บทสวดบารมี 30 ทัศน์
ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง
บทสวด บารมี 30 ทัศ แปล
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือทาน
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทานบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือทานอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง บารมีคือศีล
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งศีลบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือศีลอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือเนกขัมมะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งเนกขัมมะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือเนกขัมมะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือปัญญา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งปัญญาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือปัญญาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือวิริยะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งวิริยะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือวิริยะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือขันติ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งขันติบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือขันติอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือสัจจะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสัจจะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือสัจจะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคืออธิษฐาน
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอธิษฐานบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคืออธิษฐานอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือเมตตา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือเมตตาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคืออุเบกขา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคืออุเบกขาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือทสบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทสบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือทสบารมีอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
- หน้าแรก
- บทสวดมนต์ ทุกวัน
- ทำวัตรเช้า
- ทำวัตรเย็น
- พระคาถาชินบัญชร 108 จบ
- พระคาถาชินบัญชร 9 จบ
- เสียงสวดชินบัญชรคาถา ใช้ถอนคุณไสย ไล่สิ่งชั่วร้ายทุกรูปแบบ
- รวมคาถาสะท้อนกลับ ให้คุณไสยที่ส่งมาย้อนกลับไปหาคนที่คิดร้ายเรา
- เสียงสวดชินบัญชรคาถา ใช้ถอนคุณไสย ไล่สิ่งชั่วร้ายทุกรูปแบบ
- พระคาถาชินบัญชร 108 จบ
- บทพาหุง 108 จบ พุทธชัยมงคลคาถา
- บทสวดพระปริตร | โดยพระมหาศรัณ สารธมฺโม
- นะโม เม พุทธะ เตชัสสาฯ | บทสวดจุลชัยยะมงคลคาถา
- สมาธิเซน
- Guy Zezars
- Positive Meditation
- Japanese Zen Music
- 528Hz
- ติดต่อสอบถาม
ภาวนาสูตร
ภาวนาสูตร
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา
แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า
โอหนอ! ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง
แต่จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะ
เพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้น เพราะเหตุไร?
จะพึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร?
เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
เปรียบเหมือนแม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง
ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี
แม่ไก่นั้น แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า
โอหนอ! ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือ จะงอยปากเจาะกะเปาะไข่
ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้น ไม่สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้า
หรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะแม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา
แม้จะไม่พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
โอหนอ! ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจาก อาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง
แต่จิตของภิกษุนั้น ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
พึงกล่าวได้ว่า เพราะเจริญ เพราะเจริญอะไร?
เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
เปรียบเหมือน แม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง
ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี
แม้แม่ไก่นั้นจะไม่พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า
โอหนอ! ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่
ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้น ก็สามารถใช้เท้า
หรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี ฉะนั้น ฯ
เปรียบเหมือน รอยนิ้วมือ รอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด
ย่อมปรากฏแก่นายช่างไม้หรือลูกมือ นายช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า
วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้ เมื่อวานสึกไปเท่านี้
หรือเมื่อวานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไปเขาก็รู้ว่าสึกไปนั่นเทียว ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานสิ้นไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้
แต่ที่จริง เมื่ออาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้นก็รู้ว่าสิ้นไปนั่นเทียว ฯ
เปรียบเหมือน เรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะแล้วแล่นไปในน้ำ
ตลอด๖ เดือน ถึงฤดูหนาว เข็นขึ้นบก เครื่องผูกประจำเรือตากลมและแดดไว้
เครื่องผูกเหล่านั้น ถูกฝนชะ ย่อมชำรุดเสียหาย เป็นของเปื่อยไปโดยไม่ยาก ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์ย่อมสงบระงับไปโดยไม่ยาก ก็ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ
จบสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก- อัฏฐก- นวกนิบาต
หน้าที่ ๙๘ หัวข้อที่ ๖๘
www.watpamahachai.net
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา
แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า
โอหนอ! ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง
แต่จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะ
เพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้น เพราะเหตุไร?
จะพึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร?
เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
เปรียบเหมือนแม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง
ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี
แม่ไก่นั้น แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า
โอหนอ! ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือ จะงอยปากเจาะกะเปาะไข่
ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้น ไม่สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้า
หรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะแม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา
แม้จะไม่พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
โอหนอ! ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจาก อาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง
แต่จิตของภิกษุนั้น ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
พึงกล่าวได้ว่า เพราะเจริญ เพราะเจริญอะไร?
เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
เปรียบเหมือน แม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง
ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี
แม้แม่ไก่นั้นจะไม่พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า
โอหนอ! ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่
ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้น ก็สามารถใช้เท้า
หรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี ฉะนั้น ฯ
เปรียบเหมือน รอยนิ้วมือ รอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด
ย่อมปรากฏแก่นายช่างไม้หรือลูกมือ นายช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า
วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้ เมื่อวานสึกไปเท่านี้
หรือเมื่อวานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไปเขาก็รู้ว่าสึกไปนั่นเทียว ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานสิ้นไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้
แต่ที่จริง เมื่ออาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้นก็รู้ว่าสิ้นไปนั่นเทียว ฯ
เปรียบเหมือน เรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะแล้วแล่นไปในน้ำ
ตลอด๖ เดือน ถึงฤดูหนาว เข็นขึ้นบก เครื่องผูกประจำเรือตากลมและแดดไว้
เครื่องผูกเหล่านั้น ถูกฝนชะ ย่อมชำรุดเสียหาย เป็นของเปื่อยไปโดยไม่ยาก ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์ย่อมสงบระงับไปโดยไม่ยาก ก็ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ
จบสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก- อัฏฐก- นวกนิบาต
หน้าที่ ๙๘ หัวข้อที่ ๖๘
www.watpamahachai.net
คนพาล และการไม่คบคนพาล
คนพาล และการไม่คบคนพาล
คนพาล มาจากภาษาบาลีคำว่า พาโล หมายถึง คนเขลา คนอ่อนทางสติปัญญา รวมถึง คนที่มีจิตใจอันขุ่นมัว ไม่ประพฤติในศีลธรรมอันดีงาม ซึ่งการคบคนพาลถือเป็นวิถีทางที่จะนำพาชีวิตไปสู่ความเขลา
ความเสื่อม และปิดทางแห่งความเจริญแก่ตน แต่หากไม่คบคนพาลย่อมเป็นวิถีแห่งบัณฑิตที่จะนำมาซึ่งสติปัญญา
และความเจริญรุ่งเรืองในการดำเนินชีวิต
การไม่คบคนพาล หมายถึง การไม่ไปมาหาสู่ การไม่คบหาสมาคม การไม่เข้าตีสนิท หรือการไม่เป็นเพื่อนร่วมคิดร่วมทำกับผู้ที่ประกอบด้วยอกุศลหรือผู้ที่ประพฤติชั่วเป็นนิจ รวมถึงการไม่มีพฤติกรรมอย่างคนพาล
ความหมายที่ครอบคลุมของคนพาล
– คนเขลา
– คนอ่อนทางสติปัญญา
– คนที่ไม่เชื่อในเหตุ และผล
– คนโกรธง่าย คนหลงง่าย คนโลภง่าย
– คนที่มีจิตใจอันขุ่นมัว
– คนทำผิดศีลเป็นนิจ
– คนที่ไม่ประพฤติในศีลธรรมอันดีงาม
– คนที่คอยเบียดเบียน และห่มเหงคนอื่น
– ฯลฯ
ประเภทของคนพาล
1. คนพาลเทียม คือ คนพาลทั่วไปที่มักหลงผิดเพียงชั่วครั้งชั่วคราว เพียงเพราะความเขลาหรือการหลงเชื่อผู้อื่นโดยง่าย คนพาลประเภทนี้ หากรู้จักคบบัณฑิตหรือได้รับความรู้ ได้รับการเสนอแนะ และชี้นำในทางที่ถูก ก็ย่อมกลับมาเป็นบัณฑิตหรือคนดีได้ง่าย
2. คนพาลแท้ คือ คนพาลหยั่งลึกด้วยความเขลาที่จัดเป็นบัวอยู่ในโคลนตม ถึงแม้จะรู้จักบัณฑิตหรือได้รับความรู้ ได้รับการอบรมเพียงใด ก็ไม่สามารถที่จะปรับความคิด ปรับการกระทำได้ เรียกได้ว่า เป็นคนพาลอย่างแท้จริง
ลักษณะของคนพาล 3 ประการ
1. คนที่มีกายทุจริต หมายถึง คนที่ประพฤติชั่วด้วยกายเป็นนิจ ได้แก่
– คนฆ่าสัตว์
– คนประพฤติผิดในกาม
– คนลักทรัพย์
– คนดื่มสุรา และเที่ยวเตร่สตรี
– คนที่เบียดเบียนห่มเหงผู้อื่น
– ฯลฯ
2. คนที่มีวาจาทุจริต หมายถึง คนที่ประพฤติชั่วด้วยวาจาเป็นนิจ ได้แก่
– คนพูดปด
– คนพูดคำหยาบ
– คนพูดส่อเสียด
– คนพูดยุยงให้แตกแยก
– คนพูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ
– พูดสับปับ
– ฯลฯ
3. คนที่มีใจทุจริต หมายถึง คนที่มีจิตใจเป็นอกุศลเป็นนิจ ได้แก่
– คนที่มีใจคิดพยาบาท
– คนที่ชอบคิดในกาม
– คนที่ไม่เชื่อ และหลบหลู่ศาสนา
– คนที่มักมีอคติที่ไม่ดีต่อผู้อื่น
– ฯลฯ
คนพาลในสมัยพุทธกาล ได้แก่
– เทวทัต
– โกกาลิกะ
– กฎโมทกะ
– ติสสขัณฑาเทวีบุตร
– สมุทททัตตะ
– นางจิญจมาณวิกา
– ฯลฯ
วิธีสังเกตคนพาล
1. ฆ่าสัตว์ ทำร้ายสัตว์เพื่อความสนุก
ผู้ที่มีพฤติกรรมชอบฆ่าสัตว์หรือทำร้ายสัตว์ให้ทรมานเพียงเพื่อความสนุก มักเป็นผู้ที่นิสัยใจนักเลง ชอบความรุนแรง
ห่มเหงรังเกผู้อื่นเป็นนิจ และเมื่อได้เห็นผู้อื่นได้รับทุกข์แล้วก็มักไม่สะเทือนใจหรือเห็นใจในความทุกข์ที่ผู้อื่นได้รับ
และหากไม่สมดั่งหวังก็มักมีจิตใจผูกพยาบาทเป็นนิจ คนเหล่านี้ อาจสังเกตได้จาก
พฤติกรรมการเป็นนักเลงที่มักก่อการทะเลาะวิวาทบ่อยครั้ง ผู้ที่ชอบจับสัตว์มาทรมาน เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้ฆ่าสัตว์หรือจับสัตว์เพียงเพื่อการยังชีพให้ถือละเว้นจากการเป็นคนพาล
2. มีจิตใจผูกพยาบาท
ผู้ที่มีจิตใจผูกพยาบาทนี้ จะพบได้ในคนที่เบียดเบียนผู้อื่นๆเพียงเพื่อให้ตนเป็นผู้กระทำบ้างหลังจากที่เคยถูกกระทำมาแล้ว
หรือเรียกง่ายๆว่า การล้างแค้น หรือ การเอาคืน สิ่งเหล่านี้ มักเกิดทั้งในหมู่นักเลง การงาน และการค้าขายธุรกิจ เป็นต้น
ทั้งนี้ คนเหล่านี้จะค่อนข้างสังเกตยากเพราะเป็นมโนธรรม จนกว่าจะแสดงพฤติกรรมการเอาคืนออกมา
แต่อาจสังเกตได้จากคำพูดที่มักกล่าวพยาบาทว่าไว้หรือสายตาที่มองด้วยความไม่เป็นมิตร
3. หวังแต่ผลประโยชน์แก่ตน
ผู้ที่หวังประโยชน์แก่ตน มักกระทำผ่านทั้งทางกาย อาทิ การฉ้อโกง การลักทรัพย์ การหลอกลวง
การให้สินบน และทางวาจา อาทิ การพูดหว่านล้อมให้เชื่อ การพูดยกยอเพื่อให้มอบรางวัลหรือของกำนันให้
นอกจากนั้น มักใช้วิธีการอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ที่ตนต้องการ อาทิ การใช้กำลังห่มเหง การปล้นจี้ เป็นต้น
4. เอาแต่ตัวรอด
ผู้ที่มีนิสัยเอาแต่ตัวรอด มักเป็นผู้ที่คอยปัดความผิดที่เกิดจากตนไปให้ผู้อื่นแทน
ทั้งการพูดใส่ร้าย การให้หลักฐานเท็จ นอกจากนั้น ผู้ที่มีลักษณะแบบนี้ มักหวงแหนในข้าวของ
ข้าวปลาอาหารเมื่อตนเองเกิดความทุกข์ยากหรืออดอยาก
5. หลอกลวง โกหก
ผู้ที่ชอบหลอกลวงหรือพูดโกหกเป็นนิจ เกิดขึ้นในหลายด้าน อาทิ การมุ่งหวังประโยชน์แก่ตน
การมุ่งหวังพยาบาทให้ผู้อื่นได้รับทุกข์ การมุ่งหวังเพื่อความสนุกคะนองใจ เป็นต้น คนเหล่านี้
มักพูดจากระตุกกระตัก พูดเอ่ออ่า พูดวกไปวนมา สายตาไม่อยู่กับที่ แต่บางคนอาจข่มอาการเหล่านี้ได้
จนกว่าจะมีหลักฐานจับได้จึงจะรู้
6. หัวดื้อ ไม่ยอมฟังผู้อื่น
คนดื้อรั้ง มักเป็นคนที่มีความมั่นใจในตนเองสูง เพียงเพราะเชื่อว่าตนเป็นคนเก่ง เป็นผู้มีความรู้มากกว่าจึงไม่ยอมรับฟังผู้อื่นได้ง่าย
หรือ เป็นคนเขลาที่ไม่รู้เท่าทันโลก ไม่รู้เท่าทันสังคม เพราะเชื่อว่าตนเองสามารถเอาตัวรอดได้
หรือ สำคัญผิดในความคิดของตน คนเหล่านี้ มักพูดแทรกในขณะที่คนอื่นพูดหรือไม่ยอมฟังความคิดของบุคคลอื่นให้จบ
7. โกรธง่าย
คนโกรธง่ายมักนำมาซึ่งการทะเลาะวิวาทหรือทำให้ผู้อื่นเจ็บซ้ำใจหรือไม่สบายใจ คนเหล่านี้
เมื่อได้รับการกระทำต่อที่ทำให้ร่างกายหรือจิตใจเจ็บช้ำ ก็ย่อมตอบสนองด้วยความโกรธได้ง่าย
ทั้งในลักษณะของการใช้กำลังโต้ตอบ การใช้วาจาโต้ตอบ แต่หากไม่ตู้ตอบขณะนั้น
ก็มักผูกจิตพยาบาทหวังจะเอาคืนในภายหน้า
7. โกรธง่าย
คนโกรธง่ายมักนำมาซึ่งการทะเลาะวิวาทหรือทำให้ผู้อื่นเจ็บซ้ำใจหรือไม่สบายใจ คนเหล่านี้
เมื่อได้รับการกระทำต่อที่ทำให้ร่างกายหรือจิตใจเจ็บช้ำ ก็ย่อมตอบสนองด้วยความโกรธได้ง่าย
ทั้งในลักษณะของการใช้กำลังโต้ตอบ การใช้วาจาโต้ตอบ แต่หากไม่ตู้ตอบขณะนั้น ก็มักผูกจิตพยาบาทหวังจะเอาคืนในภายหน้า
8. ดื่มสุรา และเที่ยวเตร่เป็นนิจ
ดื่มสุรา และเที่ยวเตร่เป็นนิจ คนเหล่านี้ สังเกตไม่ยาก เพราะมักไม่อยู่บ้านช่องในยามราตรี
กลับมาทีไรมักมึนเมามาตลอด และมักพักนอนในยามกลางวัน หากวันใดไม่ได้ออกจากบ้านมักอยู่ไม่เป็นสุข
9. เป็นคนขี้เกียจ
คนขี้เกียจมักกล่าวอ้างว่าติดธุระอย่างโน้นอย่างนี้ ว่าอย่างนี้ทำแล้วไม่ถูก ไม่สำเร็จ
ทั้งที่ยังไม่ได้ลองทำดู คนเหล่านี้ มักชื่นชอบความสุขสำราญเป็นนิจ เมื่อขี้เกียจก็มักหากิจในเรื่องบันเทิงใจทำเป็นนิจ
10. ทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ
คนไม่ทำกิจที่เป็นประโยชน์แก่ตน และผู้อื่น มักเป็นคนขี้เกียจ และชอบสุขสำราญ มักกล่าวอ้างอย่างโน้นอย่างนี้
และมักทำในสิ่งรื่นเริงบันเทิงเป็นกิจ
โทษของการเป็นคนพาล และการคบคนพาล
1. จิตใจมีความทุกข์ รู้สึกอึดอัดใจ
2. ถูกมองในแง่ร้าย ไม่ได้รับความไว้วางใจ
3. เป็นผู้หลงผิด และถูกชักนำไปในทางที่ผิดได้ง่าย
4. ถูกนินทาว่าร้าย และถูกดูหมิ่นดูแคลน
5. เสื่อมเสียชื่อเสียง
6. การงานไม่ประสบผลสำเร็จ
7. ไม่มีใครคบ เข้ากับผู้อื่นได้ยาก
8. มักพบแต่ความเสื่อม ความหายนะ
9. เกิดภัยอันตรายแก่ตนเอง และบุคคลรอบข้าง
10. เมื่อตายไปแล้ว ย่อมจุติในนรกภูมิ
ประโยชน์การไม่คบคนพาล
1. ประโยชน์แก่ตน
ประโยชน์แก่ตน อันได้แก่ การยังให้ตนเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ คือ เป็นผู้มีความเห็นชอบ รู้จักคิดถูก รู้แจ้ง และเท่าทันโลก ไม่เป็นผู้ถูกหลอกได้ง่าย อันนำไปสู่การประพฤติตนในทางชอบธรรมภายใต้ศีลธรรมอันดีงาม ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ และความสุขในการดำเนินชีวิต
2. ประโยชน์แก่ผู้อื่น
ประโยชน์แก่ผู้อื่น หมายถึง ประโยชน์ที่เกิดแก่บุคคลรอบข้าง อาทิ ภรรยา และบุตร ปู่ย่า ตายาย และวงศาคณาญาติ มิตรสหาย และเพื่อนร่วมงาน รวมถึงบุคคลที่รู้จักหรือคบค้าสมาคม บุคคลเหล่านี้ ย่อมเป็นอยู่ห่างจากอบายมุข และภัยทั้งหลาย อันอาจจะเกิดจากตนที่จะนำพามาให้ ส่งผลต่อความสุข และความเจริญที่พร้อมจะยังให้เกิดขึ้น
3. ประโยชน์แก่สังคม
ประโยชน์แก่สังคม อันเกิดจากความผาสุก ความเจริญทั้งที่เกิดขึ้นกับตน และผู้อื่น อันถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งจะช่วยนำพาสังคมที่ตนอาศัยอยู่ และสังคมรอบข้างให้เกิดความสุข ความเจริญร่วมด้วย
http://thaihealthlife.com
คนพาล มาจากภาษาบาลีคำว่า พาโล หมายถึง คนเขลา คนอ่อนทางสติปัญญา รวมถึง คนที่มีจิตใจอันขุ่นมัว ไม่ประพฤติในศีลธรรมอันดีงาม ซึ่งการคบคนพาลถือเป็นวิถีทางที่จะนำพาชีวิตไปสู่ความเขลา
ความเสื่อม และปิดทางแห่งความเจริญแก่ตน แต่หากไม่คบคนพาลย่อมเป็นวิถีแห่งบัณฑิตที่จะนำมาซึ่งสติปัญญา
และความเจริญรุ่งเรืองในการดำเนินชีวิต
การไม่คบคนพาล หมายถึง การไม่ไปมาหาสู่ การไม่คบหาสมาคม การไม่เข้าตีสนิท หรือการไม่เป็นเพื่อนร่วมคิดร่วมทำกับผู้ที่ประกอบด้วยอกุศลหรือผู้ที่ประพฤติชั่วเป็นนิจ รวมถึงการไม่มีพฤติกรรมอย่างคนพาล
ความหมายที่ครอบคลุมของคนพาล
– คนเขลา
– คนอ่อนทางสติปัญญา
– คนที่ไม่เชื่อในเหตุ และผล
– คนโกรธง่าย คนหลงง่าย คนโลภง่าย
– คนที่มีจิตใจอันขุ่นมัว
– คนทำผิดศีลเป็นนิจ
– คนที่ไม่ประพฤติในศีลธรรมอันดีงาม
– คนที่คอยเบียดเบียน และห่มเหงคนอื่น
– ฯลฯ
ประเภทของคนพาล
1. คนพาลเทียม คือ คนพาลทั่วไปที่มักหลงผิดเพียงชั่วครั้งชั่วคราว เพียงเพราะความเขลาหรือการหลงเชื่อผู้อื่นโดยง่าย คนพาลประเภทนี้ หากรู้จักคบบัณฑิตหรือได้รับความรู้ ได้รับการเสนอแนะ และชี้นำในทางที่ถูก ก็ย่อมกลับมาเป็นบัณฑิตหรือคนดีได้ง่าย
2. คนพาลแท้ คือ คนพาลหยั่งลึกด้วยความเขลาที่จัดเป็นบัวอยู่ในโคลนตม ถึงแม้จะรู้จักบัณฑิตหรือได้รับความรู้ ได้รับการอบรมเพียงใด ก็ไม่สามารถที่จะปรับความคิด ปรับการกระทำได้ เรียกได้ว่า เป็นคนพาลอย่างแท้จริง
ลักษณะของคนพาล 3 ประการ
1. คนที่มีกายทุจริต หมายถึง คนที่ประพฤติชั่วด้วยกายเป็นนิจ ได้แก่
– คนฆ่าสัตว์
– คนประพฤติผิดในกาม
– คนลักทรัพย์
– คนดื่มสุรา และเที่ยวเตร่สตรี
– คนที่เบียดเบียนห่มเหงผู้อื่น
– ฯลฯ
2. คนที่มีวาจาทุจริต หมายถึง คนที่ประพฤติชั่วด้วยวาจาเป็นนิจ ได้แก่
– คนพูดปด
– คนพูดคำหยาบ
– คนพูดส่อเสียด
– คนพูดยุยงให้แตกแยก
– คนพูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ
– พูดสับปับ
– ฯลฯ
3. คนที่มีใจทุจริต หมายถึง คนที่มีจิตใจเป็นอกุศลเป็นนิจ ได้แก่
– คนที่มีใจคิดพยาบาท
– คนที่ชอบคิดในกาม
– คนที่ไม่เชื่อ และหลบหลู่ศาสนา
– คนที่มักมีอคติที่ไม่ดีต่อผู้อื่น
– ฯลฯ
คนพาลในสมัยพุทธกาล ได้แก่
– เทวทัต
– โกกาลิกะ
– กฎโมทกะ
– ติสสขัณฑาเทวีบุตร
– สมุทททัตตะ
– นางจิญจมาณวิกา
– ฯลฯ
วิธีสังเกตคนพาล
1. ฆ่าสัตว์ ทำร้ายสัตว์เพื่อความสนุก
ผู้ที่มีพฤติกรรมชอบฆ่าสัตว์หรือทำร้ายสัตว์ให้ทรมานเพียงเพื่อความสนุก มักเป็นผู้ที่นิสัยใจนักเลง ชอบความรุนแรง
ห่มเหงรังเกผู้อื่นเป็นนิจ และเมื่อได้เห็นผู้อื่นได้รับทุกข์แล้วก็มักไม่สะเทือนใจหรือเห็นใจในความทุกข์ที่ผู้อื่นได้รับ
และหากไม่สมดั่งหวังก็มักมีจิตใจผูกพยาบาทเป็นนิจ คนเหล่านี้ อาจสังเกตได้จาก
พฤติกรรมการเป็นนักเลงที่มักก่อการทะเลาะวิวาทบ่อยครั้ง ผู้ที่ชอบจับสัตว์มาทรมาน เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้ฆ่าสัตว์หรือจับสัตว์เพียงเพื่อการยังชีพให้ถือละเว้นจากการเป็นคนพาล
2. มีจิตใจผูกพยาบาท
ผู้ที่มีจิตใจผูกพยาบาทนี้ จะพบได้ในคนที่เบียดเบียนผู้อื่นๆเพียงเพื่อให้ตนเป็นผู้กระทำบ้างหลังจากที่เคยถูกกระทำมาแล้ว
หรือเรียกง่ายๆว่า การล้างแค้น หรือ การเอาคืน สิ่งเหล่านี้ มักเกิดทั้งในหมู่นักเลง การงาน และการค้าขายธุรกิจ เป็นต้น
ทั้งนี้ คนเหล่านี้จะค่อนข้างสังเกตยากเพราะเป็นมโนธรรม จนกว่าจะแสดงพฤติกรรมการเอาคืนออกมา
แต่อาจสังเกตได้จากคำพูดที่มักกล่าวพยาบาทว่าไว้หรือสายตาที่มองด้วยความไม่เป็นมิตร
3. หวังแต่ผลประโยชน์แก่ตน
ผู้ที่หวังประโยชน์แก่ตน มักกระทำผ่านทั้งทางกาย อาทิ การฉ้อโกง การลักทรัพย์ การหลอกลวง
การให้สินบน และทางวาจา อาทิ การพูดหว่านล้อมให้เชื่อ การพูดยกยอเพื่อให้มอบรางวัลหรือของกำนันให้
นอกจากนั้น มักใช้วิธีการอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ที่ตนต้องการ อาทิ การใช้กำลังห่มเหง การปล้นจี้ เป็นต้น
4. เอาแต่ตัวรอด
ผู้ที่มีนิสัยเอาแต่ตัวรอด มักเป็นผู้ที่คอยปัดความผิดที่เกิดจากตนไปให้ผู้อื่นแทน
ทั้งการพูดใส่ร้าย การให้หลักฐานเท็จ นอกจากนั้น ผู้ที่มีลักษณะแบบนี้ มักหวงแหนในข้าวของ
ข้าวปลาอาหารเมื่อตนเองเกิดความทุกข์ยากหรืออดอยาก
5. หลอกลวง โกหก
ผู้ที่ชอบหลอกลวงหรือพูดโกหกเป็นนิจ เกิดขึ้นในหลายด้าน อาทิ การมุ่งหวังประโยชน์แก่ตน
การมุ่งหวังพยาบาทให้ผู้อื่นได้รับทุกข์ การมุ่งหวังเพื่อความสนุกคะนองใจ เป็นต้น คนเหล่านี้
มักพูดจากระตุกกระตัก พูดเอ่ออ่า พูดวกไปวนมา สายตาไม่อยู่กับที่ แต่บางคนอาจข่มอาการเหล่านี้ได้
จนกว่าจะมีหลักฐานจับได้จึงจะรู้
6. หัวดื้อ ไม่ยอมฟังผู้อื่น
คนดื้อรั้ง มักเป็นคนที่มีความมั่นใจในตนเองสูง เพียงเพราะเชื่อว่าตนเป็นคนเก่ง เป็นผู้มีความรู้มากกว่าจึงไม่ยอมรับฟังผู้อื่นได้ง่าย
หรือ เป็นคนเขลาที่ไม่รู้เท่าทันโลก ไม่รู้เท่าทันสังคม เพราะเชื่อว่าตนเองสามารถเอาตัวรอดได้
หรือ สำคัญผิดในความคิดของตน คนเหล่านี้ มักพูดแทรกในขณะที่คนอื่นพูดหรือไม่ยอมฟังความคิดของบุคคลอื่นให้จบ
7. โกรธง่าย
คนโกรธง่ายมักนำมาซึ่งการทะเลาะวิวาทหรือทำให้ผู้อื่นเจ็บซ้ำใจหรือไม่สบายใจ คนเหล่านี้
เมื่อได้รับการกระทำต่อที่ทำให้ร่างกายหรือจิตใจเจ็บช้ำ ก็ย่อมตอบสนองด้วยความโกรธได้ง่าย
ทั้งในลักษณะของการใช้กำลังโต้ตอบ การใช้วาจาโต้ตอบ แต่หากไม่ตู้ตอบขณะนั้น
ก็มักผูกจิตพยาบาทหวังจะเอาคืนในภายหน้า
7. โกรธง่าย
คนโกรธง่ายมักนำมาซึ่งการทะเลาะวิวาทหรือทำให้ผู้อื่นเจ็บซ้ำใจหรือไม่สบายใจ คนเหล่านี้
เมื่อได้รับการกระทำต่อที่ทำให้ร่างกายหรือจิตใจเจ็บช้ำ ก็ย่อมตอบสนองด้วยความโกรธได้ง่าย
ทั้งในลักษณะของการใช้กำลังโต้ตอบ การใช้วาจาโต้ตอบ แต่หากไม่ตู้ตอบขณะนั้น ก็มักผูกจิตพยาบาทหวังจะเอาคืนในภายหน้า
8. ดื่มสุรา และเที่ยวเตร่เป็นนิจ
ดื่มสุรา และเที่ยวเตร่เป็นนิจ คนเหล่านี้ สังเกตไม่ยาก เพราะมักไม่อยู่บ้านช่องในยามราตรี
กลับมาทีไรมักมึนเมามาตลอด และมักพักนอนในยามกลางวัน หากวันใดไม่ได้ออกจากบ้านมักอยู่ไม่เป็นสุข
9. เป็นคนขี้เกียจ
คนขี้เกียจมักกล่าวอ้างว่าติดธุระอย่างโน้นอย่างนี้ ว่าอย่างนี้ทำแล้วไม่ถูก ไม่สำเร็จ
ทั้งที่ยังไม่ได้ลองทำดู คนเหล่านี้ มักชื่นชอบความสุขสำราญเป็นนิจ เมื่อขี้เกียจก็มักหากิจในเรื่องบันเทิงใจทำเป็นนิจ
10. ทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ
คนไม่ทำกิจที่เป็นประโยชน์แก่ตน และผู้อื่น มักเป็นคนขี้เกียจ และชอบสุขสำราญ มักกล่าวอ้างอย่างโน้นอย่างนี้
และมักทำในสิ่งรื่นเริงบันเทิงเป็นกิจ
โทษของการเป็นคนพาล และการคบคนพาล
1. จิตใจมีความทุกข์ รู้สึกอึดอัดใจ
2. ถูกมองในแง่ร้าย ไม่ได้รับความไว้วางใจ
3. เป็นผู้หลงผิด และถูกชักนำไปในทางที่ผิดได้ง่าย
4. ถูกนินทาว่าร้าย และถูกดูหมิ่นดูแคลน
5. เสื่อมเสียชื่อเสียง
6. การงานไม่ประสบผลสำเร็จ
7. ไม่มีใครคบ เข้ากับผู้อื่นได้ยาก
8. มักพบแต่ความเสื่อม ความหายนะ
9. เกิดภัยอันตรายแก่ตนเอง และบุคคลรอบข้าง
10. เมื่อตายไปแล้ว ย่อมจุติในนรกภูมิ
ประโยชน์การไม่คบคนพาล
1. ประโยชน์แก่ตน
ประโยชน์แก่ตน อันได้แก่ การยังให้ตนเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ คือ เป็นผู้มีความเห็นชอบ รู้จักคิดถูก รู้แจ้ง และเท่าทันโลก ไม่เป็นผู้ถูกหลอกได้ง่าย อันนำไปสู่การประพฤติตนในทางชอบธรรมภายใต้ศีลธรรมอันดีงาม ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ และความสุขในการดำเนินชีวิต
2. ประโยชน์แก่ผู้อื่น
ประโยชน์แก่ผู้อื่น หมายถึง ประโยชน์ที่เกิดแก่บุคคลรอบข้าง อาทิ ภรรยา และบุตร ปู่ย่า ตายาย และวงศาคณาญาติ มิตรสหาย และเพื่อนร่วมงาน รวมถึงบุคคลที่รู้จักหรือคบค้าสมาคม บุคคลเหล่านี้ ย่อมเป็นอยู่ห่างจากอบายมุข และภัยทั้งหลาย อันอาจจะเกิดจากตนที่จะนำพามาให้ ส่งผลต่อความสุข และความเจริญที่พร้อมจะยังให้เกิดขึ้น
3. ประโยชน์แก่สังคม
ประโยชน์แก่สังคม อันเกิดจากความผาสุก ความเจริญทั้งที่เกิดขึ้นกับตน และผู้อื่น อันถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งจะช่วยนำพาสังคมที่ตนอาศัยอยู่ และสังคมรอบข้างให้เกิดความสุข ความเจริญร่วมด้วย
http://thaihealthlife.com
โลกธรรม 8 ประการ
โลกธรรม 8 ประการ
1. อิฏฐารมณ์ คือ สิ่งที่ต้องตามปรารถนาหรือสิ่งที่น่าพอใจ 4 ประการ คือ
– ลาภะ คือ การมีลาภ
– ยสะ คือ การมียศ
– ปสังสะ คือ การมีคำสรรเสริญ/ยินยอ
– สุขะ คือ การมีความสุข
2. อนิฏฐารมณ์ คือ สิ่งที่ไม่เป็นไปตามปรารถนา หรือ สิ่งที่ไม่พึงพอใจ 4 ประการ คือ
– อลาภะ คือการเสื่อมในลาภ
– อยสะ คือ การเสื่อมในยศ
– นินทะ คือ การมีคำนินทา
– ทุกขะ คือ การมีความทุกข์
โลกธรรม 8 ประการ
1. การมีลาภ แห่งโลกธรรม 8 คือ การได้มาซึ่งทรัพย์สิน เงิน ทอง โภชนะ และปัจจัยทั้งหลายตามสิ่งที่ตนปราถนา ทั้งที่ได้มาด้วยความสุจริตหรือทุจริต เช่น การถูกหวยรางวัลที่ 1
2. การมียศ แห่งโลกธรรม 8 คือ การได้มาซึ่งสมมติสัจจะ คือ นามที่เขาตั้งให้ เพื่อเป็นนามกำหนดในบทบาทหน้าที่ของตนในสังคม เช่น เป็นตำรวจ เป็นครู เป็นนายอำเภอ เป็นต้น
3. การมีคำสรรเสริญ/ยินยอ แห่งโลกธรรม 8 คือ คำกล่าวที่เขาพูดถึงตนด้วยความบริสุทธิ์ใจในการเชิดชูต่อความดีหรือสิ่งที่ตนได้กระทำเพื่อผู้อื่น สิ่งนี้เรียกว่า คำสรรเสริญ ส่วนคำกล่าวที่เขาพูดถึงตนด้วยความไม่บริสุทธิ์ใจ หรือการแกล้งกล่าว เพียงเพื่อหวังประโยชน์แก่เขา สิ่งนี้ เรียกว่า การยินยอ
4. การมีความสุข แห่งโลกธรรม 8 คือ ความอิ่มเอิบใจในสิ่งที่ได้มาตามความปรารถนาทั้ง 3 ประการ ข้างต้น นอกจากนี้ ความสุขที่มีนั้น ยังครอบคลุมถึงความสุขทางใจในด้านอื่นๆ เช่น ความสุขจากการยินดีในความรัก ความสุขจากความสำเร็จในการงาน การเล่าเรียน เป็นต้น ไม่นับรวมกับความสุขหรือความยินดีในธรรม ซึ่งความสุขเหล่านี้ จัดเป็นความสุขที่ไม่ยั่งยืนเหมือนสิ่งที่ได้มาทั้ง 3 ประการ นั้น
โลกธรรม 4 ประการแรกนี้ จัดเป็นสิ่งที่น่าปรารถนาหรือน่ายินดี แต่ผู้ที่ได้มาพึงมีอนิจจังเป็นธรรมคู่ในใจ คือ ให้รู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมีความไม่เที่ยง มีเพิ่ม ย่อมมีลดหรือหมดหายไป ไม่สามารถคงอยู่กับเราได้ตลอดเวลา
5. การเสื่อมในลาภ แห่งโลกธรรม 8 คือ ความไม่เที่ยง และไม่คงอยู่ของลาภที่ได้มาทั้งปวง ลาภเหล่านั้น เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ย่อมมีวันลดน้อยหรือหมดไปจากตน เช่น เงิน ทอง หรือ ทรัพย์สินต่างๆ
6. การเสื่อมในยศ แห่งโลกธรรม 8 คือ ความไม่เที่ยง และไม่คงอยู่ของยศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้มาทั้งปวง ยศเหล่านั้น เป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ เป็นนามที่เพียงผู้อื่นเขาตั้งให้แทนตัวตนของเรา และยศเหล่านี้ย่อมหมดไปตามวาระการงานหรือหมดไปตามกายของตน
7. การมีคำนินทา แห่งโลกธรรม 8 คือ คำกล่าวที่ผู้อื่นกล่าวถึงตนในทางเสื่อมเสีย คำเหล่านี้ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของทุกคน แต่เป็นธรรมดาที่หากมีผู้รักย่อมมีผู้เกียจ และนินทาว่าร้าย เป็นของคู่กันกับคำสรรเสริญ/ยินยอ
8 การมีความทุกข์ คือ ความหม่อนหมองหรือขมขื่นใจที่เกิดจากการเสื่อมในลาภ ในยศ และในคำถูกกล่าวนินทา นอกจากนั้น ความทุกยังรวมถึงความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากด้านต่างๆ เช่น ความทุกข์จากคำด่าทอ ความทุกข์จากความผิดหวังในความรัก และความทุกข์จากการสูญเสียในสิ่งต่างๆ เป็นต้น
โลกธรรม 4 ประการหลังนี้ จัดเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาของทุกๆคน แต่ผู้ที่ต้องเผชิญกับความเสื่อมทั้ง 4 นี้ ก็ต้องพึงมีอนัตตา คือ ทุกสิ่งล้วนไม่มีตัวตน คือ ย่อมมีวันเสื่อมสลายไปตามอนิจจังอันเกิดจากความเที่ยงแท้ และสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นสิ่งที่ตนไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดให้คงอยู่ได้ดั่งใจต้องการ
โลกธรรมทั้ง 8 ประการนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เกิดกับทุกคนบนโลกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนใดคนหนึ่งแล้วย่อมทำให้เป็นที่น่ายินดี อันประกอบด้วย การเกิดลาภ การเกิดยศ การเกิดคำสรรเสริญหรือยินยอ และการเกิดความสุข แต่สิ่งทั้ง 4 ประการนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่มีความเที่ยงแท้ คือ ไม่มีสิ่งใดที่ยั่งยืนหรือคงอยู่ตลอดกาลเวลา จึงต้องมีวันที่จะเสื่อมหายหรือหมดไปในอนาคตภายหน้า คือ การเสื่อมลาภ การเสื่อมในยศ การเกิดคำนินทา และสุดท้าย คือ การเกิดความทุกข์ นั่นเอง
ท้ายสุดนี้ ผู้ที่พึงจะหลุดพ้นหรือคลายจากโลกธรรม 8 ประการเหล่านี้ได้ จึงพึงประกอบขึ้นด้วย ไตรลักษณ์ 3 ประการ
http://thaihealthlife.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ป้ายกำกับ
- กัลยาณธรรม
- กัลยาณมิตรธรรม 7 คืออะไร มีอะไรบ้าง
- (การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง)
- กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10
- กุศลกรรมบถ 10
- ขอเชิญร่วมบุญกินอิ่มนอนอุ่นปี7 เพื่อพี่น้องชาวเขา
- ขอเชิญร่วมบุญทอดกฐิน ปั่นฝ้ายสายบุญจุลกฐิน
- ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ สะสมบุญใหญ่
- คาถาขอนิมิตรลาภ หลวงปู่หมุน ๑๐๘ จบ | หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล นะโมฯ ๓ จบ
- คาถาเงินล้าน
- คาถาเงินล้าน ของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
- คาถาเงินล้าน หลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุง
- คาถาเจ้านายเมตตา
- คาถาถูกหวย (108จบ) | หลวงปู่สรวง
- คาถาท้าวเวสสุวรรณ
- คาถานะหน้าทอง
- คาถาบูชาพระแก้วมรกต หรือ คาถาบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
- คาถาบูชาพระเจ้า ๕ พระองค์(คาถาบูชาหลวงพ่อโสธร)
- คาถาบูชาพระบัวเข็ม สวดภาวนาจะให้ผลในด้านโชคลาภและค้าขาย
- คาถาบูชาพระสีวลี
- คาถาบูชา เสด็จพ่อ รัชกาลที่ 5
- คาถาบูชาหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน
- คาถาบูชา หลวงพ่อเดิมหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
- คาถาบูชา หลวงพ่อพัฒน์ แบบ ย่อ
- คาถาบูชาหลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม
- คาถาบูชาหลวงพ่อวัดเขาตะเครา
- คาถา พระพุทธเจ้าชนะมาร (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
- คาถามหานิยม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
- คาถามหานิยม หลวงพ่อเดิม
- คาถามหาเมตตาใหญ่
- คาถามหาลาภ
- คาถามหาเสนห์ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
- คาถาเมตตามหานิยม
- คาถาเรียกเงิน เสริมทรัพย์ (หลวงพ่อปาน )