แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พาลิสิกสูตร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พาลิสิกสูตร แสดงบทความทั้งหมด

พุทธพจน์ พาลิสิกสูตร | วัดมหาชัย

พาลิสิกสูตร
พระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า
พระพุทธพจน์ หมายถึงถ้อยคำ สำนวนที่ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ ธรรม หรือ วินัย

ซึ่งเรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ บ้าง ปาพจน์ บ้าง ล้วนเป็น พระพุทธพจน์ทั้งสิ้น






[ ๒๘๙ ] "ดูกรภิกษุทั้งหลาย! พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลงในห้วงน้ำลึก
ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวใดตัวหนึ่ง กลืนกินเบ็ดนั้น
ปลานั้น ชื่อว่ากลืนกินเบ็ดของนายพรานเบ็ด ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ
พรานเบ็ดพึงกระทำได้ตามชอบใจฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีเบ็ดอยู่ ๖ ชนิดเหล่านี้
เพื่อจะนำสัตว์ทั้งหลายไป เพื่อจะฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย ก็ฉันนั้น เหมือนกัน

เบ็ด ๖ ชนิด คืออะไรบ้าง คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่

ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญหมกมุ่นในรูปนั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร
ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ

เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่

ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญหมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร
ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ ฯ

[ ๒๙๐ ] "ดูกรภิกษุทั้งหลาย! รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่

ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด

ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ
เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่

ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร
ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ดไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ
มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ ฯ "

จบสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๑๘๐ หัวข้อที่ ๒๘๙ - ๒๙๐

ป้ายกำกับ