คาถาวาจาสิทธิ์พระร่วง

คาถาวาจาสิทธิ์พระร่วง





สำหรับคาถาวาจาสิทธิ์ ผู้ใช้ต้องประพฤติชอบทางวาจาอย่างสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผลได้ง่าย
ด้านล่างเป็นคาถาถอนเมื่อแช่งหรือด่าว่าครับ 🤝
อิมัง สัจจะวาจัง ปัจจุทะรามิ
ทุติ อิมังสัจจะวาจัง ปัจจุทะรามิ
ตะติ อิมังสัจจะวาจัง ปัจจุทะรามิ

ขอขอบคุณ ซินแส.com

บทสวด คาถาบูชา เสด็จพ่อ รัชกาลที่ 5



คาถาบูชา เสด็จพ่อ รัชกาลที่ 5 




เครื่องสักการะให้ถวาย


1. น้ำมะพร้าวอ่อน

2. กล้วยน้ำว้า

3. ทองหยิบ

4. ทองหยอด

5. บรั่นดี

6. ซิการ์

7. ข้าวคลุกกะปิ

8. ดอกกุหลาบสีชมพู


วิธีการบูชา


           สำหรับผู้บูชาครั้งแรกให้จุดธูป 16 ดอก ส่วนครั้งต่อไปจุด 9 ดอก ว่าคาถาดังนี้


พระคาถาบูชาดวงวิญญาณเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5


           "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" (3 จบ) 

           "พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ" (กล่าว 3 ครั้ง)



พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง แบบย่อ

           "พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ" หรือแบบเต็ม "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)



           อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง"

พระคาถาอธิษฐานขอพร แต่ห้ามบนบาน


           "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานัง จงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์ ปินันทิยัง นะมามินัง ความรัก ความยินดี ความเมตตา จงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม

           "ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (5 จบ) ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ...นามสกุล... ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง... อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ) พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่ง ๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่ง ๆ ขึ้น"

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : hilight.kapook.compalungjit.com 

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา  ( บาลี: วสฺส ,  สันสกฤต: วรฺษ ,
อังกฤษ: Vassa,  เขมร: វស្សា ,  พม่า: )
เป็น วันสำคัญในพุทธศาสนา วันหนึ่ง ที่ พระสงฆ์ เถรวาท
จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง
ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา ๓ เดือน
ตามที่ พระธรรมวินัย บัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น
หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า   จำพรรษา
(" พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน , " จำ" แปลว่า พักอยู่)




พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง 
ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การเข้าพรรษาตามปกติ
เริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี
(หรือเดือน ๘ หลัง ถ้ามีเดือน ๘ สองหน)
และสิ้นสุดลงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือ วันออกพรรษา

วันเข้าพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ) หรือเทศกาลเข้าพรรษา 
(วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ )
ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทาง พระพุทธศาสนา ที่สำคัญเทศกาลหนึ่ง
ใน ประเทศไทย  โดยมีระยะเวลาประมาณ ๓ เดือนในช่วง ฤดูฝน

วันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ที่ต่อเนื่อง มาจาก วันอาสาฬหบูชา ( วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาว ไทย
ทั้ง พระมหากษัตริย์ และคนทั่วไป ได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้ว
ตั้งแต่ สมัยสุโขทัย สาเหตุที่ พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง

ตลอด ๓ เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนา
ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหาย
จากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด ๓ เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่
จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระ ธรรม วินัย จากพระสงฆ์
ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง ๓ เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดี
ที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญ ใส่บาตร  ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ
คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย
เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชน

เมื่ออายุครบบวช (๒๐ ปี) จะนิยมถือ บรรพชา อุปสมบท เป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาล ทั้ง ๓ เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาล
ว่า "บวชเอาพรรษา" นอกจากนี้ ในปี   พ.ศ. ๒๕๕๑  รัฐบาล ไทย ได้ประกาศให้วันเข้าพรรษา
เป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ"   โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษา เป็นวันห้ามขายเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ ทั่วราชอาณาจักร   ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุรา
ในวันเข้าพรรษาและในช่วง ๓ เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย
สำหรับในปี   พ.ศ. ๒๕๕๖  นี้ วันเข้าพรรษาตรงกับ   วันอังคาร ที่   ๒๓ กรกฎาคม  ตามปฏิทินสุริยคติ

ขอขอบคุณที่มา : http://www.watpamahachai.net

ป้ายกำกับ