คาถาอุทิศถวายส่วนกุศลเป็นพระราชกุศล

คาถาอุทิศถวายส่วนกุศลเป็นพระราชกุศล 
ถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย

ยันทานิ เม กะตัง ปุญญัง
บุญใดที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ณ กาลบัดนี้
เตนาเนนุททิเสนะ จะ
เพราะบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำ ณ กาลบัดนี้นั้นด้วย เพราะความอุทิศส่วนบุญอันนี้นั้นด้วย
ยา กาจิ กุสะลา มยาสา
ความปรารถนาอันใดอันหนึ่ง ที่เป็นกุศลของข้าพเจ้า
สุเขนะ สิชฌะตัง สะทา
จงสำเร็จโดยง่ายทุกเมื่อ
ปรมินทะมหาราชา
ขอพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช
ภาคี โหตุ วะ ปัตติยา
จงทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งปัตติทาน* ของข้าพเจ้าทั้งหลาย
เขมัปปะทัญจะ ปัปโปตุ
จงทรงถึงซึ่งบทอันเกษม คือ พระนิพพาน
ตัสสาสา สิชฌะตัง สุภา
ขอความปรารถนาที่ดีงามของพระองค์ ทั้งปวงนั้น จงสำเร็จเถิด
( ผู้แต่ง : สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร )

คาถาวิรูปักเข บทแผ่เมตตาให้แก่พญานาค ทั้ง ๔ ตระกูล

1.ตระกูลวิรูปักข์ ซึ่งเป็นนาคผิวกายสีทอง
2.ตะกูลเอราปัถ ซึ่งเป็นนาคผิวกายสีเขียว
3.ตระกูลฉัพยาปตต์ ซึ่งเป็นนาคผิวกายหลากสี
4.ตระกูลกัณหาโคตม์ ซึ่งมีผิวกายสีดำ

วิรูปักเข นี่แผ่เมตตาตั้งแต่สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์มีเท้าน้อย จนกระทั่งสัตว์มีเท้ามาก
เรียกว่าแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งหมด




วิรูปักเขหิเมเมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิเม ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิจะ อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิเม จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิเม มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มามังหิงสิ ทิปาทะโก มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ มามังหิงสิ พะหุปปะโท สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพภูตาจะเกวะลา สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มากิญจิ ปาปะมาคะมา อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธรรมโม อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะ วันตานิ สิริงสะปานิ อะหิวิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิโสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานังติฯ
คำแปล ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญานาคทั้งหลาย ตระกูลวิรูปักข์ด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญานาคทั้งหลาย ตระกูลเอราบถด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญานาคทั้งหลาย ตระกูลฉัพยาบุตรด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญานาคทั้งหลาย ตระกูลกัณหาโคตมกะด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลายที่มี ๔ เท้าด้วย ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ที่มีเท้ามากด้วย สัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ ๒ เท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ ๔ เท้า อย่าเบียดเบียนเรา สัตว์มากเท้าอย่าเบียดเบียนเรา ขอสรรพสัตว์มีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาทั้งหมดจนสิ้นเชิงด้วย จงเห็นซึ่งความเจริญทั้งหลายทั้งปวงเถิด โทษลามกใด ๆอย่าได้มาถึงแล้วแก่สัตว์เหล่านั้น พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณไม่มีประมาณ พระธรรม ทรงพระคุณไม่มีประมาณ พระสงฆ์ ทรงพระคุณไม่มีประมาณ สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู เหล่านี้ล้วนมีประมาณ ความรักษา อันเรากระทำแล้ว ความป้องกัน อันเรากระทำแล้ว หมู่สัตว์ทั้งหลาย จงหลีกไปเสีย เรานั้นกระทำการนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่


จัดทำขึ้นโดย สารธรรมนำใจ หวังว่าผู้ที่ติดตามคงมีความสุขในการฟังธรรม
เรื่อง คาถาวิรูปักเข บทแผ่เมตตาให้แก่พญานาค ทั้ง ๔ ตระกูล ๑ ชั่วโมงเต็ม
(ขอบารมีโชคลาภสัการะ )






วันออกพรรษา ตักบาตรเทโว ทอดกฐิน และเทศน์มหาชาติ


วันออกพรรษา นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันในวันออกพรรษา กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชน มักจะกระทำก็คือ 


การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนาส่วน ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ "ตักบาตรเทโว"

ซึ่ง "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหณะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก 
โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ 
ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยนสมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 
และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา 
และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ สังกัสสะนคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น 
จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้พิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบัน จะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณหลังวันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันไดสวรรค์หลังจากวันออกพรรษาแล้ว 

มีประเพณีที่ พุทธศาสนิกชน นิยมทำกันคือ การทอดกฐินการทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐินซึ่ง การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้นส่วน งานเทศน์มหาชาติ ก็เป็นประเพณีที่นิยมเช่นกัน โดยจะมีการจัดขึ้น หลังวันออกพรรษา คือพ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งประเพณีงานเทศน์มหาชาติ อาจทำในวันขึ้น 8 ค่ำ กลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำ เพราะในช่วงนี้หมดหน้าน้ำ ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ความจริงงานเทศน์มหาชาติ จะทำในเดือนไหนก็ได้ ไม่จำกัดฤดูกาล โดยในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญพระเวส"  แต่โดยมากนิยมทำกันหลังวันออกพรรษา คือพ้นหน้ากฐินไปแล้ว"

ที่มา : nationtv.tv/

ป้ายกำกับ