โลกธรรม 8 ประการ


โลกธรรม 8 ประการ



โลกธรรม 8 ประการ หมายถึง ความเป็นไปตามความจริงของชีวิตที่มีอยู่บนโลก หรือ ธรรมอันเป็นความจริงของทุกชีวิตบนโลก แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. อิฏฐารมณ์ คือ สิ่งที่ต้องตามปรารถนาหรือสิ่งที่น่าพอใจ 4 ประการ คือ
– ลาภะ คือ การมีลาภ
– ยสะ คือ การมียศ
– ปสังสะ คือ การมีคำสรรเสริญ/ยินยอ
– สุขะ คือ การมีความสุข
2. อนิฏฐารมณ์ คือ สิ่งที่ไม่เป็นไปตามปรารถนา หรือ สิ่งที่ไม่พึงพอใจ 4 ประการ คือ
– อลาภะ คือการเสื่อมในลาภ
– อยสะ คือ การเสื่อมในยศ
– นินทะ คือ การมีคำนินทา
– ทุกขะ คือ การมีความทุกข์

โลกธรรม 8 ประการ
1. การมีลาภ แห่งโลกธรรม 8 คือ การได้มาซึ่งทรัพย์สิน เงิน ทอง โภชนะ และปัจจัยทั้งหลายตามสิ่งที่ตนปราถนา ทั้งที่ได้มาด้วยความสุจริตหรือทุจริต เช่น การถูกหวยรางวัลที่ 1
2. การมียศ แห่งโลกธรรม 8 คือ การได้มาซึ่งสมมติสัจจะ คือ นามที่เขาตั้งให้ เพื่อเป็นนามกำหนดในบทบาทหน้าที่ของตนในสังคม เช่น เป็นตำรวจ เป็นครู เป็นนายอำเภอ เป็นต้น
3. การมีคำสรรเสริญ/ยินยอ แห่งโลกธรรม 8 คือ คำกล่าวที่เขาพูดถึงตนด้วยความบริสุทธิ์ใจในการเชิดชูต่อความดีหรือสิ่งที่ตนได้กระทำเพื่อผู้อื่น สิ่งนี้เรียกว่า คำสรรเสริญ ส่วนคำกล่าวที่เขาพูดถึงตนด้วยความไม่บริสุทธิ์ใจ หรือการแกล้งกล่าว เพียงเพื่อหวังประโยชน์แก่เขา สิ่งนี้ เรียกว่า การยินยอ
4. การมีความสุข แห่งโลกธรรม 8 คือ ความอิ่มเอิบใจในสิ่งที่ได้มาตามความปรารถนาทั้ง 3 ประการ ข้างต้น นอกจากนี้ ความสุขที่มีนั้น ยังครอบคลุมถึงความสุขทางใจในด้านอื่นๆ เช่น ความสุขจากการยินดีในความรัก ความสุขจากความสำเร็จในการงาน การเล่าเรียน เป็นต้น ไม่นับรวมกับความสุขหรือความยินดีในธรรม ซึ่งความสุขเหล่านี้ จัดเป็นความสุขที่ไม่ยั่งยืนเหมือนสิ่งที่ได้มาทั้ง 3 ประการ นั้น

โลกธรรม 4 ประการแรกนี้ จัดเป็นสิ่งที่น่าปรารถนาหรือน่ายินดี แต่ผู้ที่ได้มาพึงมีอนิจจังเป็นธรรมคู่ในใจ คือ ให้รู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมีความไม่เที่ยง มีเพิ่ม ย่อมมีลดหรือหมดหายไป ไม่สามารถคงอยู่กับเราได้ตลอดเวลา

5. การเสื่อมในลาภ แห่งโลกธรรม 8 คือ ความไม่เที่ยง และไม่คงอยู่ของลาภที่ได้มาทั้งปวง ลาภเหล่านั้น เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ย่อมมีวันลดน้อยหรือหมดไปจากตน เช่น เงิน ทอง หรือ ทรัพย์สินต่างๆ
6. การเสื่อมในยศ แห่งโลกธรรม 8 คือ ความไม่เที่ยง และไม่คงอยู่ของยศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้มาทั้งปวง ยศเหล่านั้น เป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ เป็นนามที่เพียงผู้อื่นเขาตั้งให้แทนตัวตนของเรา และยศเหล่านี้ย่อมหมดไปตามวาระการงานหรือหมดไปตามกายของตน
7. การมีคำนินทา แห่งโลกธรรม 8 คือ คำกล่าวที่ผู้อื่นกล่าวถึงตนในทางเสื่อมเสีย คำเหล่านี้ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของทุกคน แต่เป็นธรรมดาที่หากมีผู้รักย่อมมีผู้เกียจ และนินทาว่าร้าย เป็นของคู่กันกับคำสรรเสริญ/ยินยอ
8 การมีความทุกข์ คือ ความหม่อนหมองหรือขมขื่นใจที่เกิดจากการเสื่อมในลาภ ในยศ และในคำถูกกล่าวนินทา นอกจากนั้น ความทุกยังรวมถึงความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากด้านต่างๆ เช่น ความทุกข์จากคำด่าทอ ความทุกข์จากความผิดหวังในความรัก และความทุกข์จากการสูญเสียในสิ่งต่างๆ เป็นต้น

โลกธรรม 4 ประการหลังนี้ จัดเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาของทุกๆคน แต่ผู้ที่ต้องเผชิญกับความเสื่อมทั้ง 4 นี้ ก็ต้องพึงมีอนัตตา คือ ทุกสิ่งล้วนไม่มีตัวตน คือ ย่อมมีวันเสื่อมสลายไปตามอนิจจังอันเกิดจากความเที่ยงแท้ และสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นสิ่งที่ตนไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดให้คงอยู่ได้ดั่งใจต้องการ

โลกธรรมทั้ง 8 ประการนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เกิดกับทุกคนบนโลกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนใดคนหนึ่งแล้วย่อมทำให้เป็นที่น่ายินดี อันประกอบด้วย การเกิดลาภ การเกิดยศ การเกิดคำสรรเสริญหรือยินยอ และการเกิดความสุข แต่สิ่งทั้ง 4 ประการนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่มีความเที่ยงแท้ คือ ไม่มีสิ่งใดที่ยั่งยืนหรือคงอยู่ตลอดกาลเวลา จึงต้องมีวันที่จะเสื่อมหายหรือหมดไปในอนาคตภายหน้า คือ การเสื่อมลาภ การเสื่อมในยศ การเกิดคำนินทา และสุดท้าย คือ การเกิดความทุกข์ นั่นเอง

ท้ายสุดนี้ ผู้ที่พึงจะหลุดพ้นหรือคลายจากโลกธรรม 8 ประการเหล่านี้ได้ จึงพึงประกอบขึ้นด้วย ไตรลักษณ์ 3 ประการ

http://thaihealthlife.com

บทสวดมนต์ อิติปิโส 108 เสริมบุญบารมี



บทสวดมนต์ อิติปิโส 108 เสริมบุญบารมี



อิติปิโส ภะคะวา, อะระหัง, สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, 
สุคะโต, โลกะวิทู,
อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมนุสสานัง, พุทโธ, ภะคะวาติ.
คำแปล
เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, เป็นผู้ไกลจากกิเลส, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น
ผู้เบิกบานด้วยธรรม, เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์


บทสวด ชุมนุมเทวดา






บทสวด ชุมนุมเทวดา

(ถ้าจะสวดเจ็ดตำนานใช้)
สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง
ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ
ผะริต๎วานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา
อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ

(ถ้าจะใช้สิบสองตำนานใช้)
สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา
สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง

(ต่อจากนี้ใช้เหมือนกันทั้ง ๗ ตำนาน และ ๑๒ ตำนาน)
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเปรัฏเฐ จะ คาเม
ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม
ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ฯ
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกะโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ฯ

ชุมนุมเทวดา แปล

(ถ้าจะสวดเจ็ดตำนานใช้)
สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง
ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ
ผะริต๎วานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา
อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ
-ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีเมตตา จงแผ่ไมตรีจิต ด้วยคิดว่า
ขออานุภาพพระปริตร จงรักษาพระราชาผู้เป็นเจ้าแห่งนรชน
พร้อมด้วยราชสมบัติ พร้อมด้วยราชวงค์ พร้อมด้วยเสนามาตย์
แล้วอย่ามีจิตฟุ้งซ่าน ตั้งใจสวดพระปริตร

(ถ้าจะใช้สิบสองตำนานใช้)
สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา
-เทพยดาในรอบจักรวาลทั้งหลายจงมาประชุมกันในสถานที่นี้

สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง
-จงฟังซึ่งสัทธรรม อันให้สวรรค์และนิพพาน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งมุนี

(ต่อจากนี้ใช้เหมือนกันทั้ง ๗ ตำนาน และ ๑๒ ตำนาน)
สัคเค
-ข้าพเจ้าขออัญเชิญฝูงเทพยดา ซึ่งสิงสถิตอยู่ในฉกามาพจรสวรรค์

กาเม
- อยู่ในกามภพ

จะ รูเป
-อยู่ในรูปภพ คือ โสฬสมหาพรหม

คิริสิขะระตะเฏ
-อีกทั้งเทพยเจ้าซึ่งสิงสถิตอยู่ในภูผาห้วยเหว และคูหายอดคีรี

จันตะลิกเข วิมาเน
-อยู่ในอากาศวิมานมาศมณเฑียรทอง

ทีเปรัฏเฐ จะ คาเม
-สิงสถิตอยู่ในเกาะแก้วเมืองหลวง และพระนครใหญ่น้อย

ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
-สิงสถิตอยู่ในเคหะสถานบ้านน้อยและเมืองใหญ่ทั่วทุกชนบท

ภุมมา
-ซึ่งสิงสถิตปรากฎในโรงศาลพระภูมิเจ้าที่

จายันตุ เทวา
-ข้าพเจ้าขออัญเชิญให้เร่งรีบเข้ามาในเวลาวันนี้ ให้พร้อมกัน

ชะละถะละวิสะเม
-อีกทั้งเทพยเจ้า ซึ่งสิงสถิตอยู่ในห้วยหนองคลองบึง
บางแม่น้ำใหญ่ ไพรพฤกษาทุกหย่อมหญ้าลดาวัลย์ ที่เสมอกันก็ดี ที่ไม่เสมอกันก็ดี

ยักขะคันธัพพะนาคา
-ใช่แต่เท่านั้นเมื่อไร มีอีกทั้งยักษาคนธรรพ์ ครุฑ นาคา

ติฏฐันตา
-อีกทั้งเทพยเจ้าซึ่งสิงสถิตอยู่ในสถานใดๆ

สันติเก ยัง มุนิวะระจะนัง
-ข้าพเจ้าขออัญเชิญเข้ามายังสำนักแห่งนักปราชญ์ อาจสำแดงธรรม

สาธะโว เม สุณันตุ ฯ
-ดูก่อนสัปบุรุษพุทธบริษัททั้งหลายเอ๋ย ถึงเวลาฤกษ์งามยามดี

ธัมมัสสะวะนะกาโล
-ข้าพเจ้าขออัญเชิญให้เข้ามาสดับตรับฟังพระธรรมพร้อมกัน

อะยัมภะทันตา
-ดูก่อนท่านผู้ประเสริฐยอดยิ่งกว่ามนุษย์และเทวดา
ข้าพเจ้าขออัญเชิญมามั่วสุมประชุมให้พร้อมเพรียงกันในสถานที่นี้เถิด

ธัมมัสสะวะนะกาโล
-ข้าพเจ้าขออัญเชิญให้เข้ามาสดับตรับฟังพระธรรมพร้อมกัน

อะยัมภะทันตา
-ดูก่อนท่านผู้ประเสริฐยอดยิ่งกว่ามนุษย์และเทวดา
ข้าพเจ้าขออัญเชิญมามั่วสุมประชุมให้พร้อมเพรียงกันในสถานที่นี้เถิด

ธัมมัสสะวะนะกาโล
-ข้าพเจ้าขออัญเชิญให้เข้ามาสดับตรับฟังพระธรรมพร้อมกัน

อะยัมภะทันตา
-ดูก่อนท่านผู้ประเสริฐยอดยิ่งกว่ามนุษย์และเทวดา
ข้าพเจ้าขออัญเชิญมามั่วสุมประชุมให้พร้อมเพรียงกันในสถานที่นี้เถิด

...............................................
คัดลอกจาก หนังสือมนต์พิธีแปล
รวบรวมโดย พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวัณโณ)
วัดอรุณราชวราราม(คณะ๓) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
ที่มา : www.watpamahachai.net

ป้ายกำกับ