างก็นิยมให้มีการสวดพระปริตรในพิธีของตนบ้าง 
จึงเกิดเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน 

เจ็ดตำนานหรือพระปริตร   

ซึ่งหมายถึง มนต์อันเป็นเครื่องป้องกันภยันตรายต่างๆ 
มีอยู่ด้วยกัน ๗ พระสูตรคือ 

๑. มงคลสูตร   
ว่าด้วยเหตุที่จะทำให้เกิดสิริมงคล 

๒. รัตนสูตร   
ว่าด้วยรัตนทั้ง ๓ คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ 
สวดเพื่อปัดเป่าอุปัทวันตรายให้หมดไป 

๓. กรณียเมตตสูตร   
ว่าด้วยการเจริญเมตตา ไปไหนมาไหนให้คน เทวดารักใคร่เมตตา 

๔. ขันธปริตร   
ว่าด้วยพระพุทธมนต์สำหรับป้องกันสัตว์ร้ายพวกอสรพิษ 

๕. ธชัคคสูตร   
ว่าด้วยการเคารพธงและการรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยทำให้หายหวาดกลัว 

๖. อาฏานาฏิยปริตร   
ว่าด้วยพระพุทธมนต์ที่สามารถป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง 

๗. อังคุลิมาลปริตร   
ว่าด้วยมนต์ขององคุลีมาล 
ใช้ในงานมงคลหรือทำให้คลอดลูกง่าย 
         

สำหรับความเป็นมาของพระสูตรแต่ละเรื่อง   สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) 
กระทรวงวัฒนธรรมได้สรุปส่วนหนึ่ง   จากหนังสือ “ วรรณคดีขนบประเพณีฯ” 
ของอาจารย์เบญจมาศ พลอินทร์ ความว่า 

• มงคลสูตร 
เกิดจากชาวชมพูทวีปต่างถกเถียง   และตกลงกันไม่ได้ว่ามงคลคืออะไร 
จึงพากันไปทูลถามพระพุทธเจ้า   ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้ให้คำตอบว่า 
สิ่งอันเป็นมงคลในชีวิตมี ๓๘ ประการ   หรือที่ชาวพุทธรู้จักในนาม มงคล ๓๘ นั่นเอง 
เช่น ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต วาจาเป็นสุภาษิต ฯลฯ 
ซึ่งธรรมอันเป็นมงคลนี้   พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดาปฏิบัติ 
ก็ล้วนเป็นสิริมงคลแก่ตัวทั้งสิ้น 

• รัตนสูตร 
เล่ากันว่าครั้งหนึ่งเมืองไพสาลีเกิดทุพภิกภัย   ฝนแล้งข้าวยากหมากแพง 
คนล้มตายเพราะความอดอยาก   ประชาชนก็ไปร้องต่อพระเจ้าแผ่นดิน 

พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้ประชาชนตรวจสอบพระองค์ว่า 
ผิดธรรมข้อใดหรือเปล่า จึงเกิดเหตุเช่นนี้   ก็ปรากฏว่าไม่ผิดธรรมข้อใด 
จึงพากันไปอาราธนาพระพุทธเจ้ามาเมืองไพสาลี   เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึง
ก็ปรากฏว่ามีฝนตกมาห่าใหญ่   ครั้นนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสเรียกพระอานนท์ให้มาเรียน รัตนสูตร 

อันมีเนื้อความสรรเสริญแก้ววิเศษ ๓ ประการ   ที่ไม่มีแก้วอื่นใดเสมอเหมือนคือ พุทธรัตนะ ธัมมรัตนะ
และสังฆรัตนะ   และทำให้ผู้สวด ผู้ฟัง ผู้บูชาและผู้ระลึกถึงประสบแต่ความสวัสดี 

ซึ่งเมื่อพระอานนท์เรียนจากพระพุทธองค์   ก็นำบาตรน้ำมนต์ของพระพุทธเจ้า
ไปประพรมทั่วนครไพสาลี   เมื่อน้ำพระพุทธมนต์ไปถูกพวกปีศาจๆ ก็หนีไป   ไปถูกมนุษย์ที่เจ็บป่วย
โรคเหล่านั้นก็หายสิ้น   แต่นั้นมาชาวเมืองก็มีความสงบสุขตลอดมา 

• กรณียเมตตสูตร 
เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนพระภิกษุ ๕๐๐ รูป   ที่ได้เรียนกัมมัฏฐานแล้ว
คิดจะหาสถานที่สงบบำเพ็ญธรรม   เมื่อเดินทางไปถึงหมู่บ้านหนึ่ง   ชาวบ้านเห็นก็เลื่อมใสยินดี
นิมนต์ให้อยู่ปฏิบัติธรรม   พร้อมทั้งสร้างกุฏิให้ 

ปรากฏว่าทำให้เทวดาที่อยู่ละแวกนั้นเดือดร้อน ไม่มีที่อยู่   จึงได้แสดงอาการน่ากลัวต่างๆ
มาหลอกพระภิกษุ   เมื่อพระภิกษุเห็นก็เกิดความหวาดกลัว   ไม่อาจทำจิตใจให้เป็นสมาธิได้ 
จึงพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ 

พระองค์จึงได้สอน   กรณียเมตตสูตร   อันมีเนื้อความว่า 

ขอให้บุคคลเป็นผู้อาจหาญ ซื่อตรง ว่าง่าย   อ่อนโยนไม่หยิ่งยะโส มีสันโดษ 
ไม่ประกอบกรรมที่ผู้รู้ติเตียน   อย่าดูหมิ่นหรือหาทุกข์ให้กัน ฯลฯ 

เมื่อพระภิกษุกลับไปและนำไปสวดสาธยาย   เหล่าเทวดาก็เกิดความเมตตาแก่พระภิกษุ 
มิได้สำแดงอาการอย่างใดอีก   ทำให้พระภิกษุบำเพ็ญธรรมได้เต็มที่ 
พระสูตรบทนี้ถือเป็นบทแนะนำวิธีสร้างเมตตามหานิยม   สร้างเสน่ห์แก่ตนเอง 

• ขันธปริตร  
เกิดจากพระภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดที่เท้า   ทนพิษไม่ไหวถึงแก่มรณภาพ 

เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่อง   จึงตรัสสอนให้พระภิกษุรู้จักแผ่เมตตาแก่สกุลพญางูทั้งสี่ 
คือ   พญางูวิรูปักข์ พญางูเอราบถ พญางูฉัพยาบุตร   และพญางูกัณหาโคตมะ 

ซึ่งมีเนื้อความว่า 
ไมตรีของเราจงมีแก่สกุลพญางูทั้งสี่   ตลอดทั้งสัตว์สองเท้า สี่เท้า อย่าเบียดเบียนเรา 
สัตว์ทั้งหลาย เช่น งู แมลงป่อง ตะขาบ เป็นต้น   มีประมาณไม่มากเหมือนคุณพระรัตนตรัย 
เราทำการนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่   ขอสัตว์ร้ายจงหลีกไป 

ในทางความเชื่อ 
พระพุทธมนต์บทนี้ใช้ภาวนาป้องกันอสรพิษทุกชนิดได้   แต่กล่าวกันว่า
ในงานพิธีทั่วไปไม่นิยมขึ้นต้นที่ “ วิรูปกฺเข”   เพราะเชื่อว่าเป็นบทปลุกผีให้ออกมาอาละวาด 
พระมักจะขึ้นที่ “ อปปฺมาโณ ” 

• ธชัคคสูตร  
มาจากที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าให้พระภิกษุฟังว่า 
เมื่อเทวดากับอสูรรบกัน   ท้าวสักกะซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่เทวดา 
ได้แนะให้เหล่าเทวดาที่เกิดความกลัว หวาดสะดุ้ง   หรือขนพองสยองเกล้า 
ได้แลดูชายธงของเทวราชทั้งหลาย   เพื่อให้คลายจากความกลัว 

แต่พระพุทธองค์กล่าวว่าการดูธงของเหล่าเทวราช   อาจจะทำให้หายหรือไม่หายกลัวก็ได้ 
เพราะเหล่าเทวดายังไม่ละกิเลส   อย่างไรก็ยังต้องมีความหวาดกลัวอยู่ 

ดังนั้น จึงสอนให้พระภิกษุเชื่อ   และยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแห่งจิตใจ 
จะทำให้คลายจากความกลัว   และรู้สึกปลอดภัยไม่หวั่นไหว 
บทนี้มักจะใช้สวดในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าธงไชยเฉลิมพล 

• อาฏานาฏิยปริตร  
เกิดเมื่อท้าวมหาราชทั้งสี่คือ   ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวเวสสุวัณ 
ตั้งใจจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า   แต่เกรงว่าหากพวกอสูรรู้ว่าบนดาวดึงส์ไม่มีใครอยู่ 
ก็อาจถือโอกาสมากวน   ซึ่งพวกตนก็อาจกลับมาไม่ทัน 

จึงได้จัดตั้งกองทหารไว้ ๔ กอง   ประกอบด้วยคนธรรพ์ ยักษ์ นาครักษาแต่ละทิศไว้ 
แล้วพากันไปประชุมที่อาฏานาฏิยนคร   แล้วผูกมนต์เป็นอาฏานาฏิยปริตรขึ้น 
จากนั้นก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมบริวารเป็นจำนวนมาก 

แต่ปรากฏว่าบริวารของท้าวมหาราชเหล่านี้   ต่างก็มีปฏิกิริยาต่อพระพุทธองค์ต่างๆ กัน 
เพราะบ้างก็นับถือ บ้างก็ไม่เชื่อถือ   จนเป็นเหตุให้บรรดาสาวกของพระพุทธเจ้า
ที่ไปบำเพ็ญธรรมตามที่ต่างๆ   ต้องถูกผี ปีศาจ ยักษ์ที่ไม่เลื่อมใสเหล่านี้รบกวน 
จนเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเป็นอันตรายต่างๆ นานา 

ท้าวเวสสวัณจึงได้กราบทูล   ขอให้พระพุทธองค์รับอาฏานาฏิยปริตร 
ไว้ประทานแก่สาวกของพระองค์   เพื่อป้องกันมิให้ยักษ์ และภูตผีปีศาจรบกวน 

ซึ่งเนื้อความ 
เป็นการสรรเสริญพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ 
และขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยกาย วาจา ใจ   ไม่ว่าเวลานอน เดิน นั่ง หรือยืน 
ขอให้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้คุ้มครองรักษาให้พ้นภัย พ้นโรค   และความเดือดร้อนต่างๆ 

ปริตรบทนี้ใครเจริญภาวนาอยู่เป็นนิตย์ 
เชื่อว่ายักษ์ ผี ปีศาจก็จะช่วยคุ้มครองให้มีความสุขความเจริญ 

ที่มา : ลานธรรมจักร .  http://www.watpamahachai.net

๗. อังคุลิมาลปริตร 

ที่มา
พระองคุลิมาลโปรดหญิงมีครรภ์ 
[ ๕๓๐] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวร 
เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี. กำลังเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถี 
ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก. ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง 
หนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ ดังนี้. 

ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาลเที่ยวบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว 
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. 
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส 
เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี 
กำลังเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถีได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก. 
ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า   สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอสัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ   ดังนี้.

[ ๕๓๑] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น 
เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้นและกล่าวกะสตรีนนอย่างนี้ว่า 
“ ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาแล้ว จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตหามิได้ 
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด.

ท่านพระองคุลิมาลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อาการนั้นจักเป็นอันข้าพระองค์ 
กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่เป็นแน่ เพราะข้าพระองค์แกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตเป็นอันมาก.

ภ. ดูกรองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้น แล้วกล่าวกะสตรีนั้นอย่างนี้ว่า
“ ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้วในอริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจาก 
ชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด”

พระองคุลิมาลทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะหญิงนั้นอย่างนี้ว่า 
“ ดูกรน้องหญิง ตั้งแต่เวลาที่ฉันเกิดแล้วในอริยชาติ จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตทั้งรู้หามิได้ 
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด”

ครั้งนั้น ความสวัสดีได้มีแก่หญิง ความสวัสดีได้มีแก่ครรภ์ของหญิงแล้ว.

อังคุลิมาลสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
หน้าที่ ๓๖๓ – ๓๖๔ หัวข้อที่ ๕๓๐ – ๕๓๑

บทขอขมาอโหสิกรรมเจ้ากรรมนายเวร

บทขอขมาอโหสิกรรมเจ้ากรรมนายเวร




บทอธิฐานขออโหสิกรรม
กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมัง
อะสัญจิจจะกัมมัง ขะมันตุ เม อะโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม


กรรมใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้ทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ทั้งโดยตั้งใจก็ดี
ไม่ได้ตั้งใจก็ดี ในภพชาติใดก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโปรดยกโทษ ให้เป็นอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า
อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อกันอีกเลย


แม้แต่กรรมใดที่ใคร ๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน
ขอจงดลใจให้เขาเหล่านั้นกลับมีเมตตาจิต คิดเป็นมิตรกับข้าพเจ้า เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อกันตลอดไป

ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้า พร้อมทั้งครอบครัว ตลอดจนวงศาคณาญาติ ผู้่มีอุปการคุณของข้าพเจ้า
พ้นจากความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจ ความทุกข์อย่าได้ใกล้ ความเจ็บไข้อย่าได้มี ขอให้มีความสุขสวัสดีมีชัย
เสนียดจัญไร และอุปัทวันตรายทั้งหลาย จงเสื่อมสิ้นหายไป นึกคิดปรารถนาสิ่งใด ที่เป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วยธรรมด้วย
ขอให้สิ่งนั้น จงพลันสำเร็จ จงพลันสำเร็จ จงพลันสำเร็จเทอญ.

นิพพานัง ปัจจะโย โหตุ


ทีมา https://palungjit.org

3 คาถาบูชาพ่อแม่ สวดได้ทุกวัน

3 คาถาบูชาพ่อแม่ สวดได้ทุกวัน



1. อิมินาสักกาเรนะ ข้าขอกราบสักการะบูชา อันพระบิดร มารดา ตัวข้าขอน้อมระลึกคุณ ท่านมีเมตตาการุณ อุปการะคุณต่อบุตรธิดา ท่านให้กำเนิดลูกมา ทั้งการศึกษาและอบรม ถึงแม้ลำบากขื่นขม ทุกข์ระทมสักเพียงใด ท่านไม่เคยหวั่นใหว ต่อสิ่งใดที่ใด้เลี้ยงมา พระคุณท่านล้นฟ้า ยิ่งกว่าธาราและแผ่นดิน ข้าขอบูชาเป็นอาจิณ ตราบจนสิ้นดวงชีวา ขอปวงเทพไท้รักษา อันพระบิดรมารดาของข้า เทอญ.

2. มัยหัง มาตาปิตูนังวะปาเทสุ วันทามิ สาทะรัง (กราบ 1 ครั้ง)

3. อะนันตะคุณะ สัมปันนา ชะเนติชะนากา อุโภ มัยหัง มาตา ปิตูนังวะ ปาทา วันทามิ สาทะรัง

ที่มา : https://horoscope.mthai.com

ร่วมบุญสร้าง กองบุญ​ สมทบทุนสร้างวิหารพระเจ้าทันใจ(ศิลปะพม่า) วัดดอนเเก้ว ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา


ร่วมบุญสร้าง กองบุญ​ 
สมทบทุนสร้างวิหารพระเจ้าทันใจ(ศิลปะพม่า)
สามารถร่วมบริจาคได้ตามกำลังศรัทธาที่วัดดอนเเก้ว ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา 
(พระณัชฐกิตติ์ ธมฺมธีโร เจ้าอาวาส)

>>> ธนาคาร กรุงไทย
บัญชีเลขที่ 5230043547
ชื่อบัญชี : พระณัชฐกิตติ์ ธมฺมธีโร
>>> แจ้งโอนร่วมทำบุญ บริจาคได้ที่
Line ID : 0931960397
ติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 0894050633
พระ ณัชฐกิตติ์ ธมฺมธีโร
เจ้าอาวาส วัดดอนเเก้ว 
FB : วัดดอนเเก้ว ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา (ตุ๊ปี่ตาม)


สมทบทุนสร้างวิหารพระเจ้าทันใจ


ร่วมบุญสร้าง กองบุญ​ สมทบทุนสร้างวิหารพระเจ้าทันใจ(ศิลปะพม่า) วัดดอนเเก้ว ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา
ร่วมบุญสร้าง กองบุญ​ สมทบทุนสร้างวิหารพระเจ้าทันใจ(ศิลปะพม่า) วัดดอนเเก้ว ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา

ร่วมบุญสร้าง กองบุญ​ สมทบทุนสร้างวิหารพระเจ้าทันใจ(ศิลปะพม่า) วัดดอนเเก้ว ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา

ร่วมบุญสร้าง กองบุญ​ สมทบทุนสร้างวิหารพระเจ้าทันใจ(ศิลปะพม่า) วัดดอนเเก้ว ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา

ร่วมบุญสร้าง กองบุญ​ สมทบทุนสร้างวิหารพระเจ้าทันใจ(ศิลปะพม่า) วัดดอนเเก้ว ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา




ร่วมบุญสร้าง กองบุญ​ สมทบทุนสร้างวิหารพระเจ้าทันใจ(ศิลปะพม่า) วัดดอนเเก้ว ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา





ร่วมบุญสร้าง กองบุญ​ สมทบทุนสร้างวิหารพระเจ้าทันใจ(ศิลปะพม่า) วัดดอนเเก้ว ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา





ป้ายกำกับ