- หน้าแรก
- บทสวดมนต์ ทุกวัน
- ทำวัตรเช้า
- ทำวัตรเย็น
- พระคาถาชินบัญชร 108 จบ
- พระคาถาชินบัญชร 9 จบ
- เสียงสวดชินบัญชรคาถา ใช้ถอนคุณไสย ไล่สิ่งชั่วร้ายทุกรูปแบบ
- รวมคาถาสะท้อนกลับ ให้คุณไสยที่ส่งมาย้อนกลับไปหาคนที่คิดร้ายเรา
- เสียงสวดชินบัญชรคาถา ใช้ถอนคุณไสย ไล่สิ่งชั่วร้ายทุกรูปแบบ
- พระคาถาชินบัญชร 108 จบ
- บทพาหุง 108 จบ พุทธชัยมงคลคาถา
- บทสวดพระปริตร | โดยพระมหาศรัณ สารธมฺโม
- นะโม เม พุทธะ เตชัสสาฯ | บทสวดจุลชัยยะมงคลคาถา
- สมาธิเซน
- Guy Zezars
- Positive Meditation
- Japanese Zen Music
- 528Hz
- ติดต่อสอบถาม
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันเกิด
เกิดวันอาทิตย์
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์
ประวัติย่อ
เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงประทับยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ร่มโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นจึงเสด็จออกไปจากภายใต้ร่มโพธิ์ไปประทับยืนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ทอดพระเนตรพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อรำลึกถึงคุณประโยชน์ของต้นมหาโพธิ์ที่แผ่กิ่งก้านประทานร่มเงา ให้ความชุ่มเย็น เป็นการอำนวยช่วยพระองค์จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์ (บทโมรปริตร)
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม, เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พึทธานัง นะมัตถุ โพธิยา, นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมังโส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
สวดวันละ ๖ จบ จะมีความรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พึงใช้สีที่เป็นมงคลสำหรับเครื่องนุ่งห่ม ประจำบ้านเรือน หรือเครื่องประดับตัวเป็นของที่มีสีแดง จะเป็นสิริมงคลลาภผล ดียิ่งนัก ส่วนสีรองๆ ลงไป มีสีม่วง สีเขียว สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก พึงเว้น สีน้ำเงิน
เกิดวันจันทร์
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร นิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง
ประวัติย่อ
ครั้งหนึ่ง ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองไพศาลี มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ลิจฉวี เจ้าผู้ครองเมืองจึงได้กราบบังคมทูลอาราธนาพระพุทธองค์ ให้เสด็จมาโปรดชาวเมือง พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์ เจริญรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบพระนคร จนต่อมาภายหลังโรคร้ายก็หายสิ้นจากพระนครด้วยพุทธานุภาพ
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันจันทร์ (บทอภัยปริตร)
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
สวดวันละ ๑๕ จบ จะมีความสุข ความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง ผู้ที่เกิดวันจันทร์ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือน เป็นสีขาว เหลืออ่อนๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรองๆ ลงมา คือสีเขียว สีดำ สรกรมท่า สีน้ำเงิน พึงเว้นสีแดง
เกิดวันอังคาร
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)
ประวัติย่อ
สมัยหนึ่ง เมือ่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดเชตวัน ในพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นอสุรินทราหูจอมอสูร ซึ่งสำคัญว่ามีร่างโตใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิจองอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่าจอมอสูร จอมอสูรจึงละทิฐิยอมอ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอังคาร (บทกรณียเมตตสูตร)
ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิก เขปิ ปาณิโน ปะติฏฐะมะธิ คัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิ สัมภะวา คะณะนานะ จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
สวดวันละ ๘ จบ จะมีความรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล ผู้ที่เกิดวันอังคาร ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีชมพู หรือ สีแดงหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมาคือ สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ สีเหลือง สีแดง พึงเว้นสีขาวนวล
เกิดวันพุธ กลางวัน
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว
ประวัติย่อ
ครั้งหนึ่ง หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเวสสันดรชาดก โปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระญาติทั้งหลาย บรรดาพระประยูรญาติต่างมีความแช่มชื่นโสมนัส จนลืมกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้มารับภัตตาหารเช้าในพระพราชวัง ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเสด็จออกรับบิณฑบาตจากประชาชนทั่วไปในกรุงกบิลพัสดุ์
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางวัน) (บทขัดขันธปริตร-ย่อ)
สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเห ฯ
สวดวันละ ๑๗ จบ จะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป ผู้ที่เกิดวันพุธ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีเขียว หรือสีเขียวใบไม้ ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเหลือง สีเทา สีดอกรัก สีเมฆหมอก สีขาวนวล พึงเว้น สีม่วง
เกิดวันพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางตรัสรู้ หรือปางสมาธิ
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย
ประวัติย่อ
ภายหลังจากที่พระมหาบุรุษได้กำราบพรยามารลงได้แล้ว พระองค์จึงได้ตั้งพระทัยเจริญสมาธิจนได้ญาณขั้นต่างๆ และในที่สุดก็ได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาเช้าตรู่ของวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา)
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพฤหัสบดี (บทวัฏฏกปริตร)
อัตถิโลเก สีละคุโณ สัจจังโสเจยยะ นุททะยา เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง อาวัชชิตวา ธัมมัพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน สัจจะพะละมะสายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติ ปาทา อะวัญจะนา มาตาปิตา จะนิกขันตา ชาตะเวทะ ปฏิิกกะมะ สะหะ สัจเจกะเต มัยหัง มะหาปัชชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะ กะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติ
สวดวันละ ๑๙ จบ จะมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีเหลืองหรือสีไพล ส่วนสีรองลงมาคือ สีน้ำเงิน สีแดง สีเขียว พึงเว้น สีดำ สรกรมท่า และสีน้ำเงินแก่
เกิดวันศุกร์
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางรำพึง
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถืขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
ประวัติย่อ
ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อชปาลนโครธ) ก็ได้ทรงรำพึงถึงธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้นว่าเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ่งยากแก่การเข้าใจ จึงทรงรู้สึกอ่อนพระทัยในการที่จะนำออกแสดงโปรดสัตว์ แต่เพราะพระมหากรุณาคุณของพระองค์ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าสรรพสัตว์มีภูมิต่างกัน จึงทรงพระดำริที่จะแสดงธรรม ตามภูมิชั้นแห่งปัญญาสรรพสัตว์นั้นๆ
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันศุกร์ (บทอาฎานาฎยาปริตร)
อัปปะสันเนติ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต อะมะนุสเสหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะจะคุตติยา ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
สวดวันละ ๒๑ จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน ผู้ที่เกิดวันศุกร์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงินแก่ ส่วนสีรองลงมาคือ สขาวนวล สีม่วง สีเหลือง พึงเว้นสีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก
เกิดวันเสาร์
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางนาคปรก
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร
ประวัติย่อ
ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) บังเอิญในช่วงนั้นมีฝนตกพรำๆ ตลอด ๗ วัน พระยานาคมุจลินท์ได้เลื้อยมาทำขนดล้อม พระวรกายของพระพุทธองค์ ๗ ชั้นแล้วแผ่พังพานปกไว้ในเบื้องบนเหมือนกั้นฉัตร ด้วยประสงค์จะกำบังลมฝนมิให้ต้องพระวรกาย
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันเสาร์ (บทองคุลีมาลปริตร)
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต, นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ
สวดวันละ ๑๐ จบ จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลตลอดกาลนาน ผู้ที่เกิดวันเสาร์์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีดำหลัว หรือสีม่วง ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก สีน้ำเงิน พึงเว้นสีเขียว
เกิดวันพุธ กลางคืน (ราหู)
พระประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงาย นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย
ประวัติย่อ
ครั้งหนึ่ง พระภิกษุในวัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพีทะเลาะกันด้วยเรื่องพระวินัย พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้สามัคคีกันเท่าไหร่ก็ไม่ยอมเชื่อ เพราะต่างฝ่าย ต่างยึดถือในความคิดของตนเป็นใหญ่ พระพุทธองค์ ทรงรอาพระทัยจึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ในป่ารักขิตวัน แถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ ณ ที่นั่นมีช้างชื่อปาลิเลยยะและลิงตัวหนึ่งคอยอุปัฏฐากอยู่
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางคืน) (บทขันธปริตร)
สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเส ฯ
หรือ บทสุริยะปริตตะปาโฐ(ย่อ)
กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต ติฏฐะสีติ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธาคาถาภิคิโตมหิ โนเจ มุญเจยะ จันทิมันติ
สวดวันละ ๑๒ จบ จะมีความเจริญสุขสวัสดี ผู้ที่เกิดวันราหู หรือวันพุธกลางคืน นี้ ควรใช้ของประดับ
ที่มา/อ้างอิง/ผู้เขียน : จักรกฤษณ์ แร่ทอง - มายโหรา.คอม , www.myhora.com
หมายเหตุ : เนื้อหาข้างต้นเผยแพร่แก่สาธารณะเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา/วิทยาทานเท่านั้น
อานิสงส์ สวดมนต์
การสวดมนต์นั้นมีอานิสงส์ดังนี้
๑. สามารถไล่ความขี้เกียจ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้านจะหมดไป และเกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉงขึ้น
๒. เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน
๓. เป็นการกระทำที่ได้ปัญญา ถ้าการสวดมนต์โดยรู้คำแปล รู้ความหมาย ก็ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญาความรู้ แทนที่จะสวดเหมือนนกแก้วนกขุนทองโดยไม่รู้อะไรเลย
๔. มีจิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น
๕. เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง
และในวิมุตติสูตรได้กล่าวว่า การสาธยายมนต์คือเหตุหนึ่งในวิมุตติ ๕ ประการ (เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ การฟังธรรม การเทศน์ การสวดมนตร์สาธยาย และการคิดอย่างแยบคาย ) ดังมีว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี ใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
เรื่องการสวดมนต์ มีบางแห่งกล่าวถึงเหตุผลของการสวดมนต์ไว้ว่า
๑. เป็นการรักษาธรรมเนียม ประเพณีที่ดีให้คงอยู่
๒. เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย
๓. เป็นการเชื่อมสามัคคีในหมู่คณะ ครบไตรทวาร
๔. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
๕. เพื่อฝึกกายใจให้เข็มแข็งอดทน
๘. เพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ไม่ฟุ่งซ่าน
๙. เพื่อเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์ และกล่าวถึงประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์ไว้ว่า...
๑. เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
๒. เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม
๓. เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร
๔. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ
๕. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
๖. เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้
๗. เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว
๘. เป็นเนตติของอนุชนต่อไป
๙. เป็นบุญกิริยา เป็นวาสนาบารมี เป็นสุขทางใจ
ที่มา : www.dhammathai.org
อานิสงส์ สวดมนต์
การสวดมนต์นั้นมีอานิสงส์ดังนี้
๑. สามารถไล่ความขี้เกียจ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้านจะหมดไป และเกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉงขึ้น
๒. เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน
๓. เป็นการกระทำที่ได้ปัญญา ถ้าการสวดมนต์โดยรู้คำแปล รู้ความหมาย ก็ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญาความรู้ แทนที่จะสวดเหมือนนกแก้วนกขุนทองโดยไม่รู้อะไรเลย
๔. มีจิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น
๕. เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง
และในวิมุตติสูตรได้กล่าวว่า การสาธยายมนต์คือเหตุหนึ่งในวิมุตติ ๕ ประการ (เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ การฟังธรรม การเทศน์ การสวดมนตร์สาธยาย และการคิดอย่างแยบคาย ) ดังมีว่า
...ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี ใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ
เรื่องการสวดมนต์ มีบางแห่งกล่าวถึงเหตุผลของการสวดมนต์ไว้ว่า
๑. เป็นการรักษาธรรมเนียม ประเพณีที่ดีให้คงอยู่
๒. เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย
๓. เป็นการเชื่อมสามัคคีในหมู่คณะ ครบไตรทวาร
๔. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
๕. เพื่อฝึกกายใจให้เข็มแข็งอดทน
๖. เพื่อดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้
๗. เพื่ออบรมจิตใจให้สะอาด สงบ สว่าง
๘. เพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ไม่ฟุ่งซ่าน
๙. เพื่อเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์ และกล่าวถึงประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์ไว้ว่า...
๑. เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
๒. เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม
๓. เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร
๔. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ
๕. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
๖. เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้
๗. เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว
๘. เป็นเนตติของอนุชนต่อไป
๙. เป็นบุญกิริยา เป็นวาสนาบารมี เป็นสุขทางใจ
ที่มา : www.dhammathai.org
หลวงปู่ชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
"โลกนี้มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยไป จะอยู่ที่โน่นก็เปลี่ยนแปลง อยู่ที่นี่หรือที่ไหนก็เปลี่ยนแปลงเพราะพวกเราทั้งหลายอยู่ได้ด้วย การเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง เราก็อยู่ไม่ได้ หายใจ ออกมาแล้วก็เปลี่ยนเป็นหายใจเข้า แล้วก็หายใจออก ไม่เช่นนั้น ก็อยู่ไม่ได้ ออกไปหมดก็อยู่ไม่ได้ ลมเข้ามาแล้วไม่ออกก็อยู่ไม่ได้ เราทั้งหลายอยู่ในโลกนี้ก็เป็นของโลก มันเป็นของๆ โลก ไม่ควร ทำความน้อยใจ ไม่ควรทำความเสียใจใดๆ เราต้องเป็นผู้มีจิตใจ เข้มแข็ง จะตกไปอยู่ที่ไหนก็สร้างแต่คุณงามความดี แม้หมดชีวิต ก็อย่าทิ้งคุณงามความดี "
นามเดิม ชา ช่วงโชติ กำเนิด 17 มิ.ย. 2461
สถานที่เกิด อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
อุปสมบท
อุปสมบท ณ วัดก่อใน อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2482 โดยมี พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ สมณศักดิ์ พระโพธิญาณเถร
มรณภาพ
16 ม.ค. 2535 อายุ 74 ปี 53 พรรษา
หลวงปู่เกิดในครอบครัวที่อบอุ่น มั่งคั่ง และมักเกื้อหนุนสงเคราะห์ผู้ยากไร้อยู่เสมอ ท่านเป็นเด็กวัดตั้งแต่ อายุยังน้อย และได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านก่อ เมื่ออายุได้ 13 ปี ลาสิกขาเมื่ออายุได้ 16 ปี แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุได้ 21 ปี หลวงปู่ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดก่อใน จนกระทั่งต้นปีพ.ศ. 2489 หลวงปู่จึงได้เริ่ม ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อหาครูบาอาจารย์เป็นที่พึ่ง และได้เข้ากราบนมัสการ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร พระอาจารย์มั่นได้ให้โอวาท และปรารภเรื่องนิกายว่า "ถ้าถือพระวินัย เป็นหลัก ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็น ต้องญัตติเข้าธรรมยุตินิกาย ด้วยทางมหานิกาย จำเป็นต้องมีพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเช่นเดียวกัน" ด้วยเหตุนี้เอง หลวงปู่จึงมิได้ขอญัตติเป็นธรรมยุติเช่นเดียวกับ ศิษย์ของพระอาจารย์มั่นทั้งหลาย หลังจากเข้ากราบนมัสการพระอาจารย์มั่นแล้ว ท่านเกิดศรัทธาเลื่อมใสยิ่งนักถึงกับ เปรียบเทียบว่า "คนตาดีเมื่อพบดวงไฟก็มองเห็นแสงสว่าง ส่วนคนตาบอดนั้น ถึงจะนั่งเฝ้าดวงไฟก็มองไม่เห็นอะไร" ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ของพระอาจารย์มั่น ได้ถูกนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติสำหรับพระ-เณร เมื่อหลวงปู่ได้กลับมาพัฒนาวัดหนองป่าพงในช่วงบั้นปลายชีวิต จนกระทั่งมีชื่อเสียงขจรไกลไปถึงต่างแดน มีชาวต่างประเทศเลื่อมใส ศรัทธาขอบวชกับหลวงปู่เป็นจำนวนมาก ท่านจึงได้สร้างวัดป่านานาชาติ เพื่อให้ภิกษุชาวต่างชาติ ได้มีโอกาสใช้เป็นที่พำนักฝึกปฏิบัติธรรม นอกจากนั้นยังได้สร้างวัดสาขาของวัดหนองป่าพง เพื่อเผยแพร่พระศาสนาไปยังทั่วทุกภาค ของประเทศ จึงนับได้ว่าหลวงปู่เป็นผู้มีพระคุณอย่างใหญ่หลวงต่อศาสนิกชนทั้งหลาย ควรแก่การเทิดทูนบูชายิ่ง
ที่มา : http://www.dhammathai.org
พุทธพจน์ เจลสูตร | วัดป่ามหาชัย
พระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า
พระพุทธพจน์ หมายถึงถ้อยคำ สำนวนที่ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ ธรรม หรือ วินัย
ซึ่งเรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ บ้าง ปาพจน์ บ้าง ล้วนเป็น พระพุทธพจน์ทั้งสิ้น
(ให้รีบเพียรเพื่อตรัสรู้ เหมือนรีบดับไฟบนศีรษะ)
[ ๑๗๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว
จะควรกระทำอย่างไร?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว ควรจะกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.
พ. “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! บุคคลพึงวางเฉย ไม่ใส่ใจ
ถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้ แล้วพึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ
ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า
เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง
อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เพราะฉะนั้นแหละ
เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตร
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๔๓๙ หัวข้อที่ ๑๗๑๗
พุทธพจน์ วัตถสูตร | วัดมหาชัย
พระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า
พระพุทธพจน์ หมายถึงถ้อยคำ สำนวนที่ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ ธรรม หรือ วินัย
ซึ่งเรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ บ้าง ปาพจน์ บ้าง ล้วนเป็น พระพุทธพจน์ทั้งสิ้น
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ผ้าที่ทอด้วยด้ายชนิดใดชนิดหนึ่ง
ผ้าของชาวกาสี บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าผ้าที่ทอด้วยด้ายเหล่านั้น แม้ฉันใด
กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล
รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น เหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาท
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาท
ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้ไม่ประมาท
ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล”
จบ สูตร
สาวัตถีนิทาน.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๖๗/ ๔๖๙ หัวข้อที่ ๒๖๒ - ๒๖๓
พุทธพจน์ พาลิสิกสูตร | วัดมหาชัย
พระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า
พระพุทธพจน์ หมายถึงถ้อยคำ สำนวนที่ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ ธรรม หรือ วินัย
ซึ่งเรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ บ้าง ปาพจน์ บ้าง ล้วนเป็น พระพุทธพจน์ทั้งสิ้น
[ ๒๘๙ ] "ดูกรภิกษุทั้งหลาย! พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลงในห้วงน้ำลึก
ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวใดตัวหนึ่ง กลืนกินเบ็ดนั้น
ปลานั้น ชื่อว่ากลืนกินเบ็ดของนายพรานเบ็ด ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ
พรานเบ็ดพึงกระทำได้ตามชอบใจฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีเบ็ดอยู่ ๖ ชนิดเหล่านี้
เพื่อจะนำสัตว์ทั้งหลายไป เพื่อจะฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย ก็ฉันนั้น เหมือนกัน
เบ็ด ๖ ชนิด คืออะไรบ้าง คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจน่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญหมกมุ่นในรูปนั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร
ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ
เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญหมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร
ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ ฯ
[ ๒๙๐ ] "ดูกรภิกษุทั้งหลาย! รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด
ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ
เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ
อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร
ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ดไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ
มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ ฯ "
จบสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๑๘๐ หัวข้อที่ ๒๘๙ - ๒๙๐
การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง
ป้ายกำกับ
- กัลยาณธรรม
- กัลยาณมิตรธรรม 7 คืออะไร มีอะไรบ้าง
- (การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง)
- กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10
- กุศลกรรมบถ 10
- ขอเชิญร่วมบุญกินอิ่มนอนอุ่นปี7 เพื่อพี่น้องชาวเขา
- ขอเชิญร่วมบุญทอดกฐิน ปั่นฝ้ายสายบุญจุลกฐิน
- ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ สะสมบุญใหญ่
- คาถาขอนิมิตรลาภ หลวงปู่หมุน ๑๐๘ จบ | หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล นะโมฯ ๓ จบ
- คาถาเงินล้าน
- คาถาเงินล้าน ของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
- คาถาเงินล้าน หลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุง
- คาถาเจ้านายเมตตา
- คาถาถูกหวย (108จบ) | หลวงปู่สรวง
- คาถาท้าวเวสสุวรรณ
- คาถานะหน้าทอง
- คาถาบูชาพระแก้วมรกต หรือ คาถาบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
- คาถาบูชาพระเจ้า ๕ พระองค์(คาถาบูชาหลวงพ่อโสธร)
- คาถาบูชาพระบัวเข็ม สวดภาวนาจะให้ผลในด้านโชคลาภและค้าขาย
- คาถาบูชาพระสีวลี
- คาถาบูชา เสด็จพ่อ รัชกาลที่ 5
- คาถาบูชาหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน
- คาถาบูชา หลวงพ่อเดิมหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
- คาถาบูชา หลวงพ่อพัฒน์ แบบ ย่อ
- คาถาบูชาหลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม
- คาถาบูชาหลวงพ่อวัดเขาตะเครา
- คาถา พระพุทธเจ้าชนะมาร (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
- คาถามหานิยม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
- คาถามหานิยม หลวงพ่อเดิม
- คาถามหาเมตตาใหญ่
- คาถามหาลาภ
- คาถามหาเสนห์ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
- คาถาเมตตามหานิยม
- คาถาเรียกเงิน เสริมทรัพย์ (หลวงพ่อปาน )