บทสวด คาถาบูชา เสด็จพ่อ รัชกาลที่ 5



คาถาบูชา เสด็จพ่อ รัชกาลที่ 5 




เครื่องสักการะให้ถวาย


1. น้ำมะพร้าวอ่อน

2. กล้วยน้ำว้า

3. ทองหยิบ

4. ทองหยอด

5. บรั่นดี

6. ซิการ์

7. ข้าวคลุกกะปิ

8. ดอกกุหลาบสีชมพู


วิธีการบูชา


           สำหรับผู้บูชาครั้งแรกให้จุดธูป 16 ดอก ส่วนครั้งต่อไปจุด 9 ดอก ว่าคาถาดังนี้


พระคาถาบูชาดวงวิญญาณเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5


           "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" (3 จบ) 

           "พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ" (กล่าว 3 ครั้ง)



พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง แบบย่อ

           "พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ" หรือแบบเต็ม "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)



           อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง"

พระคาถาอธิษฐานขอพร แต่ห้ามบนบาน


           "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานัง จงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์ ปินันทิยัง นะมามินัง ความรัก ความยินดี ความเมตตา จงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม

           "ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (5 จบ) ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ...นามสกุล... ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง... อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ) พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่ง ๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่ง ๆ ขึ้น"

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : hilight.kapook.compalungjit.com 

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา  ( บาลี: วสฺส ,  สันสกฤต: วรฺษ ,
อังกฤษ: Vassa,  เขมร: វស្សា ,  พม่า: )
เป็น วันสำคัญในพุทธศาสนา วันหนึ่ง ที่ พระสงฆ์ เถรวาท
จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง
ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา ๓ เดือน
ตามที่ พระธรรมวินัย บัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น
หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า   จำพรรษา
(" พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน , " จำ" แปลว่า พักอยู่)




พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง 
ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การเข้าพรรษาตามปกติ
เริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี
(หรือเดือน ๘ หลัง ถ้ามีเดือน ๘ สองหน)
และสิ้นสุดลงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือ วันออกพรรษา

วันเข้าพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ) หรือเทศกาลเข้าพรรษา 
(วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ )
ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทาง พระพุทธศาสนา ที่สำคัญเทศกาลหนึ่ง
ใน ประเทศไทย  โดยมีระยะเวลาประมาณ ๓ เดือนในช่วง ฤดูฝน

วันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ที่ต่อเนื่อง มาจาก วันอาสาฬหบูชา ( วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาว ไทย
ทั้ง พระมหากษัตริย์ และคนทั่วไป ได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้ว
ตั้งแต่ สมัยสุโขทัย สาเหตุที่ พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง

ตลอด ๓ เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนา
ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหาย
จากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด ๓ เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่
จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระ ธรรม วินัย จากพระสงฆ์
ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง ๓ เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดี
ที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญ ใส่บาตร  ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ
คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย
เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชน

เมื่ออายุครบบวช (๒๐ ปี) จะนิยมถือ บรรพชา อุปสมบท เป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาล ทั้ง ๓ เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาล
ว่า "บวชเอาพรรษา" นอกจากนี้ ในปี   พ.ศ. ๒๕๕๑  รัฐบาล ไทย ได้ประกาศให้วันเข้าพรรษา
เป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ"   โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษา เป็นวันห้ามขายเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ ทั่วราชอาณาจักร   ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุรา
ในวันเข้าพรรษาและในช่วง ๓ เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย
สำหรับในปี   พ.ศ. ๒๕๕๖  นี้ วันเข้าพรรษาตรงกับ   วันอังคาร ที่   ๒๓ กรกฎาคม  ตามปฏิทินสุริยคติ

ขอขอบคุณที่มา : http://www.watpamahachai.net

วันอาสาฬหบูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา   ( บาลี:   อาสาฬหปูชา ;   อักษรโรมัน: Asalha Puja)
เป็น วันสำคัญทางศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท และวันหยุดราชการใน ประเทศไทย 
คำว่า   อาสาฬหบูชา   ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า
"การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตาม ปฏิทิน
ของ ประเทศอินเดีย   ตรงกับ วันเพ็ญ   เดือน ๘ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย
ซึ่งมักจะตรงกับ เดือนมิถุนายน หรือ เดือนกรกฎาคม   แต่ถ้าใน ปีใดมีเดือน ๘ สองหน 
ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน ๘ หลังแทน



วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ ปี ก่อน พุทธศักราช 
ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ
ณ   ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมือง พาราณสี   แคว้นมคธ   อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ   ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร   แก่ปัญจวัคคีย์

การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ ๑ ใน ๕   ปัญจวัคคีย์ 
เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรม
หรือบรรลุเป็น พระอริยบุคคล ระดับ โสดาบัน   ท่านจึงขอ อุปสมบท
ในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา   พระอัญญาโกณฑัญญะ
จึงกลายเป็น พระสงฆ์ องค์แรกในโลก และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรม
เป็นพระอริยบุคคล ( อนุพุทธะ)เป็นคนแรก๖

จึงทำให้ในวันนั้นมี พระรัตนตรัย ครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก
คือ มีทั้ง พระพุทธ   พระธรรม และ พระสงฆ์   ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม"
หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก
และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย

เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน ๘ หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธ เถรวาท มาก่อน
จนมาในปี   พ.ศ. ๒๕๐๑ การบูชาในเดือน ๘ หรือวันอาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย
ตามที่ คณะสังฆมนตรี   ได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
เมื่อ   พ.ศ. ๒๕๐๑   โดยคณะสังฆมนตรีได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทาง พุทธศาสนา
ในประเทศไทย ตามคำแนะนำของ   พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)   โดยคณะสังฆมนตรี
ได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายก เมื่อวันที่   ๑๔ กรกฎาคม   พ.ศ. ๒๕๐๑

กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชา
ขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับ วันวิสาขบูชา
อันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล

อย่างไรก็ตาม วันอาสาฬหบูชาถือเป็นวันสำคัญที่กำหนดให้กับวันหยุดของรัฐ
เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่น ๆ
ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชาเทียบเท่ากับ วันวิสาขบูชา

ความสำคัญ
วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก
จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศ พระพุทธศาสนา แก่ชาวโลก
และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง
แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์

ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์
คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ"
คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้
ซึ่งแตกต่างจาก " พระปัจเจกพุทธเจ้า" ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ
แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้
ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระธรรม"

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่าน โกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรม
สำเร็จพระ โสดาบัน เป็น พระอริยบุคคล คนแรก และ
ได้รับประทานเอหิภิกขุ อุปสมบทเป็น พระสงฆ์ องค์แรกในพระศาสนา
และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรก
ในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก

ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระสงฆ์"
ดังนั้น วันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวัน
ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาดังกล่าว ซึ่งควรพิจารณา
เหตุผลโดยสรุปจากประกาศสำนักสังฆนายกเรื่องกำหนดพิธีอาสาฬหบูชา
ที่ได้สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาไว้โดยย่อ ดังนี้

เหตุการณ์สำคัญ
ที่เกิดในวันอาสาฬหบูชาในพระพุทธประวัติ
หลังจากได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖   ณ   ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แล้ว
พระองค์ได้ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่บริเวณ สัตตมหาสถาน โดยรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลาถึง ๗ สัปดาห์

และในขณะทรงนั่งประทับเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๕ หลังการตรัสรู้ ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ได้ทรงมานั่งคำนึงว่าสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นของลึกซึ้ง คนจะรู้และเข้าใจตามได้ยาก
ตามความในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ว่า

... บัดนี้ ไม่สมควรที่เราจะประกาศธรรมที่เราตรัสรู้ เพราะธรรมที่เราตรัสรู้นั้น
เป็นสิ่งที่คนทั่วไป ที่ถูกราคะ โทสะครอบงำอยู่จะไม่สามารถมองเห็นได้โดยง่าย ,
คนที่ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองมืด (คืออวิชชา) หุ้มไว้มิดทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถ
ที่จะเข้าใจธรรมะของเรา ที่เป็นสิ่งทวนกระแส (อวิชชา) ที่มีสภาพลึกซึ้ง ละเอียดเช่นนี้ได้เลย...

(มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม)

ขอขอบคุณที่มา : http://www.watpamahachai.net ,  dhammathai.org, วิกิพีเดีย

ป้ายกำกับ